ด่างทับทิม หรือโปแตสเซียมเปอร์มังกาเนต (Potassium permanganate) เป็นสารเคมีประเภท Inorganic ชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นเกล็ดหรือผลึกสีม่วงเข้ม สามารถละลายน้ำได้ดี โดยทางเคมีแล้วถือว่าเป็นเกลือชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ และมีคุณสมบัติเป็นสารอ๊อกซิเดชั่น (Oxidation) อย่างแรงมีประโยชน์มากมายทั้งในเชิงการแพทย์และการใช้งานในครัวเรือน เพราะฉะนั้น วันนี้ SGE ขอแชร์ความรู้เกี่ยวกับด่างทับทิม ให้ทุกคนได้รู้กันค่ะ !


ส่วนประกอบของ ด่างทับทิม

ด่างทับทิมเป็นสารประกอบอัลคาไล ละลายน้ำได้ดีแตกตัวเป็นโปตัสเซียมอิออน (K+) และเปอร์แมงกาเนตอิออน (MnO4-) ตัวหลังนี้เป็นOxidizing agent อย่างแรง ว่ากันง่าย ๆ คือเป็นตัวกัด/ย่อย สลายสารอื่น ๆ โดยเฉพาะสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเมื่อย่อยสลาย หรือ ออกซิไดซ์สารอื่นแล้วจะได้ แมงกานิส -ออกไซด์ (MnO2) มีลักษณะเป็นเกล็ดหรือผลึกสีม่วงเข้ม สามารถละลายน้ำได้ดี มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ และมีคุณสมบัติเป็นสารอ๊อกซิเดชั่นอย่างแรง อีกทั้งด่างทับทิมก็ยังมีอันตรายของมันอยู่หากมันเข้าตาอาจจะทำให้ตาบอดได้ หากการใช้ด่างทับทิมในปริมาณที่มันมากเกิดไปก็จะทำให้เกิดอันตรายได้ จึงต้องใช้ในความเข้มข้นอย่างเหมาะสมและใช้อย่างระมัดระวัง จะมีอะไรบ้างที่เราต้องรู้ก่อนใช้ ด่างทับทิม ไปดูกันเลยค่ะ

SGECHEM


วิธีการเลือกใช้ ด่างทับทิม

เนื่องจากบางคนอาจไม่มีเครื่องมือในวัด ตวง หรือชั่ง ดังนั้นจึงขอให้ใช้วิธีที่ง่ายที่สุด ด้วยวิธีการดูจากสี ซึ่งเป็นการประมาณการที่ใกล้เคียง ถ้าจะนำมาใช้ฆ่าเชื้อในน้ำ โดยค่อย ๆ ใส่ด่างทับทิมลงไปแล้วคนให้ละลายก่อน แล้วสังเกตดูสีว่าอยู่ในระดับไหน ซึ่งสีที่สามารถนำมาใช้ได้ในระดับปลอดภัยก็คือ สีชมพูอ่อน (ขวดที่ 5) หรือ สีม่วงอ่อน (ขวดที่ 4) (ส่วนขวดกลางหรือขวดที่ 3 จะเริ่มเข้มแล้ว และขวดที่ 1-2 จากซ้ายสุดจะเข้มมากเกินไป และเป็นอันตรายต่อผิวหนัง)

หากเป็นสีชมพูอ่อนก็ประมาณได้ว่าน่าจะมีความเข้มข้นประมาณ 1 ต่อล้านส่วน แต่หากสารละลายเป็นสีม่วงก็จะประมาณได้ว่ามีความเข้มข้นประมาณ 1 ส่วนต่อ 76,000 ซึ่งจะเริ่มเป็นอันตรายต่อผิวหนังแล้ว ส่วนถ้าใช้ด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อในน้ำก็ต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที จึงจะนำน้ำไปใช้ได้

แต่อย่างไรก็ตามการใช้ด่างทับทิมที่มีความเข้มข้นสูง ๆ ในการตัดใช้แต่ละครั้ง ให้นำมาชั่งโดยมีหน่วยน้ำหนักเป็นกรัม การชั่งตวงน้ำหนักให้ถูกต้องก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ และไม่แนะนำให้ตักวัดเป็นช้อนชา เพราะจะไม่แม่นยำและจะมีความเบี่ยงเบนมาก ซึ่งต้องขอบคุณเพจ Medthai มากๆสำหรับข้อมูลของการเลือกใช้ ในวิธีที่แสนง่ายเช่นนี้ เพราะหากใครไม่มีเครื่องมือในการวัด วิธีนี้ถือว่าตอบโจทย์ มากที่สุดนะคะ 

SGECHEM


ประโยชน์ของ ด่างทับทิม ในเชิงการแพทย์

จาการศึกษาและวิจัยของนักวิจัยพบว่า มีการใช้ด่างทับทิมเพื่อรักษาโรคริดสีดวงทวาร ซึ่งสามารถช่วยลดหรือบรรเทาอาการอักเสบและอาการโป่งบวมของแผลริดสีดวงทวารได้ โดยอาศัยฤทธิ์ฝาดสมาน (Astringent) ของด่างทับทิม รวมไปถึงฤทธิ์ในการเป็น Local Anti-Infective อันเนื่องมาจากการเป็น Strong Oxidizing Agent (โดยปกติแล้วยาเหน็บริดสีดวงทวารจะมียาที่มีฤทธิ์ฝาดสมานผสมอยู่ ซึ่งสารนี้เองที่เป็นตัวช่วยลดอาการอักเสบและอาการโป่งบวมของแผลริดสีดวงได้) และ สามารถนำมาใช้ในการล้างแผลเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้

นอกจากนี้ยังใช้ ฆ่าเชื้อแผลที่เกิดจากอาการน้ำเหลืองเสีย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แผลหายช้า หรือแม้หายแล้วก็ยังทิ้งรอย โดยจะช่วยทำให้แผลหายดีขึ้น ด้วยการนำน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น เทลงในกะละมัง หลังจากนั้นให้เทผงด่างทับทิมลงไปเพียงให้น้ำเป็นสีชมพู แล้วคนให้เข้ากัน หลังจากนั้นให้แช่แขนและขาหรือส่วนที่ต้องการลงไป หากะละมังใหญ่ไม่พอแช่ ก็ให้ใช้มือกวักน้ำแล้วลูบแผลเบา ๆ ประมาณ 20-30 นาที ซึ่งสามารถทำได้บ่อยตามที่ต้องการ แต่คนเถ้าคนแก่แนะนำว่า ให้ทำในตอนช่วงเย็นเวลาประมาณ18.00-20.00 น. ก็จะช่วยเกี่ยวกับเรื่องสปาได้อีกด้วย

SGECHEM


ประโยชน์ของ ด่างทับทิม ในการล้างผักผลไม้

?? วิธีการใช้คือ ? ใช้ปริมาณด่างทับทิม 3-5 เกล็ดต่อน้ำ 2 ลิตร (เกล็ดด่างทับทิมเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน บางบริษัททำจนเป็นผง ก็คงต้องลองค่อยๆใส่ทีละน้อยๆแล้วคนให้ละลาย พอเริ่มเห็นเป็นสีชมพูอ่อนก็ใช้ได้)

การตวงน้ำก็ใช้ขวดน้ำดื่มวัดปริมาตรน้ำ หากไม่แน่ใจว่าควรจะใช้ปริมาตรน้ำเท่าใดก็เอาไปผสมในขวดน้ำดื่ม แล้วดูปริมาตรน้ำที่ข้างขวดว่าปริมาตรเท่าใด (จะได้สีชมพูอ่อนใส) และคนให้ละลายหมดก่อน(เขย่าขวดเบาๆก็ง่ายดี) จึงใส่ผักลงไป (ในกาละมัง หรือภาชนะที่ไม่ไช่ในขวดนะคะ)  แช่ผักทิ้งไว้นานอย่างน้อย 10 นาที และไม่ควรนานเกินไป แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 2 ลิตร นาน 2 นาที หรือสังเกตดูต้องไม่มีสีชมพูค้างอยู่ ซึ่งจะช่วยป้องกันอหิวาตกโรค (cholera) และโรคที่มากับน้ำบางชนิดได้ และยังสามารถช่วยลดสารเคมีตกค้างได้ประมาณ 30-40% ด้วย ที่จริงแล้ววิธีการล้างผักให้สะอาด มีหลากหลายวิธีมากๆนะคะ ซึ่งเราเคยเขียนไว้ในบทความที่ผ่านมาเกี่ยวกับ ล้างผักอย่างไรให้สะอาด ทุกคนสามารถเข้าไปดูวิธีการล้างผักให้ปลอดจากสารตกค้างได้เลย 

SGECHEM


อันตรายจากการใช้ ด่างทับทิม

“ด่างทับทิม” สารเคมีผลึกสีม่วงที่หลายๆ บ้านใช้เพื่อการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคต่างๆ เป็นที่รู้จักกันมาอย่างยาวนานหลาย 10 ปี แม้ว่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีจริง แต่หากใช้ไม่ถูกวิธี อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ จากการศึกษาข้อมูลจาก เพจ Sanook ได้รวบรวมข้อมูลไว้ว่า

  • หากผสมเกล็ดทับทิมกับน้ำในปริมาณมาก (น้ำเป็นสีม่วง) ระดับความเข้มข้นที่มากเกินไปอาจทำให้ผิวหนังไหม้เมื่อสัมผัสถูกผิวหนังของเราได้ รวมถึงการระคายเคืองเยื่อบุตาเมื่อกระเด็นเข้าตา หากรู้สึกระคายเคืองให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง
  • ด่างทับทิมเป็นวัตถุไวไฟเมื่อเจอกับสารละลายบางชนิด เช่น น้ำมัน ดังนั้นการมีด่างทับทิมเอาไว้ใช้ในครัว ที่มีน้ำมันอยู่ด้วย อาจเสี่ยงต่อการเกิดการเผาไหม้ได้ เช่น น้ำมันหกใส่ด่างทับทิวโดยตรง หรือการใช้ผ้าเช็กน้ำมัน แล้วนำมาเช็ดเศษด่างทับทิมที่หกอยู่ตามโต๊ะ หรือพื้นครัว เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ เช่น สารประกอบโลหะหนัก กรด หรือเบสต่างๆ อีกด้วย
  • เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ หากน้ำด่างทับทิมไหลลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ อาจส่งผลเสียโดยเป็นพิษร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ 
  • ห้ามเผลอดื่ม ชิม จิบ หรือทานไม่ว่าจะด้วยวิธีใด หรือปริมาณเท่าใด เพราะอาจเกิดอาการระคายเคือง หรือแพ้ได้ หากเผลอนำเข้าปาก ให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง ห้ามทำให้อาเจียนเด็ดขาด
  • การกะปริมาณในการใช้ด่างทับทิมค่อนข้างลำบาก หากผสมอ่อนไปอาจไม่ได้ผลในการฆ่าเชื้อโรค แต่หากเข้มไปก็อาจจะเป็นอันตราย ดังนั้นในการใช้งานเพื่อจุดประสงค์ที่ต่างกัน ควรหาข้อมูลอย่างละเอียดในการใช้ แต่ด้วยการใช้ที่ค่อนข้างลำบาก ปัจจุบันจึงมีตัวเลือกอื่นที่ใช้ง่าย และอันตรายน้อยกว่าออกมาแทน เช่น การฆ่าเชื้อโรคในน้ำด้วยเครื่องกรองน้ำ หรือการล้างผักด้วยน้ำยาล้างผักโดยเฉพาะ เป็นต้น
  • การแช่แผลที่เป็นริดสีดวงทวารลงในน้ำผสมด่างทับทิม รวมถึงการแช่เท้าในน้ำผสมด่างทับทิมเพื่อบรรเทาอาการโรคน้ำกัดเท้า อาจเห็นผลจริงเมื่อผสมน้ำด่างทับทิมในปริมาณที่พอเหมาะ และใช้เวลาไม่มากจนเกินไป (ไม่เกิน 20-30 นาที) การผสมน้ำด่างทับทิมเข้มข้นมากเกินไป หรือแช่น้ำนานเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตราย ต่ออาการที่เป็นอยู่ได้


เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ! ก่อนจะไปเราขอแนะนำว่า หากสามารถหลีกเลี่ยงการใช้ด่างทับทิม ไปใช้สิ่งอื่นได้ ควรใช้สารอื่นที่ปลอดภัย และใช้งานง่ายมากกว่า หากจำเป็นต้องใช้ด่างทับทิมจริงๆ ควรศึกษาหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วน หรือปรึกษาผผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ทุกครั้ง นอกจากนี้หากเป็นการใช้ด่างทับทิมเพื่อรักษาโรค ควรอยู่ในการดูแล และคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิดเท่านั้น ไม่ควรซื้อมาใช้เองโดยเด็ดขาดนะคะ