ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่ายุคที่เป็นยุควิกฤตโควิด-19 นี้ ไม่ว่าใครก็จำเป็นต้องใช้แอลกอฮอล์ เพื่อรักษาอนามัยตัวเอง และฆ่าเชื้อโรคกันทั้งนั้น แต่ดันมีพ่อค้าแม่ค้าหัวใสจ้องจะเอาเปรียบกอบโกยเงินทองในสถานการณ์คับขันแบบนี้ โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ซื้ออย่างเรา ๆ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก วันนี้ SGE CHEM จะมาบอก วิธีทดสอบแอลกอฮอล์ ที่ซื้อมาอย่างง่าย ๆ ที่สามารถสังเกตดูได้เองว่า แอลกอฮอล์ นั้นเป็นของแท้ หรือ ปลอม ตามไปดูกัน
สารบัญ
มารู้จักกับ แอลกอฮอล์ กันก่อนดีไหม?
แอลกอฮอล์ (Alcohol) คือ สารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (–OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิล หรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH
โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า Grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้
“แอลกอฮอล์ล้างมือ” กับ “แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม” แตกต่างกันอย่างไร?
เอทิลแอลกอฮอล์ หรือที่รู้จักกันว่า เอทานอล (Ethyl Alcohol หรือ Ethanal) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการนำพืชมาหมัก เพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จากนั้น ค่อยเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยใช้เอนไซม์ หรือกรดบางชนิดเป็นตัวช่วย เอทานอล เป็นของเหลว ลักษณะใส ไร้สี ไร้กลิ่น ไวไฟ สามารถระเหยและละลายน้ำได้ สามารถหมักเพื่อให้เกิดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เบียร์ วิสกี้ บรั่นดี ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 4-6% หรือไปจนถึง 40-50% เป็นต้น
แอลกอฮอล์ล้างแผล และแอลกอฮอล์ที่อยู่ในเครื่องดื่ม ต่างทำมาจากเอทิลแอลกอฮอล์ ทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถใช้แทนกันได้ ถึงแม้ว่า จะเป็นสารเคมีชนิดเดียวกัน แต่ต่างกันตรงความเข้มข้น แอลกอฮอล์ล้างแผลถูกผลิตมาเพื่อฆ่าเชื้อโรค ไม่สามารถดื่มได้ เพราะเข้มข้นเกินไป และไม่สามารถนำสุรา หรือเหล้ามาล้างแผลแทน เพราะปริมาณแอลกอฮอล์อ่อนเกินไป
ยกตัวอย่าง ความเช้มข้นของ แอลกอฮอล์ที่อยู่ในเครื่องดื่ม
- เบียร์ เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่มาก ราว ๆ 5% หรือ 5 ดีกรี
- ไวน์ มีแอลกอฮอล์ราว 10% หรือ 10 ดีกรี (เลือกซื้อ ตู้แช่ไวน์ ตู้จ่ายไวน์ จาก SGE ได้ที่นี่)
- เหล้าต่าง ๆ มีแอลกอฮอล์ราว ๆ 35-40% หรือ 35-40 ดีกรี
- วอดก้า บรั่นดี วิสกี้ มีแอลกอฮอล์ค่อนข้างสูง ราว ๆ 40-50% หรือ 40-50 ดีกรี
ทำไมต้องทดสอบแอลกอฮอล์?
โดยแอลกอฮอล์ปกติที่เราใช้กันนั้นเป็นแบบเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) หรือเอทานอล (Ethanol) แต่ดันเกิดพ่อค้าแม่ค้าหัวใสคิดเอาเปรียบด้วยการใช้เมทิลแอลกอฮอล์ (Methyl Alcohol) หรือเมทานอล (Methanol) ผสมลงในสเปรย์แอลกอฮอล์บ้างเจลแอลกอฮอล์บ้างหรือแม้กระทั่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ที่ไว้จัดจำหน่ายตามช่องทางออนไลน์ก็มีเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ร้ายแรงมากๆเพราะเมทิลแอลกอฮอล์นั้นดันมีพิษร้ายแรงที่เมื่อสะสมพิษในร่างกายมากๆอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ต่อไปนี้จะพูดถึงพิษของเมทิลแอลกอฮอล์ที่ส่งผลกับร่างกายของเรา
เมทิลแอลกอฮอล์ อันตรายอย่างไร?
- ถ้าโดนดวงตาอาจทำให้ตาบอดได้
- ทำให้หลอดลมอักเสบ
- ปวดท้องเวียนศีรษะ
- คลื่นไส้อาเจียน
- กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก
- ถ้าได้รับพิษมาก ๆ จะทำให้ไตอักเสบ กล้ามเนื้อตับตาย โลหิตเป็นพิษ และอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
หลายคนคงสงสัย
ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ของ SGECHEM เป็นของแท้หรือของปลอม ⁉️ เราจะพาไปพิสูจน์กัน
❝ แอลกอฮอล์ SGECHEM ทำจากเอทิลแอลกอฮอล์ 75% ลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย 99.99% ได้รับการยอมรับจาก อย. พร้อมสารสกัดจากว่านหางจระเข้ ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง มีทั้งแบบเจล ขวดปั๊มใช้งานง่าย และแบบสเปรย์ใช้งานสะดวก หรือขนาดแกลลอนใหญ่ ประหยัดกว่า ❞
การสาธิตความเข้มข้นของแอลกอฮอล์โดยเริ่มจากเจลแอลกอฮอล์ จะเห็นได้ว่าเมื่อเราหยดแอลกอฮอล์ลงในบิลใบเสร็จ หมึกพิมพ์จะละลายหายทันที เพราะมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่สูง ต่อไปทดลองสเปรย์แอลกอฮอล์ หมึกพิมพ์ละลายเช่นเดียวกันกับเจลแอลกอฮอล์ แสดงว่าแอลกอฮอล์ของเรามีความเข้มข้นสูงนั่นเอง ?
หากใครที่กำลังมองหาเจลล้างมือ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ ที่ได้มาตรฐานปลอดภัย เราขอแนะนำ
4 วิธีทดสอบเอทิลแอลกอฮอล์ ว่าเป็นของแท้ไหม แบบอื่น ๆ ทำได้อย่างไร?
วิธีที่ 1 การนำไปวัดจุดเดือด
ของเหลวแต่ละชนิดมีจุดเดือดไม่เท่ากัน เอทิลแอลกอฮอล์และเมทิลแอลกอฮอล์ก็เป็นเช่นนั้น ของเหลวทั้ง 2 อย่างนี้ มีจุดเดือดไม่เท่ากัน ดังนั้นวิธีก็ง่ายมากแค่ตั้งไฟต้มตามปกติ แต่เพิ่มเทอร์โมมิเตอร์เป็นไอเท็มพิเศษ เพื่อใช้วัดอุณหภูมิเมื่อถึงจุดเดือด โดยเอทิลแอลกอฮอล์ของแท้นั้น จะมีจุดเดือดอยู่ที่ประมาณ 78 องศาเซลเซียสในขณะที่เมทิลแอลกอฮอล์แอลกอฮอล์ปลอมของเรานั้นจะมีจุดเดือดประมาณ 65 องศาเซลเซียสเท่านั้นเอง
วิธีนี้ใช้ทดสอบกับแอลกอฮอล์ที่เป็นของเหลว และจะได้ผลที่แม่นยำมากถ้าหากเป็นสเปรย์แอลกอฮอล์ที่มาจากแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (ไม่ผสมกลีเซอรีนน้ำ หรือน้ำหอมเพิ่มเติม) เหมาะมากกับคนที่ซื้อแอลกอฮอล์มาผสมใช้เองแล้วต้องการตรวจสอบว่าแอลกอฮอล์ที่ได้มานั้นเป็นของแท้ไหม
วิธีที่ 2 : ดมกลิ่น
วิธีนี้ง่ายมาก แต่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการดมกลิ่นนิดนึง คือ ถ้าดมแล้วได้กลิ่นของแอลกอฮอล์แรงมาก หรือที่เราชอบพูดกันว่า กลิ่นแอลกอฮอล์ชัดเลย เป็นกลิ่นแบบเดียวกันกับในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แสดงว่าสิ่งนั้นสอบผ่านเป็นเอทิลแอลกอฮล์ แต่ถ้าดมแล้วแสบจมูกทันทีอันนั้น ขอให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่า อาจจะเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ได้
ขอเตือนนิดนึงว่าห้ามสูดดมมากเกินไป เพราะว่าอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
วิธีที่ 3 : ทำปฏิกิริยาไอโอโดฟอร์ม Iodoform Reaction
วิธีนี้อาจจะดูวิทยาศาสตร์หน่อย เพียงแค่เอาตัวอย่างแอลกอฮอล์ที่เราสงสัยมาใส่ในภาชนะ จากนั้นเอาไปเติมสารละลายไอโอดีน เช่น เบตาดีน ผสมกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือที่เรียกว่าโซดาไฟนั่นเอง แล้วให้เอาไปแช่น้ำอุ่นสักพัก เอาขึ้นมาเขย่านิดหน่อยทิ้งไว้สัก 2 นาทีเป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์จริงจะมีตะกอนสีเหลืองของหมู่ไตรไอโอโดมีเทน CHI3 (Triiodomethane) เกิดขึ้น ส่วนเมทิลแอลกอฮอล์ของปลอมของเรานั้น จะไม่มีตะกอนเกิดขึ้นเลย
เช่นเดียวกับวิธีแรก วิธีนี้ใช้ทดสอบกับ แอลกอฮอล์ ที่เป็นของเหลว และจะได้ผลที่แม่นยำมากถ้าหากเป็นสเปรย์แอลกอฮอล์ที่มาจากแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (ไม่ผสมกลีเซอรีนน้ำหรือน้ำหอมเพิ่มเติม) เหมาะมากกับคนที่ซื้อแอลกอฮอล์มาผสมใช้เองแล้วต้องการตรวจสอบว่าแอลกอฮอล์ที่ได้มานั้นเป็นของแท้ไหม
วิธีที่ 4 : ดูลักษณะสีของเปลวไฟ
วิธีทดสอบแอลกอฮอล์ คือ แค่เอาแอลกอฮอล์ใส่ภาชนะโลหะ หรือทองเหลืองที่ทนไฟ จากนั้นจุดไฟใส่ลงไปได้เลย แอลกอฮอล์จะติดไฟอย่างรวดเร็ว โดยเอทิลแอลกอฮอล์นั้น จะติดไฟ ช่วงแสงไฟสว่างสีเหลืองสดใสมาก ในขณะที่เมทิลแอลกอฮอล์ จะติดไฟน้อยกว่า และให้แสงไฟเป็นสีฟ้า
ควรทดสอบกับแอลกอฮอล์ที่เป็นของเหลวและไม่ควรทดสอบกับเจลล้างมือเพราะกลีเซอรีนในเจลจะทำให้จุดไฟไม่ติดนั่นเอง อีกอย่าง คือ ควรใช้ความระมัดระวังในการทดสอบด้วย ควรทดสอบในพื้นที่ที่ไม่มีผ้า เด็ก และสัตว์เลี้ยงในบริเวณใกล้เคียง
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ “เจลล้างมือ สเปรย์ล้างมือแอลกอฮอล์” ให้ปลอดภัย!
- ข้อนี้สำคัญที่สุดเพราะจะดูว่าผ่าน อย. จริงหรือไม่ ต้องมีฉลากภาษาไทยที่ระบุชื่อผลิตภัณฑ์ส่วนผสมวิธีใช้ ชื่อ และที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้น้าเข้า เดือนปีที่ผลิต และเลขที่จดแจ้ง
- ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เจลล้างมือ สเปรย์ล้างมือ ที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิทจริง ๆ เท่านั้น
- เจลล้างมือ ที่ดีควรมีความหนืดที่เหมาะสมไม่เหนียวเหนอะหนะขณะใช้สามารถคงตัวอยู่บนฝ่ามือได้ไม่แยกชั้น
- ถ้าสัมผัสกับมือแล้วไม่มีความเย็นแสดงว่าอาจจะหมดอายุได้
- รวมทั้งให้สังเกตลักษณะผิดปกติอื่น ๆ ที่แสดงว่าอาจจะหมดอายุ เช่น แยกชั้นจับเป็นก้อน ตกตะกอนสีเปลี่ยน แสดงว่าเจลล้างมือนั้นไม่ได้คุณภาพแล้ว
อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกคนดูแลตัวเองใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ถ้าต้องเดินทางจริง ๆ ก็อย่าลืมพกเจลล้างมือ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ติดตัวไปด้วย ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสอบว่า แอลกอฮอล์ ที่เราใช้อยู่นั้น ของแท้หรือของปลอม อยากให้ทุกคนมองเห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพที่ดีของเราจนกว่าจะผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกันนะจ๊ะ ?
Leave A Comment