cleansing จำเป็นมากสำหรับสาว ๆ ที่ชอบแต่งหน้า เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดใบหน้าให้หมดจด ซึ่งถ้าจะเริ่มบำรุงผิวในช่วงกลางคืนแล้วละก็ จะขาดไปไม่ได้เลย เพราะถ้าล้างหน้าไม่สะอาด อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับใบหน้าได้ โดยเฉพาะการอุดตันตามรูขุมขนของเครื่องสำอาง ซึ่งทำให้เกิดสิว

หากใครอยากรู้ว่าคลีนซิ่งควรใช้งานอย่างไร แตกต่างจากการใช้ cleanser และ โทนเนอร์หรือไม่ มีวิธีการเลือกคลีนซิ่งให้เหมาะกับสภาพผิวของเราอย่างไรแล้วละก็ SGECHEM มีความรู้มาบอก รับรองว่าอ่านจบแล้ว คุณจะเชี่ยวชาญเรื่องcleansing แน่นอน

cleansing คืออะไร

cleansing

cleansingหรือที่เรียกอีกอย่างว่า make up remover หรือ remover เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีหน้าที่หลัก คือ ใช้ลบเครื่องสำอาง ด้วยวิธีการเช็ดออก มักใช้ในตอนกลางคืนหลังเลิกงาน สำหรับสาว ๆ ที่แต่งหน้าในตอนเช้า แล้วต้องการลบออก โดยหากใครต้องการเริ่มบำรุงผิวในตอนกลางคืน การล้างเครื่องสำอางออกด้วยคลืนซิ่ง ถือว่าสำคัญมาก ๆ และเป็นขั้นตอนแรกที่ควรทำ เพราะในเครื่องสำอางและครีมกันแดดหลาย ๆ ตัวนั้นมีคุณสมบัติของการกันน้ำอยู่ ถ้าไม่เช็ดเครื่องสำอางหรือครีมกันแดด ด้วยคลีนซิ่งออกให้หมดก่อนอาจจะทำให้เกิดการอุดตันของสิ่งสกปรกที่มาจากคราบเครื่องสำอางเก่า จนก่อให้เกิดสิวได้ และจะทำให้ครีมบำรุงตัวอื่น ๆ ไม่สามารถซึมเข้าสู่เซลล์ผิว บำรุงผิวหน้าของเราได้อย่างลุ่มลึกในลำดับถัดไป

cleansing ต่างจาก cleanser และโทนเนอร์อย่างไร

คลีนซื่ง

ด้วยผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ตัวคือcleansing cleanser และโทนเนอร์ ต่างมีหน้าที่ในการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากใบหน้าของเรา ดังนั้น หลายคนอาจจะสับสนกับหน้าที่การใช้งาน รวมถึงลำดับในการใช้เพื่อบำรุงผิว ซึ่งความจริงแล้ว ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์นี้ ค่อนข้างต่างกันพอสมควร นั่นคือ

  • cleansing(คลีนซิ่ง) : เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับลบเครื่องสำอางโดยเฉพาะ ใช้งานโดยวิธีการเช็ดเครื่องสำอางออก
  • cleanser(คลีนเซอร์) : เป็นผลิตภัณฑ์ล้างทำความสะอาดใบหน้า ใช้งานโดยการพอกหรือถูกับใบหน้า แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า ซึ่งคลีนเซอร์ก็คือ โฟมล้างหน้า เจลล้างหน้า หรือสบู่ล้างหน้า ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ
  • Toner(โทนเนอร์) : เป็นผลิตภัณฑ์เช็ดทำความสะอาดสิ่งสกปรกบนใบหน้า ๆ ใช้งานโดยการเช็ดให้ทั่วผิวหน้า เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่อาจค้างอยู่ตามผิวหน้าและรูขุมขน เพื่อเตรียมผิวหน้าของเราให้พร้อมสำหรับการบำรุง ช่วยให้ครีมบำรุงทำงานได้ดีขึ้น ซึมซาบลงสู่ผิวง่ายและลึกมากขึ้น

คลีนซิ่งจึงต่างผลิตทั้งสองโดยสิ้นเชิง เพราะคลีนซิ่งใช้เพื่อลบเครื่องสำอางโดยเฉพาะ ส่วนคลีนเซอร์ และ โทนเนอร์ ใช้สำหรับชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากใบหน้า แต่โทนเนอร์นั้น จะช่วยให้ผิวหน้าพร้อมสำหรับการลงครีมบำรุงผิว ดังนั้น หากจะใช้งานแล้วละก็ ให้ใช้คลีนซิ่งเป็นอันดับแรก จากนั้น ค่อยใช้คลีนเซอร์และโทนเนอร์ตามลำดับ

รู้จักประเภทของCleansing

cleans

คลีนซิ่ง มีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้งาน ซึ่งถึงแม้จะมีจุดประสงค์เดียวกันนั่นคือ ล้างเครื่องสำอางออกจากใบหน้า แต่ด้วยสภาพผิวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน สไตล์การแต่งหน้าก็มีความหนาบางแตกต่างกัน จึงมีการออกแบบให้คลีนซิ่งมีส่วนผสมที่ช่วยบำรุงผิว ตลอดจนมีคุณสมบัติที่ช่วยในการล้างเครื่องสำอางยากง่ายแตกต่างกันด้วย โดยมีประเภทต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้

1. คลีนซิ่งชีท (cleansing sheet)

มีลักษณะเหมือนทิชชู่เปียก หรือ Baby wipe ทั่วไป แต่แตกต่างกันตรงที่มีส่วนประกอบเป็นตัวทำความสะอาดเครื่องสำอาง ใช้งานสะดวกสบายที่สุด เพียงแค่ดึงแล้วเช็ดหน้า  ก็จะล้างเครื่องสำอางออกได้ทันที  สามารถไปล้างหน้าด้วยโฟมต่อได้เลย  เหมาะกับการพกพาไปใช้นอกสถานที่ หรือการเดินทาง  รวมถึงเอาไว้ใช้ในการซ่อมแซมเครื่องสำอาง เวลาที่เราแต่งหน้าพลาด วิธีการใช้งาน ให้เช็ดลงบนผิวหน้าได้เลย  และควรจะเปลี่ยนแผ่นใหม่ เมื่อแผ่นเดิมมีคราบเครื่องสำอางเต็มแผ่นแล้ว และให้เช็ดต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าที่จะไม่มีคราบเครื่องสำอางติดแผ่นทิชชู่ออกมา ข้อควรระวังคือ ไม่ควรเช็ดถูหน้าแรง ๆ เพราะจะให้ผิวแสบ แห้ง เป็นขุยและเกิดริ้วรอยได้

2. คลีนซิ่งน้ำ (cleansing Water)

เป็นผลิตภัณฑ์คลีนซิ่งที่ได้รับความนิยม มีเนื้อคลีนซิ่งค่อนข้างเหลวคล้ายกับน้ำ มีส่วนผสมของน้ำมันน้อย หรือไม่มีเลย (Oil free) เวลาเช็ดเครื่องสำอางออกจะไม่เหนียวหน้า ไม่มีความมันตกค้าง  วิธีการใช้คือ  เทผลิตภัณฑ์ลงบนสำลีให้ชุ่ม  แล้วเช็ดลงบนผิวหน้าที่แห้ง เช็ดและเปลี่ยนสำลีไปเรื่อย ๆ จนกว่าผิวจะสะอาดคือ ไม่มีคราบเครื่องสำอางติดมาบนแผ่นสำลีอีก สามารถทำความสะอาดผิวได้ดีในระดับหนึ่ง  แต่ไม่สามารถทำความสะอาดเครื่องสำอางชนิดกันน้ำสุด ๆ  และพวกมาสคาร่ากันน้ำได้อย่างหมดจด

3. คลีนซิ่งเจล (cleansing Gel)

เป็นคลีนซิ่งที่มีเนื้อเป็นลักษณะเจลสีขุ่นหรือใส  เหมาะกับคนที่แต่งหน้าแบบบางเบา หรือไม่แต่งหน้า  วิธีการใช้คือ นวดเจลลงบนผิวหน้าที่แห้ง จนเนื้อเจลหลอมรวมกับสิ่งสกปรก และมีลักษณะเหลวลงกว่าเดิม จึงทำการล้างออก โดยใช้ผลิตภัณฑ์ทีละน้อย (1 ปั๊ม) ก่อน เมื่อรู้สึกว่านวดไปแล้วฝืดมือจึงค่อย ๆ เพิ่มผลิตภัณฑ์อีก  ไม่ควรนวดลงไปทั้งที่ผิวฝืด ๆ เพราะอาจจะทำให้ระคายผิว และเกิดริ้วรอยได้ โดยมีทั้งประเภทที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบมากเมื่อล้างน้ำแล้วกลายเป็นน้ำนม , แบบที่ไม่มีน้ำมันผสมหรือมีน้อย ไม่กลายเป็นน้ำนมเมื่อโดนน้ำ, แบบ 2 in 1 เมื่อโดนน้ำแล้วกลายเป็นโฟม สามารถล้างทำความสะอาดได้ในขั้นตอนเดียว โดยหากอยากรู้ว่าคลีนซิ่งเจลนั้นเป็นประเภทใด ให้สังเกตจากวิธีการใช้ที่บรรจุภัณฑ์

4. คลีนซิ่งมิลค์ / คลีนซิ่งโลชั่น (cleansing Milk /cleansing Lotion)

ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นเหมือนโลชั่น มีส่วนประกอบของน้ำมัน แต่ไม่ข้นจนถึงแบบครีม   วิธีการใช้คือ  ใช้ผลิตภัณฑ์นวดลงบนผิวหน้าที่แห้ง จนสิ่งสกปรกต่าง ๆ ละลายออกมา จากนั้น ใช้สำลีแผ่นชุบน้ำบีบหมาดแล้วเช็ดคราบโลชั่นออก  สามารถทำซ้ำได้อีกถ้ารู้สึกว่าในครั้งแรกยังสะอาดไม่พอ   จากนั้น จึงไปล้างหน้าตามปกติ ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้สามารถทำความสะอาดรองพื้นแบบบางเบา และ BB ครีม CC ครีมได้ดี

5. คลีนซิ่งครีม (cleansing cream)

มีลักษณะคล้ายกับคลีนซิ่งมิลค์และคลีนซิ่งโลชั่น แต่มีความเข้มข้นมากกว่าและมีส่วนประกอบของน้ำมันมากกว่า สามารถขจัดรองพื้นประเภทกันน้ำได้ดี  วิธีการใช้คือ ใช้ผลิตภัณฑ์นวดลงบนผิวหน้าที่แห้ง จนสิ่งสกปรกต่าง ๆ ละลายออกมา จากนั้น ใช้สำลีแผ่นชุบน้ำบีบหมาดแล้วเช็ดคราบสิ่งสกปรกออก  และสามารถทำซ้ำได้อีกถ้ารู้สึกว่าในครั้งแรกยังสะอาด

6. คลีนซิ่งน้ำมัน (cleansing Oil)

เป็นผลิตภัณฑ์คลีนซิ่งที่มีเนื้อเป็นน้ำมันใส ๆ มีส่วนประกอบของ Mineral Oil และ Emulsifier ที่เป็นตัวกลาง ทำให้น้ำรวมตัวกับน้ำมันได้  สามารถทำความสะอาดเครื่องสำอางได้ดีที่สุด โดยเฉพาะแบบกันน้ำ  แต่หลาย ๆ คนมักไม่ชอบใช้ เพราะรู้สึกกลัวว่าจะเพิ่มความมันให้ผิว หรือกลัวว่าจะอุดตัน  ซึ่งป้องกันได้โดยการล้างออกให้สะอาด ด้วยการใช้น้ำลูบหน้าแล้วนวดจนน้ำมัน กลายเป็นน้ำนมออกมาให้มากที่สุด  จากนั้น ใช้น้ำเปล่าล้างหน้าจนหมดคราบน้ำนม แล้วจึงล้างหน้าได้ตามปกติ

เลือกคลีนซิ่งอย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิว

cleansing

เพราะทุกคนมีสภาพผิวที่แตกต่างกัน ทำให้การเลือกcleansing ให้เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากใช้ไม่ถูกแล้ว อาจจะทำให้ล้างเครื่องสำอางได้ไม่หมดจด ที่สำคัญยังอาจทำให้ส่วนประกอบในคลีนซิ่งเข้าไปอุดตันตามเซลล์ผิวและรูขุมขน เป็นผลเสียต่อใบหน้าของเราได้ โดยสภาพผิวแต่ละแบบที่เหมาะกับคลีนซิ่งประเภทต่าง ๆ คือ

1. ผิวมัน

ผิวมัน เกิดจากเซลล์ผิวมีการผลิตไขมันออกมามากเกินไป จนเป็นคราบความมันส่วนเกิน ทำให้ใบหน้ามีโอกาสเป็นสิวได้ง่ายกว่าสภาพผิวอื่น ผู้ที่มีผิวมันบนใบหน้า จึงควรใช้คลีนซิ่งน้ำ ในการล้างเครื่องสำอางออก เพราะไม่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ จึงตอบโจทย์คนมีผิวมันได้เป็นอย่างดี ในขณะที่คลีนซิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผิวมัน ก็คือ คลีนซิ่งน้ำมัน ซึ่งอาจจะทำให้ผิวหน้ามีความมันมากยิ่งขึ้น และอาจทำให้เกิดสิวได้นั่นเอง

2. ผิวเป็นสิวง่าย

หากใครมีสิวขึ้นบ่อย ทั้งที่หน้าไม่ค่อยมัน นั่นอาจเป็นเพราะบนผิวหน้าของเรา มีเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ได้รับการระคายเคืองเป็นประจำ หรือ อาจมีลักษณะผิวที่อาจก่อให้เกิดสิวได้ง่าย เช่น รูขุมขนใหญ่ ซึ่งจะทำให้มีการผลิตน้ำมันออกมาและเกิดการอุดตันได้ง่าย คลีนซิ่งที่ควรใช้ จึงเป็นคลีนซิ่งน้ำนม เพราะมีความอ่อนโยนและความชุ่มชื้น ทำให้สามารถควบคุมความมันได้ ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และไม่ทำให้เกิดสิว ส่วนคลีนซิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ก็คือ คลีนซิ่งน้ำมัน เนื่องจากอาจทำให้เกิดเป็นความมันส่วนเกิน และอาจทำให้เกิดการอุดตันจนเป็นสิวอุดตัน สิวอักเสบ หรือ สิวหัวหนองขึ้นได้

3. ผิวผสม

ผิวผสม เป็นผิวที่มีบางส่วนเท่านั้นที่เกิดคราบความมันส่วนเกินมาก โดยตรงจุดบริเวณที่มีความมันมากกว่าบริเวณอื่น เรียกว่า ทีโซน (T-Zone) ได้แก่ หน้าผาก จมูก และคาง ซึ่งตรงจุดนี้มักจะทำให้เกิดสิวอยู่เป็นประจำ หากใครมีสิวขึ้นบ่อยบริเวณนี้ ควรใช้คลีนซิ่งน้ำ โดยหากต้องการความชุ่มชื้นและอ่อนโยนที่มากขึ้นก็สามารถใช้คลีนซิ่งน้ำนมได้เช่นกัน สำหรับคลีนซิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผิวผสม ก็คือ คลีนซิ่งน้ำมัน เพราะอาจทำให้บริเวณทีโซนมีความมันมากกว่าเดิม ทำให้เกิดการอุดตันและเกิดเป็นสิวขึ้นได้

4. ผิวแห้ง

ผิวแห้ง เป็นผิวที่มีการผลิตน้ำมันออกมาค่อนข้างน้อย จึงทำให้ผิวมักขาดความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ซึ่งหากผิวแห้งขาดความชุ่มชื้นสะสมเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้ผิวเกิดความหมองคล้ำ แห้งเป็นขุย หรืออาจเกิดเป็นริ้วรอยก่อนวัยได้ จึงควรใช้คลีนซิ่งน้ำมัน หรือ คลีนซิ่งออยล์ เพื่อให้ความชุ่มชื้นเป็นพิเศษ หรืออาจใช้คลีนซิ่งครีม ซึ่งเป็นคลีนซิ่งที่อ่อนโยนและให้ความชุ่มชื้นแบบจัดเต็มสุด ๆ ก็ได้ โดยคลีนซิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผิวแห้ง ก็คือคลีนซิ่งน้ำ เพราะอาจทำให้ผิวแห้งกว่าเดิมได้

5. ผิวบอบบางแพ้ง่าย

หากเป็นคนผิวแพ้ง่าย ไม่ว่าจะจาก ฝุ่นละออง สารเคมี เครื่องสำอาง หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ล้างหน้าเองก็ตาม จึงต้องระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และเครื่องสำอางเป็นพิเศษ ซึ่งคลีนซิ่งที่เหมาะสำหรับผิวบอบบางแพ้ง่าย คือ คลีนซิ่งเจล เนื่องจากเป็นคลีนซิ่งที่มีความอ่อนโยนแบบสุด ๆ ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว แต่อาจต้องใช้เวลาในการทำความสะอาดนานสักหน่อย ส่วนคลีนซิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผิวบอบบางแพ้ง่าย คือ คลีนซิ่งน้ำและคลีนซิ่งน้ำมัน เนื่องจาก คลีนซิ่งน้ำอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในผิวแพ้ง่ายได้ และคลีนซิ่งน้ำมันก็อาจก่อให้เกิดการอุดตันได้ง่ายในผิวแพ้ง่ายเช่นกัน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้เครื่องสำอางแต่งหน้าตลอดทุกวันแล้วละก็ กลับบ้านอย่าลืมล้างเช็ดทำความสะอาดใบหน้าด้วยคลีนซิ่งก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้ผิวหน้าสะอาดหมดจดจากเครื่องสำอาง ไม่ให้มีสิ่งสกปรกติดค้างตามรูขุมขนและเซลล์ผิว โดยถ้าจะให้ดีควรล้าทำความสะอาดใบหน้าต่อด้วย cleanser และ โทนเนอร์ เพื่อให้เมื่อถึงขั้นตอนการลงสกินแคร์ จะทำให้ครีมบำรุงต่าง ๆ สามารถซึมลึกเข้าสู่เซลล์ผิว ช่วยบำรุงผิวหน้าคุณให้เปล่งปลั่ง สวยงามได้ตามที่คุณต้องการ

หากต้องการผลิตcleansing เพื่อจำหน่าย สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ SGECHEM เพราะเราเป็นโรงงาน OEM ที่รับผลิตเครื่องสำอางครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการออกแบบ สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ และมีบริการจดทะเบียน อย. ให้เครื่องสำอางของคุณถูกต้องตามกฏหมาย สามารถวางขายแข่งขันทางการตลาดได้อย่างสบายหายห่วง หากสนใจสามารถติดต่อเราทางโทรศัพท์ หรือ Line ของเราได้เลยที่ Line: @sgechem หรือโทรด่วน 065-914-6247