สัญลักษณ์ ฮาลาล สำคัญต่อผู้ที่คิดจะผลิตอาหารเสริมขาย เพราะเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกว่า อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ชาวมุสลิมสามารถรับประทานได้ ซึ่งหากไม่มีสัญลักษณ์นี้ ก็จะไม่สามารถขายให้กับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามได้เลย

ดังนั้น หากอยากขยายฐานลูกค้า ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามด้วยแล้วละก็ ควรรู้ก่อนว่า ฮาลาล คืออะไร พร้อมข้อกำหนดการใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบ กระบวนการผลิต ที่เข้าข่ายการขอเครื่องหมายฮาลาลได้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของคุณ สามารถจำหน่ายและวางขายให้กับผู้นับถือศาสนานี้ได้ ซึ่ง SGECHEM จะพาคุณมาเจาะลึก พร้อมแสดงถึงโอกาสที่คุณจะได้รับ หากคิดจะทำอาหารเสริม แบบฮาลาล

สัญลักษณ์ ฮาลาล คืออะไร

สัญลักษณ์ ฮาลาล

ฮาลาล ตามประกาศคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559) ได้บัญญัติไว้ว่าสิ่งของหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งได้รับการอนุญาตตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม เมื่อนำมาต่อท้ายผลิตภัณฑ์หรืออาหารฮาลาล จะมีความหมายว่า ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ศาสนาอิสลาม อนุมัติให้ใช้หรือบริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค การบริการอาหาร เครื่องดื่มและครัวฮาลาล ผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ เวชภัณฑ์ เวชสำอาง บรรจุภัณฑ์ โลจิสติก และอื่น ๆ ตามความเห็นชอบของฝ่ายกิจการฮาลาล คณะกรรมการกลางอิสามแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ จะต้องปราศจากฮารอม คือ สิ่งของหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งได้รับการห้ามตามบทบัญญัติแห่งอิสลาม และนยิส หรือ สิ่งสกปรกตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

ดังนั้น หากอาหาร เครื่องดื่ม หรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ มีเครื่องหมายฮาลาล ก็แสดงว่าชาวมุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม สามารถซื้อมาบริโภคได้ ซึ่งลักษณะของสัญลักษณ์นั้น เขียนเป็นภาษาอาหรับภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน พื้นหลังเป็นแถบเส้นตรงแนวดิ่ง ใต้กรอบภายในเส้นขนานมีคำว่า “สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” และมีหมายเลขผลิตภัณฑ์ 12 หลัก อยู่ข้างใต้สุด ถ้าเป็นตัวเลขในระบบเก่า จะใช้ลำดับที่ของบริษัท ตามด้วยปีที่เริ่มขอรับรอง

ส่วนประกอบใดบ้างที่เป็น ฮาลาล

ฮาลาล

อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะขอ สัญลักษณ์ ฮาลาล ได้ ต้องมีวัตถุดิบและส่วนประกอบที่ได้รับอนุญาตตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ซึ่งจากการที่อาหารเสริมมักมีส่วนผสมจากหลากหลายวัตถุดิบ จึงต้องตรวจสอบให้ดีว่า มีส่วนประกอบที่ได้รับอนุญาตหรือไม่อนุญาตอะไรบ้าง เพื่อให้สามารถผลิตและจำหน่ายได้อย่างถูกต้อง โดยส่วนประกอบที่ได้รับอนุญาต เช่น

  • เนื้อสัตว์

สัตว์บก : สัตว์บกทุกชนิดถือว่าเป็นที่อนุมัติให้เป็นอาหารได้ ยกเว้นสิ่งดังต่อไปนี้

(ก) สัตว์ที่ไม่ได้เชือดตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม (ไม่เชือดโดยผู้นับถือศาสนาอิสลาม, เชือดโดยที่สัตว์ต้องทรมาน ฯ)

(ข) สุกร

(ค) สุนัข

(ง) สัตว์ที่มีเขี้ยวแหลมคม (เขี้ยวอย่างสุนัขหรือเงี้ยวเป็นงายาว) ซึ่งใช้ในการฆ่าเหยื่อ เช่น เสือ สิงโต หมี ช้าง แมว และลิง

(จ) นกที่มีกรงเล็บหรือนกล่าเหยื่อ

(ฉ) สัตว์ทำลายและสัตว์มีพิษ ได้แก่ หนู ตะขาบ งู แมงป่อง ฯลฯ

(ช) สัตว์สกปรกต่อสาธารณะชน เช่น หมัด โลน แมลงวัน

(ซ) สัตว์ที่อาศัยทั้งบนบกและในน้ำ (สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ) เช่น จระเข้ เต่า

(ฌ) สัตว์ที่ห้ามฆ่าในศาสนาอิสลาม เช่น มด ผึ้ง นกหัวขวาน

(ญ) สัตว์น้ำ : สัตว์น้ำหมายถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำและไม่สามารถอยู่รอดได้หากปราศจากน้ำ ดังเช่น ปลา สัตว์น้ำทุกชนิดถือว่าเป็นที่อนุมัติในอิสลาม ยกเว้นแต่สัตว์ที่มีพิษ เป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

  • พืช

พืชและผลิตภัณฑ์จากพืชทุกชนิดถือว่าฮาลาล ยกเว้นพืชนั้นเป็นพืชที่มีพิษ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งหากกระบวนการผลิตสามารถกำจัดพิษนั้นออกไปหมด สามารถรับประทานได้ ค่อยถือว่าเป็น อาหารฮาลาล

  • เครื่องดื่ม

น้ำและเครื่องดื่มทุกชนิดได้รับอนุญาต ยกเว้นแต่ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์ ก่อให้เกิดความมึนเมา หรือมีแร่ธาตุจากธรรมชาติ วัตถุเคมี ที่มีพิษ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยรวมถึงสิ่งที่ผสมเข้ากับนยิสด้วย

  • อาหาร เครื่องดื่มที่ดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs)

หากอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น มีส่วนประกอบจากวัตถุดิบที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรม อาหารนั้นไม่ถือว่าเป็นฮาลาล

กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ฮาลาล ควรมีอะไรบ้าง

สัญลักษณ์ ฮาลาล

การจะได้รับ สัญลักษณ์ ฮาลาล บนอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  นอกจากจะต้องมีส่วนประกอบที่ได้รับอนุญาตตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามแล้ว ยังจะต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องอีกด้วย ถึงจะได้รับการพิจารณา จากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีขั้นตอนการเข้าตรวจสอบสถานประกอบการด้วย จึงควรทำออกมาให้ถูกต้องมากที่สุด โดยกระบวนการผลิตที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ฮาลาล ประกอบด้วย

1. มีพื้นที่การผลิต แยกออกจากพื้นที่ผลิตฮารอมชัดเจน

ผู้ประกอบการ จะต้องรักษาอุปกรณ์ในการผลิต ผลิตภัณฑ์ฮาลาล ให้สะอาดถูกต้องตามศาสนบัญญัติ ตลอดจนต้องแยกพื้นที่การผลิตออกจากพื้นที่ที่มีการผลิตฮารอม (สิ่งของหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งได้รับการห้ามตามบทบัญญัติแห่งอิสลาม) ออกอย่างชัดเจน โดยอาจตั้งกำแพงกั้นแยกพื้นที่ จัดแยกพนักงาน อุปกรณ์เครื่องจักร หรือตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามเห็นว่าสมควร

2. โรงงาน สถานที่ผลิต ต้องป้องกันการปนเปื้อนจากนยิส (สิ่งสกปรก)

ผลิตภัณฑ์ฮาลาล ต้องปราศจากการปนเปื้อนจากนยิส หรือ สิ่งสกปรกตามบทบัญญัติแห่งศาสนา เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ โลหิต น้ำหนอง ซากสัตว์ที่ไม่ได้เชือด สิ่งที่ทำให้มึนเมา ฯลฯ ดังนั้น โรงงาน สถานที่ผลิต จึงต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อน ไม่ให้กระบวนการผลิตปนเปื้อนสิ่งเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้งของโรงงาน การกำจัดขยะ การควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย การล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภายในโรงงาน สัตว์พาหะนำโรคเช่น แมลงวัน ยุง เป็นต้น

3. พนักงานที่อยู่ในสายการผลิตต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ

ไม่ใช่แค่โรงงาน ที่ต้องอยู่ในทำเลที่ดีและมีมาตรการที่ทำให้กระบวนการผลิตปราศจากสิ่งปนเปื้อน แม้แต่ตัวพนักงานเองก็ต้องรักษาความสะอาดตลอดเวลา ทั้งจากการปนเปื้อนจากฮารอมและนยิส ตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม จึงควรมีระบบทำความสะอาดตัวพนักงาน ก่อนเข้าทำงาน เพื่อให้สะอาดที่สุด ซึ่งหากไม่อยากวางระบบให้วุ่นวาย ก็อาจหาเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการผลิตหรือปรุงผลิตภัณฑ์นั้น เป็นชาวมุสลิม ก็อาจจะสะดวกที่สุด

4. ออกแบบบรรจุภัณฑ์ และควบคุมการจำหน่ายให้ถูกหลักศาสนา

เมื่อออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว การออกแบบบรรจุภัณฑ์ทุกอย่าง ต้องถูกต้องหลักตามศาสนาด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำ ภาพประกอบต่าง ๆ ในส่วนของการจำหน่ายก็เช่นกัน ไม่ว่าจะวางขายหรือโฆษณสร้างยอดขาย ต้องไม่มีการปนเปื้อนจากสิ่งที่ศาสนาห้ามโดยเด็ดขาย หรือตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามไม่เห็นชอบ

5. ผู้ประกอบการรับจ้างผลิตต้องได้รับการรับรองสัญลักษณ์ฮาลาล

หากผู้ผลิตว่าจ้างให้โรงงานใดโรงงานหนึ่งรับจ้างผลิต ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ขึ้นมา ผู้ประกอบการรับจ้างผลิตจะต้องดำเนินการขอการรับรองฮาลาล จากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยด้วย เพื่อให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักศาสนา ทั้งนี้ ให้รวมถึงการขนส่ง การจัดจำหน่าย การโฆษณาด้วย

สัญลักษณ์ ฮาลาล สำคัญอย่างไรกับ โรงงานผลิตอาหารเสริม

ฮาลาล

ศาสนาอิสลาม เป็นหนึ่งในศาสนาที่มีประชากรทั่วโลกนับถือมากที่สุด ด้วยจำนวนประชากรกว่า 2,000 ล้านคน หรือมีจำนวนเกือบ 1 ใน 4 ของโลก แถมส่วนใหญ่อยู่ในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้ประเทศไทยด้วย  เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งถ้านับเฉพาะ 3 ประเทศนี้ ก็มีจำนวนมากกว่า 300 ล้านคน เป็นการบ่งบอกว่า กลุ่มลูกค้าที่บริโภคอาหารฮาลาล มีขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อปริมาณมาก

หากคิดจะผลิตอาหารเสริม ให้ขายดี สร้างรายได้ให้มากขึ้น การมีสัญลักษณ์ฮาลาลอยู่บนผลิตภัณฑ์ด้วย ก็อาจช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพราะจะได้ขยายกลุ่มเป้าหมายลูกค้าให้กว้างขึ้น จากเดิมที่จำกัดแต่กลุ่มคนรักสุขภาพ ก็จะได้กลุ่มเป้าหมายใหม่เป็นกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งหากผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดี ทำการตลาดได้ยอดเยี่ยม ก็ไม่แน่ว่า อาจจะสร้างรายได้และกำไรให้คุณได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

อาหารเสริมฮาลาล จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างรายได้จากอาหารเสริม ซึ่งจากการที่ส่วนใหญ่ มักมีส่วนประกอบจากพืชและสมุนไพร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การขอเครื่องหมายฮาลาล จึงอาจไม่ใช่เรื่องยากที่คิด เพียงแค่หาโรงงานที่มีคุณภาพและมาตรฐานการผลิตสูง สามารถวางกระบวนการผลิตให้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามได้ เพียงเท่านี้ ก็สามารถมีแบรนด์อาหารเสริม ฮาลาล เป็นของตนเองได้แล้ว

หากใครคิดจะผลิตอาหารเสริม ที่สามารถขอการรับรองเป็น ผลิตภัณฑ์ฮาลาล ได้แล้วละก็ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ SGECHEM เพราะเราเป็นโรงงาน OEM ที่ผลิตอาหารเสริมครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการออกแบบ สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ และมีบริการจดทะเบียน อย. ให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคุณถูกต้องตามกฏหมาย สามารถวางขายแข่งขันทางการตลาดได้อย่างสบายหายห่วง หากสนใจสามารถคลิกลิ้งก์เว็บไชต์ที่ https://sgechem.com/ หรือติดต่อทางโทรศัพท์ หรือ Line ของเราได้เลย