สารให้ความหวาน ปัจจุบันมาแรงมากในหมู่ผู้ดูแลสุขภาพ หรือแม้แต่กลุ่มผู้ที่เป็นเบาหวาน เพราะความหวานจากน้ำตาลนั้น เป็นเพชฆาตตัวดี ที่บั่นทอนอายุของเราได้ร้ายมากกว่าบุหรี่เสียอีก และน้ำตาลยังเป็นศัตรูอันดับ 1 ของสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นตัวก่อโรคภัยมากมายให้คนในยุคนี้

SGECHEM จะพาไปรู้จักการเลือกสารให้ความหวานแบบต่าง ๆ แบบละเอียด ทั้งความหวานตามธรรมชาติ และแบบสังเคราะห์ ตามไปดูกันเลยดีกว่า


สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Non-nutritive sweeteners)

เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมา ไม่ได้เป็นผลผลิตมาจากธรรมชาติ หรือบางส่วนอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (จากพืช) ซึ่งเป็นเครื่องปรุงรสทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ

210630-Content-สารให้ความหวานแทนน้ำตาล-(Non-nutritive-sweeteners)-คืออะไร02 edit


ดังนั้น เรามาทำความรู้จักสารให้ความหวานแทนน้ำตาล
(Non-nutritive sweeteners) กันมากขึ้นดีกว่า!

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล(Non-nutritive sweeteners) คือ สารที่มีรสชาติหวาน ส่วนมากจะหวานกว่าน้ำตาล ซึ่งเป็นสารที่ไม่ให้พลังงาน หรือพลังงานที่ต่ำกว่า มักพบได้ในอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ เช่น อาหารเสริมวิตามิน, อาหารเสริมสารต่อต้านอนุมูลอิสระ, อาหารเสริมเพื่อการลดน้ำหนัก หรือ พบในเครื่องดื่ม เช่น เครื่องดื่มน้ำอัดลม ลูกอมบางชนิด


สารให้ความหวานแทนน้ำตาล(Non-nutritive sweeteners)
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบธรรมชาติ เช่น Sorbitol, Xylitol, Erythritol, Stevia glycosides, Maple syrup, น้ำผึ้ง, น้ำตาลมะพร้าว, สารสกัด, หล่อฮังก๊วย และอินทผลัม
2. สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบสังเคราะห์ เช่น Aspatam, Saccharin, Acesulfame potassium และ Sucralose ซึ่งแต่ละชนิด 


แต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติ และวิธีการเลือกซื้อ ยกตัวอย่างคร่าว ๆ ดังนี้

มีรสชาติหวานปนขม หวานกว่าน้ำตาลทั่วไปประมาณ 350 เท่า ซึ่งให้พลังงานเป็น 0 แคลอรี่ นิยมในการประกอบอาหาร

210630-Content-สารให้ความหวานแทนน้ำตาล-(Non-nutritive-sweeteners)-คืออะไร04 edit
  • Erythritol

ความหวานคล้ายน้ำตาลทรายขาว ให้พลังงานประมาณ 0.24 แคลอรี่ต่อกรัม ซึ่งสารจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดโดยตรง ไม่ถูกดูดซึมในกระเพาะอาหาร และไม่กระตุ้นการหลั่งสารอินซูริน ผู้ที่ทานคีโต และเป็นโรคเบาหวาน สามารถทานได้ มักใช้ในการประกอบอาหาร และเบเกอรี่

มีรสชาติ หอม หวาน อร่อย เหมาะกับการรับประทานคู่กับเครื่องดื่ม และอาหารว่าง เป็นสารที่ให้พลังงานมีแคลรอรีค่อนข้างสูง

210630-Content-สารให้ความหวานแทนน้ำตาล-(Non-nutritive-sweeteners)-คืออะไร05 edit

มีรสหวาน และยังทำให้ชุ่มคอ และช่วยรักษาอาการอักเสบได้ หวานกว่าน้ำตาลทั่วไปประมาณ 100-250 เท่า เป็นสารให้ความหวาน ที่ไม่กระตุ้นการหลั่งสารอินซูลิน อีกทั้งยังไม่มีแคลอรี

  • Aspatam

มีความหวานกว่าน้ำตาลประมาณ 200เท่า หากใช้ในปริมาณมาก จะมีรสชาติขม ซึ่งเป็นสารที่ให้พลังงานเท่ากัน แต่จะใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า จึงทำให้ได้รับพลังงานที่น้อยกว่า ข้อเสียของสาร Aspatam คือ เมื่อโดนความร้อน โครงสร้างของสารจะเปลี่ยน จึงไม่ควรใช้ในการปรุงอาหาร และเก็บไว้นาน ๆ

210630-Content-สารให้ความหวานแทนน้ำตาล-(Non-nutritive-sweeteners)-คืออะไร06 edit
  • Saccharin

มีความหวานว่าน้ำตาลประมาณ 200-700 เท่า นิยมใช้ในเครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

210630-Content-สารให้ความหวานแทนน้ำตาล-(Non-nutritive-sweeteners)-คืออะไร07 edit
  • Sucralose

ให้ความหวานใกล้เคียงกับน้ำตาล มีความหวานกว่าน้ำตาลประมาณ 600 เท่า นิยมใช้ในการทำเบเกอรี่ และเป็นสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน

▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ 

การใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลมีผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง ?

การบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้น มีทั้งข้อดี ลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ และข้อเสีย น้ำหนักขึ้น, น้ำตาลในเลือดสูง, รบกวนการทำงานของลำไส้ ซึ่งผลเสียต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกลที่ชัดเจนของมัน แต่คาดกันว่าเกิดจากปัญหาแบคทีเรียในลำไส้เปลี่ยนชนิดไป (dysbiosis), เกิดจากความอยากหวาน หรืออาการติดหวาน และเกิดจากมีการรบกวนสัญญาณสื่อประสาทระหว่างลำไส้ และสมอง

  • ไม่ทำให้ฟันผุ การใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลในน้ำอัดลม, หมากฝรั่ง, ลูกอม, ยาอม สามารถลดความเสี่ยงของฟันผุได้ โดยเฉพาะ sugar alcohols เช่น erythritol และ xylitol จะไปรบกวนการเติบโตของแบคทีเรีย แต่ในทางตรงข้ามในกลุ่ม polyols รวมไปถึงน้ำอัดลมนั้น มีความเป็น กรด ดังนั้น อาจจะทำให้ฟันสึกกร่อนได้

  • เรื่องน้ำหนัก สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเหล่านี้ มีพลังงานน้อยมาก หรือไม่มีพลังงานเลยด้วยซ้ำ ดังนั้น จึงน่าจะสามารถนำมาลดน้ำหนักได้ โดยการบริโภคแทนน้ำตาลไม่ใช่หรือ แต่ในความเป็นจริงแล้วจากงานวิจัยหลากหลายงาน ผลออกมาเป็นรูปแบบผสม บางงานวิจัยพบว่า ผู้บริโภคน้ำหนักขึ้น บางงานก็ออกมาเป็นน้ำหนักเท่า ๆ เดิม บางงานวิจัยก็บอกว่าสามารถลดน้ำหนักได้ ซึ่งยังเป็นข้อโต้เถียงกันอยู่จนปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม ทาง American Academy of Pediatrics ไม่แนะนำให้ใช้สารเหล่านี้กับเด็ก
  • Glycemic effects ปัจจุบันนั้น ยังมองว่างานวิจัยยังขาดข้อมูลที่มีคุณภาพอยู่ มีหลายงานวิจัยได้ผลออกมาเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ดื้ออินซูลิน ทำให้มีการหลั่ง glucagon-like peptide 1 (GLP-1) และทำให้เกิดเบาหวานชนิดที่ 2 อีกด้วย และก็มีอีกหลายงานวิจัยที่บอกว่าสารเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดโทษตามที่กล่าวมาแต่อย่างใด

  • โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ ผลลัพธ์ของการบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้น มีทั้งก่อให้เกิดโทษ ทำให้เกิดโรค stroke มากถึง 2.5 เท่าและโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน 1.3 เท่าของคนปกติ และบางงานวิจัยก็ได้ผลเป็นไม่ก่อให้เกิดโทษดังกล่าวแต่อย่างใด สรุปแล้วในเรื่องนี้เรายังคงสรุปอะไรไม่ได้แน่ชัด

  • ไขมันพอกตับ(Non-alcoholic fatty liver disease) มีทั้งงานวิจัยที่ได้ผลว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาล สามารถลดภาวะไขมันพอกตับได้ บางงานวิจัยก็บอกว่าช่วยลดภาวะไขมันพอกตับได้เฉพาะในคนที่เป็นโรคอ้วนอยู่เดิมเท่านั้น

  • ระบบประสาท การรับประทาน aspartame อาจจะกระตุ้นให้เกิดปวดหัวไมเกรนในคนบางคน ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกลในการเกิดที่ชัดเจน

  • อาการแพ้ (Allergenicity) มีรายงานว่าเกิดอาการแพ้ได้บ้าง แต่โอกาสนั้นน้อยมาก ๆ ได้แก่ thaumatin stevia และ erythritol

210630-Content-สารให้ความหวานแทนน้ำตาล-(Non-nutritive-sweeteners)-คืออะไร08 edit


อย่างไรก็ตาม สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะมีประโยชน์ เพื่อลดพลังงาน และผู้ป่วยที่ต้องจำกัดการบริโภคน้ำตาล แต่การบริโภคในปริมาณที่มากเกิน ก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน เพราะสารให้ความหวานแทนน้ำตาลบางชนิด ไม่มีคุณค่าทางด้านโภชนาการ อาจเกิดสารเคมีจนตกค้างในร่างกายได้ และทำให้ร่างกายไม่ได้รับพลังงาน ซึ่งอาจะทำให้หวนกลับมากินอาหารชนิดอื่นที่ให้พลังงานมากกว่าเดิมได้ และควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดี

>>สามารถอ่านบทความต่าง ๆ จาก SGE CHEM ได้ตามนี้เลย<<