โอเมก้า 3 หลายคนรู้ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย และมักจะเห็นว่าเป็นส่วนประกอบในอาหารที่มีโภชนาการสูง สำหรับวัยเด็ก แต่รู้หรือไม่ว่า ไม่เพียงสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่เผชิญปัญหาสุขภาพรุมเร้า

หากใครยังไม่รู้ว่า ทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 แล้วมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร SGECHEM มีคำตอบ พร้อมพาทุกคนไปทำความรู้จักอาหารต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีคุณค่านี้ จนส่งผลดีต่อสุขภาพ

โอเมก้า 3 คืออะไร

โอเมก้า3

โอเมก้า 3 คือ กลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวชนิดหนึ่ง ซึ่งทานแล้ว จะส่งผลดีต่อสุขภาพ จะได้รับต่อเมื่อรับประทานอาหาร จำพวก ปลา น้ำมันพืช ถั่ว เมล็ดพืชต่าง ๆ หรือผักใบเขียว เป็นต้น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้

โดยโอเมก้า 3 ประกอบด้วยกรดไขมันที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ EPA และ DHA เป็นกรดไขมันสายยาว สร้างจากกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิกที่อยู่ภายในร่างกาย โดยกรดไลโนเลนิกจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดไขมันอีพีเอและดีเอชเอ เมื่อรับประทานอาหารที่มีกล่าวไว้ข้างต้น เมื่อเข้าสู่ร่างกาย เซลล์ทั้งสองจะเข้าไปเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย และมีฤทธิ์ต้านอักเสบ ช่วยบำรุงร่างกายและรักษาโรค ให้มีสุขภาพแข็งแรง

ประโยชน์ของ โอเมก้า 3

โอเมก้า 3

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า โอเมก้า 3 ประกอบด้วยกรดไขมัน 2 ชนิดคือ EPA และ DHA เมื่อเข้าสู่ร่างกาย กรดทั้ง 2 ชนิดจะตรงเข้าไปช่วยบำรุงร่างกายและรักษาโรค โดย EPA จะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบของเซลล์ ในขณะที่ DHA เป็นส่วนประกอบหลักของเซลล์สมองและเซลล์อื่น ๆ ในร่างกาย ซึ่งถ้าได้รับโอเมก้า 3 จะให้ประโยชน์คือ

1. ส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาพของทารก

กรด DHA เป็นส่วนประกอบหลักของเซลล์สมองและเซลล์อื่น ๆ ในร่างกาย ดังนั้น หากสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร รับประทานปลาหรืออาหารทะเลสัปดาห์ละประมาณ 220-280 กรัม ก็อาจจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาพของทารกได้ เนื่องจากกรด DHA จะเข้าไปช่วยบำรุงทั้งร่างกายและสมองของทารก ให้เจริญเติบโต สอดคล้องกับงานวิจัยบางชิ้นพบว่าอาหารเสริมโอเมก้า 3 ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัวทารก ทำให้ทารกอยู่ในครรภ์นานขึ้น และช่วยพัฒนาการทำงานของสมองและจิตใจ เพิ่มสมาธิ ความจำระยะสั้นและ ทักษะในการอ่าน อย่างไรก็ตาม ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แสดงว่าการรับประทานอาหารเสริมที่มีโอเมก้า 3  ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรนั้น จะส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารกอย่างชัดเจน

2. ช่วยเสริมความจำ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์

นอกจากช่วยบำรุงสมองของเด็กทารก กรด DHA ในโอเมก้า 3 ยังช่วยเสริมความจำ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุกว่า 1,000 คน เป็นเวลา 10 ปี พบว่าระดับกรดไขมัน DHA ที่ลดต่ำลง คือสาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อม หากทานโอเมก้า 3 เข้าไป กรดไขมัน DHA จะช่วยเพิ่มสาร LH11 ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นตัวช่วยลดการเกิดการสร้าง Plaques (เส้นใย หรือ ไฟบริล) ในสมอง ซึ่งเป็นตัวการที่ทำลายใยประสาทส่วนความจำ ดังนั้น หากผู้สูงอายุทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 มาก ก็จะมีความจำดีขึ้น โอกาสที่จะสมองเสื่อมก็ลดลง

3. ป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือด

เมื่อเริ่มแก่ตัวลง เกล็ดเลือดจะเริ่มเกาะตัว และไขมันในหลอดเลือดก็จะสะสม ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและสมองขาดเลือด หากรับประทานอาหารที่มีกรดไขมัน Omega-3 จะสามารถยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและลดไขมันในเลือด ช่วยป้องกันความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจและสมองขาดเลือดได้ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ที่รับประทานน้ำมันปลา ที่มีกรดไขมัน Omega-3 วันละ 850 มิลลิกรัม / วัน (ปริมาณ EPA+DHA) ร่วมกับวิตามินอีธรรมชาติ 300 มิลลิกรัม / วัน สามารถลดอัตราการตายลงได้ถึง 15% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานอาหารน้ำมันปลา อย่างไรก็ตาม ยังไม่ปรากกฏหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า อาหารเสริมที่มีโอเมก้า 3 จะช่วยป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพหัวใจได้

4. ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน

กรดไขมัน EPA มีคุณสมบัติช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในหลอดเลือด ในขณะเดียวกัน ก็เป็นสารตั้งต้นของสารกลุ่มไอโคซานอยด์ (Eicosanoids) ได้แก่ พรอสตาแกลนดิน-3 (Prostaglandins-3) และทรอมบอกแซน-3 (Thromboxan-3) ซึ่งสารกลุ่มนี้จะช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด  และช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน และทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น

5. ช่วยลดความดันโลหิต

เนื่องจากกรดไขมัน Omega-3 ช่วยทำให้หลอดเลือดขยายตัว และป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น จึงมีผลให้ความดันโลหิตลดลงไปโดยปริยาย สอดคล้องกับผลการวิจัยของ John Hopkins Medical School ที่ได้สรุปรวบรวมผลการศึกษาจาก  17 รายงานการศึกษาทางคลีนิค พบว่าการรับประทานกรดไขมัน Omega-3 วันละ 3,000 มิลลิกรัม (ปริมาณ EPA+DHA) สามารถช่วยลดความดันล่าง (Diastolic Pressure) ได้ 3.5 มิลลิเมตรปรอท และความดันบน (Systolic pressure) ได้ถึง 5.5 มิลลิเมตรปรอท

6. ลดอาการข้อเสื่อม ข้อรูมาตอยด์

นอกจากช่วยบำรุงหลอดเลือด ระบบไหลเวียนโลหิต กรดไขมัน Omega-3 ในน้ำมันปลา ยังสามารถบรรเทาอาการข้อเสื่อม (Osteoarthritis) และข้อรูมาตอย์ (Rheumatoid arthritis) เนื่องจากมีผลลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบของข้อ เช่น Interleukin-1, Tumor และยังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสาร PGE 3 ซึ่งช่วยลดอาการอักเสบของข้อ โดยรายงานการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Surgical Neurology  ระบุว่า โอเมก้า 3 ในน้ำมันปลาสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดคอ หรือปวดหลังเรื้อรัง ให้กับผู้ป่วย 250 คน ได้มากกว่า 60% และผู้ป่วยกว่า 88% รู้สึกพึงพอใจกับผลที่ได้รับและยืนยันที่จะรับประทานต่อ ขณะที่ผลการศึกษาจาก Harvard Medical School ก็พบว่า ในผู้ป่วยไขข้ออักเสบ 368 ราย ที่รับประทานน้ำมันปลา พบว่าช่วยลดอาการเจ็บและข้อติดตรึงในตอนเช้า ดังนั้น การรับประทานน้ำมันปลาจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อเสื่อม ข้ออักเสบเรื้อรัง  สามารถทานเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเสื่อม ข้ออักเสบได้

7. ช่วยบำรุงผิวให้สุขภาพดีขึ้น

นอกจากประโยชน์ทางด้านพัฒนาการสมอง การบำรุงร่างกายและรักษาโรค กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังช่วยบำรุงผิวให้เปล่งประกายและสุขภาพดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าไปสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ช่วยคงความชุ่มชื้นและแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนและเส้นใยอีลาสติน จึงส่งผลให้ผิวพรรณแลดูอ่อนเยาว์และสดใส ทั้งนี้หากมีการรัปทานร่วมกับ วิตามินเอ ดี และอี จะยิ่งช่วยปกป้องการเกิดสิว ไม่ว่าจะเป็น สิวหัวขาวและหัวดำได้อีกด้วย

กินอย่างไรให้ได้รับ”โอเมก้า 3″

โอเมก้า3

โอเมก้า 3 ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เอง ต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเท่านั้น จึงต้องรู้จักกินให้ดี เพื่อให้ได้รับในปริมาณที่เหมาะสม โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 วันละ 300 – 500 มิลลิกรัม (ปริมาณ EPA + DHA) เพื่อการดูแลสุขภาพในแต่ละวัน โดยอาหารที่ควรรับประทานเพื่อให้ได้รับโอเมก้า 3 คือ

1. ปลาและอาหารทะเล

ปลาและอาหารทะเล คือแหล่งรวมวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ไอโอดีน แคลเซียม และเซเลเนียม รวมทั้งมีโอเมก้า 3 อยู่มาก โดยปลาและอาหารทะเลที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 มักเป็นปลาที่มีกรดไขมันจำพวกปลาน้ำเย็น เช่น แซลมอน แมคเคอเรล ทูน่า และซาร์ดีน นอกจากนี้ ปลาที่มีเนื้อสีขาวก็มีโอเมก้า 3 มาก โดยการรับประทานนั้น แนะนำให้ทานแบบดิบหรือปรุงสุกด้วยวิธีทำอาหารปกติ ไม่แนะนำแบบสำเร็จรูป เพราะการแปรรูปเป็นอาหารกระป๋องบางยี่ห้ออาจไม่เหลือสารอาหารดังกล่าวแล้ว เนื่องจากโอเมก้า 3 ถูกสกัดออกไประหว่างกระบวนการแปรรูปนั่นเอง

2. ถั่วและเมล็ดพืช

ถั่วและเมล็ดพืชบางชนิด เช่น เมล็ดเจีย เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท หรือเมล็ดฟักทอง ก็มีโอเมก้า 3 สามารถรับประทานแทนปลาและอาหารทะเลได้ ดังนั้น หากใครไม่ทานเนื้อสัตว์ แนะนำให้ทานถั่วและเมล็ดพืชพวกนี้แทน

3. น้ำมันพืช

น้ำมันพืชบางอย่างอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 เช่น น้ำมันถั่วเหลือง หรือน้ำมันคาโนล่า โดยสามารถนำน้ำมันพืชเหล่านี้มาปรุงอาหารได้

4. อาหารปรุงแต่งต่าง ๆ

ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติหรืองดรับประทานปลา อาจรับประทานอาหารอื่นที่มีการเติมโอเมก้า  3 ลงไป เพื่อให้ได้รับสารอาหารดังกล่าวในปริมาณที่เหมาะสมได้ โดยอาหารปรุงแต่งที่ใส่โอเมก้า 3 มีหลายอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง โยเกิร์ต น้ำผลไม้ นม น้ำนมถั่วเหลือง หรืออาหารสำหรับทารกบางอย่าง

ข้อควรระวังในการรับประทาน

โอเมก้า3

ถึงแม้ว่าโอเมก้า 3 จะมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสม ถึงจะส่งผลดีต่อร่างกาย ซึ่งจากการที่สภาพร่างกายคนเราก็ไม่เหมือนกัน ทั้งอายุ โรคประจำตัว การใช้ยา การแพ้อาหาร ฯลฯ จึงควรระมัดระวังและศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน หากคิดจะทานเพื่อคาดหวังผลลัพธ์ทางสุขภาพ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารเสริม ที่มีส่วนประกอบของโอเมก้า 3 ที่อาจเกิดการทานเกินปริมาณต่อวันได้ จึงมีข้อควรระวังในการรับประทาน ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่ใช้ยาซึ่งส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยากันเลือดแข็งตัว หรือยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมโอเมก้า 3 เนื่องจากอาหารเสริมดังกล่าวอาจทำให้เลือดใช้เวลาในการแข็งตัวนานขึ้น
  • หากมีปัญหาทางสุขภาพ ไม่ควรใช้อาหารเสริมโอเมก้า 3 สำหรับรักษาปัญหาสุขภาพโดยทันที แต่ให้ลองหาวิธีการรักษาทางการแพทย์ หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้อาหารเสริมโอเมก้า 3
  • หากเป็นหญิงตั้งครรภ์ กำลังให้นมบุตร หรือเป็นผู้ที่มีอาการแพ้ปลาหรือหอย หรือต้องการให้เด็กรับประทานอาหารเสริมโอเมก้า 3 ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้อาหารเสริมโอเมก้า 3
  • หากจะรับประทานอาหารเสริมโอเมก้า 3 แนะนำให้ทานน้ำมันโอเมก้า 3 มากกว่าน้ำมันตับปลา และต้องไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน
  • ควรตรวจดูสารอาหารจำพวกกรดไขมันอีพีเอและกรดไขมันดีเอชเอ โดยต้องบริโภคสารอาหารดังกล่าววันละ 450 มิลลิกรัม
  • รับประทานอาหารเสริมโอเมก้า 3 ให้ได้รับปริมาณที่เหมาะสมกับอายุของตนในแต่ละวัน

โอเมก้า 3 มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองและร่างกายให้กับเด็ก บำรุงสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน ลดความดันโลหิต บรรเทาอาการปวดตามข้อต่อของร่างกาย ซึ่งการจะได้รับโอเมก้า 3 เข้าสู่ร่างกาย จำเป็นต้องบริโภคอาหารเท่านั้น ถึงจะได้รับ ซึ่งก็สามารถรับประทานเนื้อปลา อาหารทะเล ถั่วและเมล็ดพืช เช่น เมล็ดวอลนัท เมล็ดแฟล็กซ์ หรือใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนล่า ปรุงอาหาร ก็จะได้รับกรดไขมันดีชนิดนี้แล้ว โดยหากไม่รับประทานเนื้อสัตว์ และไม่สะดวกในการหาถั่ว เมล็ดพืช หรือ น้ำมันที่แนะนำมารับประทาน สามารถหาอาหารเสริมที่มีโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบ ทานเพิ่มเติมได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับประทานให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน และป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อปกป้องชีวิตของตนเองให้ปลอดภัย

หากใครสนใจผลิตอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของโอเมก้า 3 สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ SGECHEM เพราะเราเป็นโรงงาน OEM ที่ผลิตอาหารเสริมครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการออกแบบ สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ และมีบริการจดทะเบียน อย. ให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคุณถูกต้องตามกฏหมาย สามารถวางขายแข่งขันทางการตลาดได้อย่างสบายหายห่วง หากสนใจสามารถคลิกลิ้งก์เว็บไชต์ที่ https://sgechem.com/ หรือติดต่อทางโทรศัพท์ หรือ Line ของเราได้เลย