หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินคำว่ามาตรฐาน ASEAN GMP และ ISO 22716 (GMP Europe) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลของการผลิตเครื่องสำอางที่ทุกโรงงานต้องมี เพื่อ
สร้างมาตรฐานใหม่ในการผลิตเครื่องสำอางให้ปราศจากสิ่งปนเปื้อน อุณหภูมิ แรงดัน ความชื้นสัมพัทธ์ และมีการจำกัดปริมาณฝุ่นให้มากที่สุด ซึ่งมีผลต่อผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภค ซึ่ง 1 ในมาตรฐานนั้น คือห้อง คลีนรูม (Clean Room) นั่นเอง 

วันนี้ SGE CHEM จะพามารู้จักกับห้อง คลีนรูม Clean Room กันก่อนดีกว่า . . .


ห้องคลีนรูม (Clean room) คืออะไร?

210217-Content-ห้อง-Clean-room-สำคัญต่อมาตรฐานการผลิตอย่างไร-edit02


ห้องคลีนรูม (Clean room)
หรือที่มักเรียกกันว่า “ห้องปลอดเชื้อ” หรือ “ห้องสะอาด” หมายถึง ห้องสะอาดที่มีการควบคุมปริมาณอนุภาค ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ให้มีไม่เกินระดับที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการควบคุมปัจจัยเสริมต่าง ๆ ได้แก่ คุณลักษณะและความเร็วของลม อุณหภูมิ แรงดัน และระดับความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้องอีกด้วย
ซึ่งห้องปลอดเชื้อในลักษณะนี้มีการใช้งานในหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่โรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและยา ตลอดจนโรงพยาบาล และสถานีวิจัยต่าง ๆ 

? ซึ่งโดยทั่วไปมลสารหรืออนุภาคในอากาศ ประกอบไปด้วยอนุภาคที่มีชีวิต (เชื้อจุลชีพต่าง ๆ) และอนุภาคที่ไม่มีชีวิต (ผง ฝุ่น) ห้องคลีนรูมทางชีววิทยาอุตสาหกรรมยาหรือโรงพยาบาล จะเน้นการควบคุมหรือป้องกันพวกเชื้อจุลชีพ ส่วนห้องคลีนรูมสำหรับอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคส์ที่ต้องการความสะอาดมาก จะเน้นการควบคุมทั้งอนุภาคที่มีชีวิตและอนุภาคที่ไม่มีชีวิต เครื่องมือสำคัญในการควบคุมปริมาณอนุภาคในClean Room คือแผ่นกรองอากาศชนิด HEPA (High Efficiency  Particulate Air) ซึ่งสามารถกรองอนุภาคที่มีขนาด 0.3 ไมครอนได้มีประสิทธิภาพถึง 99.97%


ทำไมต้องมีห้องคลีนรูม?

ความต้องการของห้องคลีนรูม (ห้องปลอดเชื้อ, ห้องสะอาด) เกิดจากปัญหาของสิ่งปนเปื้อน อนุภาคขนาดเล็กและฝุ่นละอองต่าง ๆ ที่มาจากผู้ปฏิบัติงาน เครื่องจักร กระบวนการผลิตรวมทั้งอากาศภายนอก สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างปัญหาให้กับผลิตภัณฑ์หรืองานที่กำลังทำอยู่ ส่งผลให้งานที่ได้ขาดประสิทธิภาพ

210217-Content-ห้อง-Clean-room-สำคัญต่อมาตรฐานการผลิตอย่างไร-edit03


ขอบข่ายของการใช้งานห้องคลีนรูม (ห้องปลอดเชื้อ, ห้องสะอาด) มีมากมายตั้งแต่ภายโรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและยา รวมไปถึงโรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

Industry Product
Electronics Computers, TV-tubes, flat screens
Semiconductor Production of integrated circuits
Micromechanics Gyroscopes, compact disc players, bearings
Optics Lenses, photographic film, laser equipment
Biotechnology Antibiotic production, genetic engineering
Pharmacy Sterile pharmaceuticals, sterile disposables
Medical Devices Heart Valves, cardiac by-pass systems
Food and Drink Brewery production, unsterilized food and drink
Aerospace Manufacturing and assembling of aerospace electronics

การกำหนดคุณสมบัติที่จำเพาะของ Clean Room
  1. อุณหภูมิที่เหมาะสม กำหนดตามความต้องการของกระบวนการผลิต หรือหากไม่มีความสำคัญทางด้านการผลิต มักกำหนดให้อยู่ในช่วง 72 °F (22.2 °C) ± 0.25 °F (0.14 °C)
  2. ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม ขึ้นกับลักษณะงาน กระบวนการผลิต หรือชนิดผลิตภัณฑ์ ในบางกรณีหากความชื้นสูงไป อาจทำให้ชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์เกิดสนิมได้ หรือผลิตภัณฑ์และสารบางชนิดที่สามารถดูดความชื้นได้ง่าย ซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติหรือคุณภาพเปลี่ยนไป ในทาง  ตรงข้าม หากความชื้นสัมพัทธ์ต่ำไป จะเกิดประจุไฟฟ้าที่วัสดุหรือชิ้นส่วน ทำให้เกิดปัญหาอนุภาคดูดติดกันได้ หากไม่มีข้อกำหนดเฉพาะโดยทั่วไปกำหนดให้มีความชื้นประมาณ 50 ± 10 %
  3. ความดัน ควรรักษาความดันในห้องสะอาดให้เป็นบวกเสมอ (Positive Pressure) มีทางเข้าออกที่ปิดมิดชิด และมีพัดลมเป่า (Air Shower) เพื่อดันลมออกไปป้องกันไม่ให้อนุภาคเข้ามาปนเปื้อนในห้อง ทั้งนี้ห้องที่มีระดับความสะอาดต่างกันให้มีความดันต่างกันอย่างน้อย 0.05 นิ้วน้ำ (inH2O)
  4. แสงสว่าง หากไม่มีการกำหนดพิเศษให้ใช้แสงสว่าง 1,080-1,620 lux
  5. ระดับเสียง ตามข้อกำหนดของการใช้งาน


หน้าที่สำคัญของห้องคลีนรูม (Clean Room)

จะมีหลักการอยู่ 4 ข้อ ดังนี้

1. ป้องกันอนุภาคและมวลสารจากภายนอกเข้าไปภายในห้องคลีนรูม

  • กรองอากาศที่ผ่านเข้ามาในห้องคลีนรูมโดย HEPA filter
  • รักษา Positive Pressure ภายในห้องคลีนรูม
  • พนักงานควรผ่าน Air Shower หรือ Air Lock ก่อนผ่านเข้าห้องคลีนรูม
  • วัสดุและชิ้นส่วนต่าง ๆ ต้องทำความสะอาดก่อนผ่านเข้าห้องคลีนรูม

2. ป้องกันการก่อให้เกิดอนุภาคของฝุ่นภายในห้องคลีนรูม

  • พนักงานต้องสวมชุด Clean room Garment เวลาปฏิบัติงาน
  • พนักงานไม่ควรมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วถ้าไม่จำเป็นในขณะปฏิบัติงาน
  • วัสดุของพื้น, ผนัง และฝ้าเพดานไม่ควรเป็นวัสดุที่ทำให้เกิดฝุ่น

3. ป้องกันการสะสมฝุ่นตามผนังห้องและพื้นผิวของวัสดุและเครื่องจักร

  • กำหนดมาตรฐานการทำความสะอาดห้องคลีนรูม
  • พื้นผิวผนังและประตูภายในห้องคลีนรูมควรเป็นวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย

4. กำจัดอนุภาคของฝุ่นที่อยู่ภายในห้องคลีนรูม

  • จำนวน air change ของ clean room ควรเหมาะสมที่จะทำให้ห้องสะอาดตาม class ที่ต้องการ
  • ควรติดตั้งระบบดูดอากาศเป็นจุดๆในบริเวณที่มีการกระจายของอนุภาคฝุ่นมาก


❝ จะเห็นได้ว่าห้องคลีนรูมนั้น มีความสำคัญต่อมาตรฐานการผลิตอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งทาง SGE CHEM เรามุ่งมั่นที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ในการผลิตเครื่องสำอางให้เหนือกว่าโรงงานรับผลิตเครื่องสำอางทั่วไป ที่จะผลิตสินค้าออกมาให้ปราศจากสิ่งปนเปื้อนน้อยที่สุด รับรองอุ่นใจและได้สินค้าที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามมาตรฐานแน่นอน? ❞

>>สามารถอ่านบทความต่าง ๆ จาก SGE CHEM ได้ตามนี้เลย<<