ลิปสติก เป็นเครื่องสำอางชนิดแรก ที่หลาย ๆ คนรู้จักเลยก็ว่าได้ เพราะสีสันเด่นสะดุดตา ทาปากแล้วช่วยให้ดูสวย เพิ่มความมั่นใจได้ในทันที แต่เคยรู้หรือไม่ ว่าเจ้าแท่งสีที่ไว้ทาปากทุกวันนี้ มีสารอะไรเป็นส่วนผสมบ้าง ทาบ่อย ๆ แล้ว ในระยะยาว จะส่งผลอันตรายต่อร่างกายบ้างหรือไม่

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบใช้ลิปสติก แล้วอยากรู้ว่า เครื่องสำอางชนิดนี้มีส่วนผสมอะไรบ้าง และมีสารอะไรในลิปสติกที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย SGECHEM มีคำตอบ พร้อมพาทุกคนมาทำความรู้จักกับเครื่องสำอางยอดนิยมชนิดนี้ให้ดีมากขึ้น

สารประกอบหลักใน ลิปสติก มีอะไรบ้าง

ลิป

ลิปสติก ไม่ได้ผสมด้วยสีที่ทาแล้วช่วยให้ปากดูเด่น สะดุดตา ช่วยให้ริมฝีปากของสาว ๆ ดูอวบอิ่มเพียงอย่างเดียว หากแต่ประกอบด้วยสารอื่น ๆ ที่ช่วยให้ปากนุ่ม ชุ่มชื้นและคงตัวอยู่ได้นาน โดยมีสารประกอบหลักอยู่ 3 องค์ประกอบด้วยกันคือ

1. น้ำมัน (oil)

น้ำมันถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในลิปสติก เพราะมีคุณสมบัติช่วยผสานส่วนผสมอื่น ๆ ให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน และเพิ่มสัมผัสนุ่มลื่น ทำให้เวลาทาปาก สามารถทาติดริมฝีปากได้ง่าย นอกจากนี้ ยังช่วยให้ริมฝีปากนุ่ม ชุ่มชื้น แก้ปัญหาริมฝีปากแห้ง แตกเป็นขุยได้อีกด้วย

โดยชนิดของน้ำมันที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในลิปสติก มีหลากหลายไม่ว่าจะเป็น น้ำมันลาโนลิน น้ำมันแคสเตอร์ (น้ำมันละหุ่ง) น้ำมันโจโจ้บา น้ำมันมะกอก ทั้งนี้ บางผลิตภัณฑ์ยังมีการนำเอาเนย ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นไขมัน มาใช้ทดแทนน้ำมันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น เชียร์ บัตเตอร์ (Shea Butter) เนยโกโก้ (Cocoa Butter) เพราะสามารถให้ความชุ่มชื้นได้เหมือนกัน และยังมีกลิ่นหอมมากกว่า

สำหรับสัดส่วนของน้ำมันในลิปสติกนั้น จะมีความมากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสูตรของแบรนด์เครื่องสำอางนั้น ๆ ว่าต้องการให้ลิปสติกมีความเข้มข้นของสัมผัสเวลาทาหรือความชัดเจนของเม็ดสี มีมากน้อยขนาดไหน เพราะน้ำมันที่มากขึ้น หมายถึง สามารถทาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนถ้าน้ำมันน้อยลง จะเพิ่มสัดส่นในเรื่องของเม็ดสี ส่งผลให้เม็ดสีมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

2. แวกซ์ (wax)

องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ส่วนผสมลิปสติกทั้งหมด ขึ้นรูปเป็นแท่งและคงตัวอยู่ได้นาน เพราะมีจุดเดือดสูงกว่าส่วนผสมอื่น ๆ ทั่วไป โดยในลิปสติก 1 แท่งนั้น อาจประกอบด้วยแวกซ์มากกว่า 1 ชนิดเช่น ขี้ผึ้ง, แคนเดลลิลา แวกซ์, คาร์นูบา แวกซ์ ซึ่งด้วยแวกซ์แต่ละชนิดก็มีลักษณะเฉพาะตัว นั่นจึงทำให้ลิปสติกแต่ละชนิดก็อาจมีเนื้อสัมผัสที่แตกต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่น ลิปสติกที่มีส่วนผสมของแคนเดลลิลา แวกซ์ จะมีเนื้อเงางาม ดึงดูดสายตา น่าใช้สอยกว่าลิปสติกอื่น ๆ เพราะแวกซ์ชนิดนี้มีคุณสมบัติโปร่งแสง ส่วนลิปสติกที่มีส่วนผสมของคาร์นูบา แวกซ์ จะมีเนื้อที่แน่น แข็ง ทนความร้อนได้ดีกว่าลิปสติกแบบอื่น ๆ เพราะคาร์นูบา แวกซ์ มีจุดเดือดสูงมากกว่า 87 องศาเซลเซียส เป็นต้น

3. เม็ดสี (pigment)

เม็ดสี ก็คือสิ่งที่กำหนดเฉดสีของลิปสติก ทำให้เวลาทาแล้ว จะเห็นออกมาเป็นสีสันต่าง ๆ โดยมีทั้งแบบที่ใช้สีจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ตัวอย่างเช่น สีเหลืองจากขมิ้น สีแดงจากบีทรูทหรือทับทิม สีน้ำเงินจากดอกอัญชันหรือดอกอัลคาเนต (Alkanet) และสีเหลืองจากดอกดาวเรืองฝรั่ง (Calendula) กับอีกแบบหนึ่งก็คือ สังเคราะห์ขึ้นมาด้วยกระบวนการทางเคมี โดยประเภทหลังนี้ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ โดยไม่เกิดอันตราย เพราะเป็นสีประเภทเดียวกันกับที่ใช้ทำสีผสมอาหาร เมื่อใช้งานในระยะยาว จึงไม่ส่งผลอันตรายใด ๆ ต่อร่างกาย ยกเว้นสารให้สีที่กลั่นจากปิโตรเลียม เช่น D&C RED 17, D&C RED  31 จะส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นทำให้ปากคล้ำ หรือ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิด

สารในลิปสติกอะไรบ้าง ที่ก่อให้เกิดอันตราย

ลิปสติก

ด้วยความที่ผู้หญิง ใคร ๆ ก็ใช้ลิปสติก และเป็นเครื่องสำอางที่มีความต้องการสูงมาก เพราะใช้แล้วก็หมดไป ต้องซื้อใหม่อยู่ตลอด จึงทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยคิดทำลิปสติกขึ้นมาเอง เพื่อจัดจำหน่าย ซึ่งก็อาจมีผู้ที่ไม่หวังดี มุ่งแสวงหากำไร โดยการผลิตลิปสติกที่ไม่ได้รับมาตรฐานออกมาจำหน่าย ที่อาจมีการใส่สารละลายหรือสารเคมี มาทดแทนสารสกัดจากธรรมชาติ ทำให้หากใช้แล้ว อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ตลอดจนได้รับผลข้างเคียงอื่น ๆ  ดังนั้น หากคุณเป็นผู้บริโภคคนหนึ่งที่ซื้อลิปสติกเป็นประจำ แล้วต้องการหลีกเลี่ยงลิปสติกที่ไม่ดีแล้วละก็ นี่คือส่วนผสมที่คุณควรรู้จัก และหลีกเลี่ยงเวลาซื้อลิปสติก

1. สารกลุ่มเรตินอยด์ (Retinoids)

เป็นสารสังเคราะห์วิตามินเอเข้มข้น ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในยาเท่านั้น ซึ่งแม้ว่าจะถูกเคลมว่า มีคุณสมบัติช่วยฟื้นฟูผิวพรรณ และทำให้ปากเนียนสวย แต่หากใส่ในปริมาณมากอาจเป็นตัวเร่งให้ปากเกิดปฏิกิริยาต่อแสงแดด ทำให้ปากคล้ำ ส่งผลร้ายต่อ DNA ในร่างกาย ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ โดยสารกลุ่มเรตินอยด์ อาทิ กรดวิตามินเอ (Retinoic acid), เรตินัลดีไฮด์ (Retinaldehyde) และเรตินิล พัลมิเทต (Retinyl Palmitate)

2. สารสังเคราะห์วิตามินอี (Tocopheryl Acetate)

ใช้เพื่อเพิ่มความคงตัวให้กับผลิตภัณฑ์คล้ายกับสารกลุ่มเรตินอยด์ส์ อาจไม่มีผลกระทบมากต่อสุขภาพร่างกาย แต่หากเราใช้ทาบ่อย ๆ เป็นประจำโดยไม่ทำความสะอาดให้ดี สารตัวนี้จะสะสมและทำให้ริมฝีปากระคายเคือง แห้งแตก รวมถึงเป็นขุยเอาได้

3. สารสกัดจากน้ำมันในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม

เช่น มิเนรัล ออยล์ (Mineral Oil) หรืออีกชื่อคือ พาราฟินเหลว (Liquid paraffin), ปิโตรเลียม เจลลี่ (Petrolatum), ไซลีน (Xylene), โทลูอีน (Toluene) ที่ช่วยในเรื่องของความชุ่มชื้น ดูดซับส่วนผสมของลิปสติกในเข้าได้ดี แต่มีสารเสี่ยงอันตรายอย่าง PAHs ที่ก่อให้เกิดสิวอุดตัน ผิวหน้าระคายเคืองอยู่ในตัว

4. สารในกลุ่มโลหะหนัก

สารในกลุ่มโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว (Lead) ปรอท (Mercury) อะลูมินัม (Aluminum) โครเมียม (Chromium) แคดเมียม (Cadmium) แมงกานีส (Manganese) มักมีการเติมลงไป เพื่อเพิ่มความเงาแวววาวให้กับลิปสติก แต่จริง ๆ แล้วเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายมาก ๆ โดยเฉพาะต่อผู้หญิงตั้งครรภ์ เพราะหากเผลอกินลิปสติกเข้าไป อาจกระทบต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้ ทำให้เสี่ยงเกิดมะเร็ง ทำลายระบบประสาท ลดการทำงานของไต บางรายอาจมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย

5. สารกันเสีย

ได้แก่ สารเคมีกลุ่มพาราเบน เช่น เมทิลพาราเบน (Methylparaben) หรือ โพรพิลพาราเบน (Propylparaben) รวมถึงสารกันหืน BHT (Butylated Hydroxytoluene) และ BHA (Butylated Hydroxyanisole) ที่อาจส่งผลให้อวัยวะภายในร่างกายเสี่ยงเป็นพิษเรื้อรัง ตามมาด้วยอาการปวดหัว อาเจียน และหายใจไม่ออก

เคล็ดลับการเลือกซื้อ ลิปสติก ให้ปลอดภัย

ลิป

1. เลือกซื้อลิปสติกที่มีมาตรฐานการผลิต

ด้วยปัจจุบัน มีผู้ผลิต ลิปสติก ออกมาจัดจำหน่ายจำนวนมาก การแยกแยะเบื้องต้นว่าเป็นของดีหรือไม่ดี สามารถดูได้จากการพิจารณาว่า ลิปสติกแบรนด์นั้น ๆ มีเครื่องหมายที่รองรับมาตรฐานการผลิตหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น อย. GMP HACCP เนื่องจากล้วนเป็นหน่วยงานหรือองค์กร ที่คอยควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์ ผลิตอาหารเสริมและเครื่องสำอางที่มีมาตรฐานและคุณภาพออกมาจำหน่ายเท่านั้น ดังนั้น ก่อนเลือกซื้อ จึงควรหาเครื่องหมายมาตรฐานการผลิตเหล่านี้ก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนจะดูองค์ประกอบอื่น ๆ ในลำดับถัดไป

2. ส่วนผสม

เมื่อดูว่ามีเครื่องหมายมาตรฐานการผลิตหรือไม่แล้ว ก็มาต่อกันที่ส่วนผสม ซึ่งดังที่กล่าวไปแล้วว่า ลิปสติกนั้น มีสารประกอบที่อาจก่อให้เกิดอันตรายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสารในกลุ่มเรตินอยด์ สารสังเคราะห์วิตามิน E สารที่กลั่นจากปิโตรเลียม สารในกลุ่มโลหะหนัก หรือ สารกันเสีย ซึ่งถ้าหากต้องการลดผลข้างเคียงหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกาย จากการใช้ลิปสติกในระยะยาวแล้วละก็ แนะนำให้เลือกซื้อลิปสติกที่ปราศจากสารเหล่านี้ หรือหันไปใช้ลิปสติกที่มีการผลิตแบบ Organic แทนเลย จะเป็นการดีที่สุด หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็ให้เลือกซื้อแบรนด์ลิปสติก ที่มีสัดส่วนของสารเหล่านี้ในปริมาณน้อยที่สุด ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการได้รับผลกระทบทางสุขภาพได้

3. ความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์

ปัจจุบัน หลากหลายแบรนด์ ทำการตลาดขายลิปสติก ผ่านออฟไลน์และออนไลน์ โดยเฉพาะช่องทางโซเชี่ยลมีเดีย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถืออย่างดุเดือด ยิ่งมีการอ้างอิงจากการรีวิวของดารา นักร้อง และอินฟลูเอนเซอร์ ก็ทำให้การสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ลิปสติก เป็นเรื่องง่ายมาก ๆ จนอาจทำให้หลายคนหลงเชื่อได้ง่าย  ดังนั้น การเลือกซื้อลิปสติก จึงไม่ควรดูแต่รีวิวจากบุคคลที่มีชื่อเสียงเพียงอย่างเดียว แต่ควรดูคอมเม้นต์ รีวิวการใช้งานจากบุคคลทั่วไปร่วมด้วย เพราะถ้าของดีมีคุณภาพจริง ก็จะมีคนเข้ามารีวิวเรื่อย ๆ ในขณะที่ก็ห้ามลืมองค์ประกอบข้างต้น คือ มาตรฐานการผลิตและส่วนผสม เพราะแม้การตลาดจะหลอกเราได้ แต่เรื่องของมาตรฐานการผลิตและส่วนผสม ก็จะช่วยคัดกรองให้เราลดโอกาสเสี่ยงที่จะเจอของคุณภาพแย่ได้ ซึ่งถ้าใครไม่อยากเสี่ยงเลย จะเลือกซื้อแต่ลิปสติกจากแบรนด์เครื่องสำอางที่มีความน่าเชื่อถือ ขายมาหลายสิบปีแล้วไปเลยก็ได้ ไม่ว่ากัน

อยากมีริมฝีปากอวบอิ่ม ดูนุ่ม ชุ่มชื้น อย่าลืมเลือกซื้อลิปสติกที่มีส่วนผสมที่ดี ไม่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลข้างเคียง และมีมาตรฐานการผลิต รวมถึงความน่าเชื่อถือ มาใช้งาน เพียงเท่านี้ คุณก็จะแต่งหน้าสวยได้ทุกวัน พร้อมกับมีริมฝีปากที่ดูสวย โดดเด่น ช่วยให้มั่นใจได้ตลอดทั้งวันแล้ว

ส่วนใครที่สนใจ อยากผลิตลิปสติกเพื่อจำหน่าย สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ SGECHEM เพราะเราเป็นโรงงาน OEM ที่ผลิตอาหารเสริมและเครื่องสำอางครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการออกแบบ สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ และมีบริการจดทะเบียน อย. ให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและเครื่องสำอางของคุณถูกต้องตามกฏหมาย สามารถวางขายแข่งขันทางการตลาดได้อย่างสบายหายห่วง หากสนใจสามารถคลิกลิ้งก์เว็บไชต์ที่ https://sgechem.com/ หรือติดต่อทางโทรศัพท์ หรือ Line ของเราได้เลย