❝ สารที่นำมาใช้ทางการแพทย์อย่างกว้างขวาง และใช้เป็นยารักษาโรค อย่างเช่น สเตียรอยด์ (Steroid) มีสรรพคุณเหมือนเป็นยาวิเศษ รักษาโรคหรือภาวะต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย แต่เราก็มักได้ยินเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ยาที่มีสเตรียรอยด์เป็นส่วนผสม นั่นอาจเป็นเพราะการใช้ยาอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่อยู่ในการควบคุมของแพทย์หรือเภสัชกร และหากใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ตามมาได้ แต่สิ่งที่น่ากลัวคือ มีการนำสเตียรอยด์มาปลอมปนในผลิตภัณฑ์ยาหรือเครื่องสำอางเพื่ออวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ซึ่งอาจจะส่งผลร้ายของเราในอนาคตได้ ❞
SGE CHEM จะพาไปทำความรู้จักสเตียรอยด์ เพื่อรู้เท่าทันดักจับให้อยู่หมัดก่อนสารนี้จะเข้าถึงตัวเรานั่นเอง
สเตียรอยด์คืออะไร?
คือ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองได้ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ต้านการอักเสบ, ลดการปวดต่าง ๆ, ควบคุมสมดุลน้ำหนักและเกลือแร่, กดภูมิคุ้มกัน, ปรับความเครียด เป็นต้น เนื่องด้วยคุณสมบัติของสารสเตียรอยด์ที่จำเป็นต่อร่างกาย จึงทำให้มีการผลิตสเตียรอยด์สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ทางการแพทย์ มีหลายชนิด และหลายรูปแบบทั้งยาฉีด ยาเม็ด และยาครีม นั่นเอง
สเตียรอยด์ที่ใช้ในทางการแพทย์ เรียกว่า คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เป็นสารที่สังเคราะห์เลียนแบบสเตียรอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงทดแทนในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนดังกล่าวได้ โดยยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์นี้ตามกฎหมายแพทย์จะเป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น
สเตียรอยด์แบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
สเตียรอยด์ธรรมชาติ |
สเตียรอยด์สังเคราะห์ |
▶ ยาสเตียรอยด์ที่ใช้ภายนอก (External Use) ผลการรักษาให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ เช่น
- ยาหยอดตา สำหรับการอักเสบที่ตา เยื่อบุตาขาวอักเสบ
- ยาพ่นจมูก ใช้ควบคุมอาการแพ้โพรงจมูกอักเสบ
- ยาสูดพ่นทางปาก ใช้ควบคุมอาการทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง เป็นต้น
- ยาทาทางผิวหนัง ใช้สำหรับกดภูมิคุ้มกันหรืออาการผื่นคันที่ผิวหนัง
▶ ยาสเตียรอยด์ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย (Systemic Use)
ผลการรักษาให้ออกฤทธิ์ทั่วร่างกายทุกระบบ เช่น ยาฉีดและยารับประทาน ส่วนใหญ่ใช้ลดอาการอักเสบภายใน หรือเพื่อกดภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคภูมิแพ้ตัวเอง (SLE) หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรัง และอาการภูมิแพ้ทางผิวหนังหรือทางเดินหายใจที่รุนแรง เป็นต้น
ข้อแนะนำ
- ตรวจสอบยี่ห้อ เครื่องหมาย อย. ก่อนเลือกซื้อครีมบำรุงผิวทุกครั้ง
- ทดสอบครีมบำรุงผิวที่แขนทุกครั้งก่อนใช้ เพื่อดูอาการแพ้
- ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร หากสงสัยว่ามีอาการข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์
Leave A Comment