ถ้าให้นึกถึงพลาสติกที่เราใช้กันเป็นประจำ คงหนีไม่พ้นขวดน้ำ หรือขวดบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำมาจาก พลาสติกPET โดยขวดพลาสติกเหล่านี้สามารถนำมารีไซเคิลหลอมขึ้นมาใช้ใหม่ได้ และหลายคนนำ พลาสติกPET มาใช้ซ้ำ เช่น การนำขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วมากรอกน้ำดื่มต่อ ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่า การใช้ “พลาสติก PET” ซ้ำ โดยเฉพาะการบริโภคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอันตรายหรือไม่?  SGE CHEM ขอพาทุกคนมาไขข้อสงสัยกัน!


ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ พลาสติก PET กันก่อนดีกว่า

210216-Content-ขวดน้ำพลาสติก-PET-ใช้ซ้ำได้จริงหรือ-edit02


พลาสติก
PET  (Polyethylene Terephthalate) คือ พลาสติกประเภทคืนรูป หรือเทอร์โมพลาสติก ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง จึงมีความเหนียวสูง มีความใสแวววาวเป็นพิเศษ มีความปลอดภัยสูง แข็งแรงทนทาน ไม่เปราะแตกง่าย สามารถทนต่อความเป็นกรดและป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้เป็นอย่างดี ทำให้พลาสติกPET เป็นที่นิยมนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารต่าง ๆ รวมถึงของใช้ในชีวิตประจำวันหลายชนิด เช่น ขวดสำหรับบรรจุของเหลว เช่น ครื่องดื่ม, น้ำดื่ม, น้ำอัดลม, น้ำผลไม้, น้ำมัน และแผ่นฟิล์มหรือแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์เคลือบพลาสติก เป็นต้น

2


ซึ่งภาชนะที่ทำจากพลาสติก PET จะได้รับสัญลักษณ์เป็นเลข 1 นอกจากนี้ยังเป็นพลาสติกชนิดเดียวที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% โดยสามารถนำกลับมาหลอมทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ได้ และยังสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้อีกด้วย เช่น เสื้อยืด, เสื้อแจ็คเก็ต, ใยสังเคราะห์, พรมเช็ดเท้า เป็นต้น


คุณสมบัติเฉพาะของพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET)

ชื่อ Poly (ethyl benzene-1, 4-dicarboxylate)
ตัวย่อ PET, PETE
เลขทะเบียน CAS Number 25038 – 59 – 9
สูตรเคมี (C10H8O4)n
ความหนาแน่น 1.38 g/cm3 (20 °C), amorphous: 1.370 g/cm3, single crystal: 1.455 g/cm3
จุดหลอมเหลว > 250 °C, 260 °C
จุดเดือด > 350 °C (decomposes)
ความสามารถละลายได้ในน้ำ practically insoluble
การนำความร้อน 0.15 – 0.24 W m−1 K−1
ดัชนีหักเหแสง (nD) 1.57 – 1.58, 1.5750


★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★

เราใช้ขวดพลาสติกPET ซ้ำได้หรือไม่?

210216-Content-ขวดน้ำพลาสติก-PET-ใช้ซ้ำได้จริงหรือ-edit03


ขวดพลาสติกPET ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้เพียงครั้งเดียว สามารถนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ การนำขวดพลาสติกPET มาใช้ซ้ำ โดยเฉพาะใช้ในการบริโภคผู้ใช้อาจได้รับอันตรายจากการล้างทำความสะอาดขวดไม่สะอาด มีการสะสมของเชื้อโรค แล้วบริโภคเข้าสู่ร่างกาย ส่วนเรื่องสารก่อมะเร็งจากการใช้ขวดพลาสติกPET ซ้ำนั้นแม้จะมีงานวิจัยจากนักศึกษาปริญญาโทของ University of Idaho ได้ทําการตรวจวิเคราะห์สารเคมีที่แพร่กระจายออกมาจากขวดพลาสติกPET พบว่ามีสารเคมี 4 ชนิด ที่แพร่กระจายออกมาในปริมาณที่มากขึ้นเมื่อขวดนั้นถูกนํามาใช้ซ้ำหลายครั้ง โดยสารเคมีที่มีการแพร่กระจายนั้นอยู่ในระดับที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการก่อมะเร็งได้ แต่ก็มีผู้โต้แย้งและเอาผลการศึกษางานวิจัยอื่นออกมามายืนยันว่า สารที่ก่อมะเร็งเหล่านั้นไม่ได้อยู่ในขวดพลาสติกPET นอกจากนี้ยังมีผู้ศึกษาการแพร่กระจายของสารอินทรีย์จากขวดพลาสติกPET ที่บรรจุน้ำดื่มวางไว้ในสภาวะที่ต่างกัน ก็พบว่าน้ำที่บรรจุในขวดพลาสติกPET ไม่แตกต่างกันกับน้ำที่บรรจุในขวดแก้ว และไม่มีความแตกต่างกันระหว่างขวดใหม่ และขวดเก่าที่ใช้แล้ว รวมไปถึงขวดน้ำที่วางไว้กลางแดด และขวดน้ำที่วางไว้ในร่มก็ไม่มีความแตกต่างเช่นกัน

210216-Content-ขวดน้ำพลาสติก-PET-ใช้ซ้ำได้จริงหรือ-edit04


ดังนั้น . . .อาจกล่าวได้ว่า เรามาสามารถนำขวดพลาสติกPET มาใช้ซ้ำได้อย่างปลอดภัย ไม่มีสารก่อมะเร็ง แต่ในการนำกลับมาใช้ซ้ำต้องคำนึงถึงความสะอาดของขวดในการใช้งาน โดยเฉพาะการนำกลับมาใส่ของเพื่อบริโภค ควรล้างทำความสะอาดขวดทุกครั้งที่นำมาใช้ใหม่ รวมไปถึงสังเกตสภาพของขวดภายนอกว่ามีริ้วรอย ขุ่น หรือมีลักษณะซีดไม่เหมือนเดิม หากเห็นว่ามีสภาพที่ไม่สู้ดีนักแบบนี้ก็นำไปรีไซเคิล ชั่งกิโลขาย แล้วใช้ขวดใหม่ดีกว่านะเพื่อความปลอดภัย ?

>>สามารถอ่านบทความต่าง ๆ จาก SGE CHEM ได้ตามนี้เลย<<