สิวบอกโรค ได้จริงหรือไม่ เพราะหลัง ๆ เริ่มมีความเชื่อกันว่า หากสิวผุดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของใบหน้า อาจหมายถึงสัญญาณบ่งบอกโรคร้าย ชวนให้สาว ๆ ที่กังวลเรื่องปัญหาใบหน้าไม่เรียบเนียน สวยงาม ปวดหัวหนักขึ้นไปอีก
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอย่างไร เป็นความจริงหรือไม่ หรือเป็นแค่ความเชื่อที่ถูกผลิตซ้ำกันอย่างผิด ๆ SGECHEM จะพาทุกคนมาหาคำตอบ พร้อมตอบทุกข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิวบอกโรคสิวเกิดขึ้นได้อย่างไร
เพื่อทำความเข้าใจเรื่อง สิวบอกโรค ควรรู้เสียก่อนว่า สิว เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยสิวนั้น เกิดจากต่อมไขมัน เซลล์ผิว และรูขุมขนตามร่างกายทำงานผิดปกติ อันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
- การทำกิจกรรมต่าง ๆ จนทำให้ผิวหนังบนใบหน้ามีความมัน
- ใช้เครื่องสำอางหรือยาทา ที่ทำให้ผิวหนังบนใบหน้าเกิดอาการระคายเคือง
- เอามือของเราไปบีบจับแกะเกาใบหน้าบ่อย ๆ ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่รูขุมขนก่อให้เกิดสิว
- การไม่ใช้คลีนซิ่งล้างเครื่องสำอาง ทั้งแป้งรองพื้น ครีมกันแดด ซึ่งมักมีส่วนผสมเป็นน้ำมัน ทำให้น้ำมันอุดตันบนรูขุมขน
- ไม่เลือกกิน กินอาหารบางชนิด แล้วทำให้เกิดผื่นบนผิวหนัง เกิดสิวขึ้น
- คุยโทรศัพท์นาน ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่บนโทรศัพท์ เข้าสู่เซลล์ผิว
- นอนดึก ขับถ่าย ไม่เป็นเวลา ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง และเกิดของเสียสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่าย
ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ต่อมไขมันบนใบหน้าผลิตไขมันออกมามากเกินไป พอได้รับเชื้อแบคทีเรียเพิ่มเข้ามา ก็จะทำให้เกิดการอุดตัน ส่งผลให้กลายเป็นกระเปาะขึ้นมาหรือที่เรียกว่า สิว บนผิวหนัง ซึ่งหากยิ่งติดเชื้อแบคทีเรียมาก ก็จะยิ่งมีความรุนแรง ตั้งแต่อาการสิวอุดตัน สิวอักเสบ สิวหัวหนอง ไปจนถึงสิวหัวช้าง
แนวคิดเรื่อง สิวบอกโรค มาจากไหน
แนวคิดเรื่อง สิวบอกโรค เมื่อตรวจสอบแล้ว พบว่ามีที่มา 2 แห่ง คือ ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีน ซึ่งเชื่อว่า สิวสามารถบ่งบอกการเสียสมดุลของอวัยวะภายในร่างกายได้ อีกศาสตร์หนึ่ง ก็คือ Face Mapping ซึ่งเป็นศาสตร์ใหม่ อาศัยการวิเคราะห์สภาพผิว โดยยึดหลักที่ว่า “ผิวหน้าสามารถบ่งบอก ได้ถึงสุขภาพภายในร่างกายที่มีผลกระทบต่อผิวพรรณ” นั่นจึงทำให้เชื่อกันว่า การเกิดสิวบนใบหน้า สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพภายในร่างกายได้ โดยตำแหน่งของสิวที่บอกถึงโรคต่าง ๆ ได้เช่น
1. หน้าผาก
หากเกิดสิวบนหน้าผาก อาจหมายถึง มีปริมาณพิษในตับที่ค่อนข้างมาก รวมถึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร กระเพาะปัสสาวะ การทำงานของหมวกไตผิดปกติ
2. หว่างคิ้ว
อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า ระบบการทำงานของตับผิดปกติและกระเพาะอาหารทำงานหนัก ย่อยไม่สะดวก จากการดื่มนมแล้วไม่ย่อย กินอาหารรสจัด รวมไปถึงการกินอาหารมื้อดึกบ่อย ๆ
3. ใบหูซ้ายและขวา
เกี่ยวข้องกับการทำงานของไต ถ้าสิวเกิดขึ้นบนใบหู อาจหมายถึง ไตทำงานผิดปกติได้
4. แก้มทั้ง 2 ด้าน
หากสิวเกิดขึ้นที่แก้มส่วนบน อาจหมายถึงสัญญานของโรคไซนัส หรือโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับปอด ในส่วนของแก้มส่วนล่าง อาจมีปัญหาเรื่องเหงือกและฟัน ถ้าเป็นริ้วรอยลึกบริเวณโหนกแก้ม อาจบ่งบอกถึงปัญหาเรื่องปอดหรือการหายใจ
5. รอบดวงตาทั้ง 2 ข้าง
อาจเป็นเพราะไตทำงานไม่ดี ขาดความสมดุลในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้เป็นภูมิแพ้จนเกิดสิว
6. จมูกและเหนือริมฝีปาก
สัญญาณเตือนถึงอาการทางหัวใจ และระบบสืบพันธุ์ หากเป็นสิวสีแดงเปล่งปลั่ง อาจเป็นการเตือนโรคความดันโลหิตสูง หรือใครมีสิวอุดตัน สิวหัวดำเยอะ ๆ อาจบอกถึงผลกระทบจากฮอร์โมน ไม่ว่ากำลังมีประจำเดือน เข้าสู่วัยทอง หรือกินยาคุมกำเนิด
7. ใต้ริมฝีปากด้านซ้ายและขวา
หากเป็นผู้หญิง จะเป็นสัญญาณถึงความผิดปกติของรังไข่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน ซึ่งหากมีสิวอุดตันขึ้นแถวกรามใกล้ ๆ กับใบหู อาจแสดงว่าฟันกรามกำลังมีปัญหา ฟันคุดจะโผล่
8. ใต้คาง
อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึง กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากกินอาหารรสจัดมากเกินไป ทำให้เกิดแผลในกระเพาะ และลำไส้เล็กดูดซึมอาหารผิดปกติ
9. คอและหน้าอก
บ่งบอกถึงความเครียดของร่างกาย ระบบสมองและหัวใจ ทำงานหนัก ทำให้มีสิวขึ้น
สิวบอกโรค ได้จริงหรือไม่
จากการให้สัมภาษณ์ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสมาคมแพท์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ต่างให้ข้อมูลว่า สิวไม่สามารถบอกโรคได้จริง เนื่องจากตำแหน่งของสิวที่บ่งบอกถึงโรคต่าง ๆ นั้น ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยัน ประกอบกับ สิวบนผิวหนัง ไม่ได้สัมพันธ์กับการทำงานของระบบอวัยวะภายในของร่างกาย หากแต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิว ดังนั้น ที่เชื่อกันว่า สิวบอกโรคได้ จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ยกเว้น สิวที่เกิดบนใบหน้าจะมีอาการร่วมบางอย่างด้วย ถึงจะเป็นสัญญาณปลายเหตุของโรคบางชนิด เช่น ในผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือนผิดปกติ หากมีสิวขึ้นตรงบริเวณขากรรไกร อาจบ่งบอกถึงการเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่ ในกลุ่มเด็กผู้ชายอายุน้อย ๆ หากมีสิว ตุ่มหนองขึ้น มีไข้และปวดกระดูกพร้อมกัน อาจหมายถึงมีโรคกลุ่มเกี่ยวกับอาการอักเสบในร่างกาย และอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ กลุ่มที่มีการทำงานของฮอร์โมนปกติ ก็อาจมีสิวขึ้นบนใบหน้าได้ เป็นต้น
ดังนั้น ก่อนที่จะตื่นตูมไปตามความเชื่อดังกล่าว หากเป็นผู้หญิงแล้วมีสิวขึ้น ให้ตรวจสอบตนเองก่อน ว่ามีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ มีอาการหน้ามัน กินจุ น้ำหนักตัวขึ้นเยอะผิดปกติหรือไม่ รวมถึงมีขนดกกว่าเดิม ทั้งที่ไม่ได้มีพันธุกรรมขนดกในครอบครัว เพราะอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคถุงน้ำในรังไข่ หรือ ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ แต่หากเป็นผู้ชาย แล้วเกิดสิวบนหน้าผากหรือแก้มเยอะ ให้ตรวจสอบว่าเป็นเพราะทรงผมหรือพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์หรือไม่ ก่อนที่จะตื่นตูมไปกับความเชื่อเรื่อง สิวบอกโรค
การป้องกันตนเองไม่ให้มีสิว
การเกิดขึ้นของสิว สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการทำงานของระบบร่างกายที่ผิดปกติ คือ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม รูปแบบการใช้ชีวิตของเราในแต่ละวัน ก็มีผลทำให้เกิดสิวขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดสิว เช่น
- เลือกใช้เครื่องสำอางหรือยาทา ที่ไม่ทำให้เกิดสิวอุดตัน (Non-Comedogenic)
- หลีกเลี่ยงนำมือของเราไปจับ เท้าคาง ใบหน้า ในขณะที่มือไม่สะอาด
- ใช้คลีนซิ่งล้างทำความสะอาดใบหน้าทุกครั้ง หลังใช้เครื่องสำอาง
- กินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงของหวาน หรือ อาหารที่ไม่มีประโยชน์
- ทำความสะอาดโทรศัพท์บ่อย ๆ หากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์บ่อยครั้ง
- นอนให้เป็นเวลา และขับถ่ายบ่อย ๆ
หากสนใจผลิตครีมหรือยาสำหรับรักษาสิว สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ SGECHEM เพราะเราเป็นโรงงาน OEM ที่ผลิตเครื่องสำอางครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการออกแบบ สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ และมีบริการจดทะเบียน อย. ให้เครื่องสำอางของคุณถูกต้องตามกฏหมาย สามารถวางขายแข่งขันทางการตลาดได้อย่างสบายหายห่วง หากสนใจสามารถคลิกลิ้งก์เว็บไชต์ที่ https://sgechem.com/ หรือติดต่อทางโทรศัพท์ หรือ Line ของเราได้เลย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
Leave A Comment