ทำความรู้จัก “เทฟล่อน” คืออะไร? มีอันตรายต่อสุขภาพจริงหรือ?

ในปัจจุบันมีการใช้ภาชนะเคลือบเทฟล่อนกันอย่างแพร่หลาย ทำให้คำว่า “เทฟล่อน (Teflon®)” เป็นคำที่คนทั่วไปรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยคนทั่วไปมักคิดว่า การใช้ภาชนะเคลือบเทฟล่อนปรุงอาหารดีต่อสุขภาพ เพราะไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่ต้องกลัวอ้วน แต่การใช้ภาชนะเคลือบเทฟล่อนผิดวิธีก็ส่งผลต่อสุขภาพได้ เนื่องจากเทฟล่อนจะเริ่มเกิดการสลายตัวและสูญเสียความลื่นไป แล้วสารเทฟล่อนนี้มันคืออะไรกันนะ? แล้วมีอันตรายมากแค่ไหน?

บทความนี้ SGE CHEM จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เทฟล่อน ให้มากขึ้นกัน

เทฟล่อน (Teflon®) คืออะไร?

เทฟล่อนหรือพลาสติก PTFE เป็นของแข็งที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง สีค่อนข้างขาว ทึบแสง น้ำหนักเบา และมีค่าความเสียดทานต่ำมาก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานอยู่ในช่วง 0.05 – 0.10 คุณสมบัติดังกล่าวทำให้สารต่าง ๆ ไม่ว่า น้ำ หรือน้ำมัน ไม่สามารถเกาะติดผิวที่เคลือบด้วย PTFE ได้

210225-Content-เทฟล่อน-คืออะไร-มีอันตรายไหม-edit04

นอกจากนี้ เทฟล่อน ยังเป็นสารพอลิเมอร์ที่มีความคงตัวสูง ทนต่อแสง UV ทนต่อกรด-ด่างและสารเคมีชนิดอื่นได้ดี ทนความร้อนได้ดี หลอมเหลวที่อุณหภูมิ 327°C หรือ 621°F แต่ที่อุณหภูมิสูงกว่า 260°C หรือ 500°F จะเริ่มเกิดการสลายตัวของสารพอลิเมอร์และสูญเสียความลื่นไป โดยการสลายตัวตังกล่าวจะเห็นชัดที่อุณหภูมิสูงกว่า 400°C  และที่อุณหภูมินี้เองจะมีก๊าซ Carbonyl Fluoride (COF2 ) ซึ่งมีความเป็นพิษสูง ถูกปลดล่อยออกมา สารดังกล่าวเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำในทางเดินหายใจ จะได้แก๊ส Carbon Dioxide และกรด Hydrofluoric Acid  (HF ) ซึ่งเป็นกรดที่แรงและทำอันตรายต่อเยื่อบุในทางเดินหายใจ

พลาสติกเทคนิค ประเภทเทฟล่อน มีน้ำหนักโมเลกุล 9,000,000 กรัม/ลบ.ซม.3 จากการวัดโดยวิธี Radio Actively Labelled Initiators และพันธะทางเคมี ระหว่างคาร์บอนกับฟลูออรีน ซึ่งพลังงานที่จะทำให้แยกตัวได้ ต้องใช้แรงแยกสลาย (Dissociation Energy) ถึง 460 Kj/Mol. ซึ่งเป็นพันธะทางเคมีที่สูงที่สุดของอินทรีย์เคมีที่รู้จักกันในปัจจุบัน สายโซ่คาร์บอน (Carbon Chain) เกือบจะถูกอะตอมของฟลูออรีนป้องกันเกือบทั้งหมด จึงมีสภาพเป็นเกาะเคลือบของสายโซ่คาร์บอนต่อผลกระทบภายนอก ทำให้โพลีเมอร์ตัวนี้ มีความทนทานต่อสารเคมีสูง

คุณสมบัติของเทฟล่อน

  • เมื่อเคลือบบนผื้นผิวจะทำให้น้ำหรือน้ำมันไม่เกาะติด
  • ไม่ละลายในตัวทำละลายใด ๆ
  • ทนทานต่ออุณหภูมิที่สูง จุดหลอมที่ 342°C
  • ทนต่อแสงยูวี (UV) ทนต่อสภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ
  • ทนต่อการออกซิไดซ์
  • มี F76% โดยน้ำหนัก
  • มีความฝืดที่ต่ำมาก

เทฟล่อนเมื่อได้รับความร้อนสูงกว่า 260°C หรือ 500°F และที่อุณหภูมิสูงกว่า 400°C หรือ 752°F จะมีการปลดล่อยก๊าซ Carbonyl Fluoride (COF2 ) ออกมา โดยก๊าซชนิดนี้ เป็นพิษรุนแรงต่อนกและสัตว์ปีก โดยทำให้นกตายจากการมีของเหลวคั่ง และมีเลือดออกในปอด ส่วนในคนจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “Teflon Flu” หรือ “Polymer Fume Fever” โดยจะมีอาการปวดศรีษะ เป็นไข้ หนาวสั่น คล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ (Flu-Like Symptom) ดังนั้นการใช้ภาชนะเคลือบเทฟล่อนอย่างถูกวิธี ก็จะไม่มีอันตราย เช่นเดียวกับการใช้พลาสติกชนิดอื่น ๆ

สารเคลือบเทฟล่อน มีอะไรบ้าง?

สารเคลือบเทฟล่อนสามารถแบ่งประเภท ดังนี้

  • PTFE เป็นสารเคลือบผิวลื่นระบบสองชั้นและสามชั้นสามารถทนความร้อนได้สูงสุด 260°C มีสัมประสิทธิ์การขัดสีต่ำ เช่น Chemical Equipment, Centrifuges, Tank Linings, Valves, Pupms, Exhaust Ducts, Polystyrene Molds, ทนต่อการกัดกร่อน ทางเคมีสารเทฟล่อนจะแปลงค่าเป็นด่างเมื่อมีปฏิกิริยากับสารเคมีและสารละลายหลายชนิด
  • FEP เป็นสารเคลือบผิวลื่น ที่สามารถหลอมตัวและไหลเทจัดเรียงตัวในระหว่างการอบเตา เพื่อสร้างเป็นฟิล์มที่กันน้ำได้ ทนทานต้อสารเคมี มีการขัดสีต่ำ และมีคุณสมบัติการเกาะติดได้ดีอุณหภูมิที่ใช้งานได้สูงสุดคือ 205°C เช่น Chemical Equipment, Impellers, Mixing Tanks, Valves, Pumps, Biomedical Equipment, Heat Sealing Bars, Shoes Molds, Textile Dryers
  • PFA เป็นสารเคลือบที่มีการละลายและจัดเรียงสารฟลูออโรโพลิเมอร์ในระหว่างการอบเตาเพื่อสร้างเป็นฟิล์มที่กันน้ำ ได้สามารถทนความร้อนได้ดีที่ 260°C และเคลือบได้ความหนาของฟิล์มถึง 1000 Micrometers และมีความเหนียวทนทาน จึงเหมาะสมเมื่อต้องใช้กับสารเคมี เช่น Chemical Equipment, Impellers, Mixing Tanks, Valves, Pumps, Biomedical Equipment Silicone Water mfg equip, Molds laundry dryers, Copiers/Printer Rolls, Paint Spray Cups, Light Bulbs
  • ETFE เป็นการผสมระหว่าง เอทิลีน (Ethylene) และ PTFE มีความทนทานต่อสารเคมี และทนความร้อนต่อเนื่อง 150°C เป็นสารเคลือบฟลูออโรโพลิเมอร์ที่เหนียวและทนทาน เช่น Centrifuges, Tank linings, Valves, Pumps, Exhaust Ducts

เทฟล่อนมีประโยชน์อย่างไร?

  • เมื่อเคลือบบนพื้นผิวจะทำให้น้ำหรือน้ำมันไม่เกาะติด, ไม่ละลายในตัวทำละลายใด ๆ, ทนทานต่ออุณหภูมิสูง, ทนต่อการออกซิไดซ์, ทนต่อแสงยูวี
  • นำมาใช้เคลือบภาชนะเครื่องใช้ในครัว บรรจุภัณฑ์ของอาหาร เพื่อให้สามารถปรุงอาหารโดยไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่ติดกระทะ ทำความสะอาดง่าย และเหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพ
  • นอกจากเครื่องครัวยังมีการนำเทฟล่อนมาผสมสีทาบ้าน เพื่อให้ไม่ติดคราบสกปรก ทำให้ผนังทำความสะอาดง่ายและช่วยป้องกันการรั่วซึมของน้ำใช้ผสมในเส้นใยสำหรับผลิตสิ่งทอภายใต้ชื่อ กอร์เท็กซ์ (Gore-tex®) และใช้เคลือบบนพรม เพื่อให้ทำความสะอาดง่ายและไม่ติดคราบสกปรก
  • ด้วยคุณสมบัติที่มีความลื่นสูง จึงมีการนำเทฟล่อนมาใช้เป็นสารหล่อลื่นและใช้เคลือบผิวอุปกรณ์การแพทย์ เช่น เข็มเจาะเลือด หรือใช้ท่อ เทฟล่อนเป็นหลอดเลือดเทียม  (Vascular Grafts)
210225-Content-เทฟล่อน-คืออะไร-มีอันตรายไหม-edit03

เนื่องจากผิวของวัสดุที่เคลือบด้วยเทฟล่อน มีความลื่นสูง เกิดปฏิกิริยากับสารเคมีต่าง ๆ ได้ต่ำ กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ (Inflammation) และกระตุ้นให้เกิดการจับตัวเป็นลิ่มเลือด (Thrombogenic Reactivity )ได้ต่ำกว่าพลาสติกชนิดอื่น จึงนิยมใช้เป็น Material of Choice สำหรับการปลูกถ่ายเส้นเลือดเทียม สำหรับเส้นเลือดขนาดเล็ก (Small Diameter Vascular Grafts) การผ่าตัดบายพาส (Bypass) ของหลอดเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ

วิธีการใช้ภาชนะเคลือบเทฟล่อนอย่างถูกวิธี

  • อ่านคู่มือการใช้ภาชนะเคลือบเทฟล่อนก่อนใช้งาน เพื่อจะได้ทราบวิธีใช้ที่ถูกต้อง อุณหภูมิที่เหมาะสมและปลอดภัย
  • ควรใช้ไฟในระดับปานกลาง-ต่ำ ในการปรุงอาหารด้วยภาชนะเคลือบเทฟล่อน ซึ่งจะให้ความร้อนไม่เกิน 260°C หรือ 500°F
  • ทิ้งภาชนะเคลือบเทฟล่อนที่ไม่มีอาหาร หรือน้ำ ในเตาอบ หรือบนเตาไฟ หรืออุ่นภาชนะก่อนใช้ (Preheat) เพราะจะทำให้ภาชนะร้อนเกินไป (Overheat) และปล่อยไอของสารที่เป็นพิษต่อทางเดินหายใจออกมา
  • ควรเลือกใช้ภาชนะให้เหมาะสมกับวิธีปรุงอาหาร และชนิดของอาหาร เช่น สามารถใช้กระทะเทฟล่อนในการทอดเนื้อได้ เนื่องจากการทอดเนื้อ จะใช้อุณหภูมิประมาณ 204-243°C
  • ไม่ควรใช้ภาชนะที่เคลือบด้วยเทฟล่อนในการปรุงอาหารที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า 250°C ควรใช้ภาชนะที่ทำจากกระเบื้อง หรือแก้วทนความร้อนแทน
  • เมื่อปรุงอาหารด้วยภาชนะที่เคลือบด้วยเทฟล่อน โดยใช้ความร้อน ควรเปิดหน้าต่าง และพัดลมดูดอากาศ เพื่อช่วยระบายและป้องกันการหายใจเอาก๊าซ Carbonyl Fluoride (COF2 ) ซึ่งมีความเป็นพิษสูงเข้าสู่ร่างกาย
210225-Content-เทฟล่อน-คืออะไร-มีอันตรายไหม-edit02

เทฟล่อนเป็นอันตรายจริงหรือ?

สรุปได้ว่า เทฟล่อนเป็นสารที่มีความปลอดภัย มีความเสถียรสูงมาก หากมีการหลุดร่อนออกมา แล้วกินเข้าไป ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพียงแค่จะมีการขับถ่ายออกมาเฉย ๆ ส่วนที่เทฟล่อนที่เป็นอันตรายคือ เทฟลอนสลายตัว เนื่องจากได้รับอุณหภูมิที่สูงมากกว่า 300 องศาเซลเซียส โดยความร้อนที่เกิดจากเตาไฟฟ้าไม่สามารถทำได้ถึง 300 องศาเซลเซียส แต่สำหรับเตาแก๊ส หากเปิดเตาแก๊สทิ้งไว้นาน ๆ โอกาสที่ความร้อนจะแตะ 300 องศาเซลเซียสเกิดขึ้นได้

เป็นอย่างไรกันบ้างกับเทฟล่อน คุณสมบัติต่าง ๆ แม้ว่ากระทะเทฟล่อนจะเป็นกระทะที่ให้ความปลอดภัยสูง เหมาะกับการใช้งานเพื่อสุขภาพ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นเพียงผลการวิจัยที่ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด เพราะจากการตรวจสอบผู้ป่วยโรคมะเร็งบางรายพบสารชนิดนี้ในกระแสเลือด แต่จะอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นต้นตอที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งหรือไม่ ดังนั้นทางที่ดีควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมจะดีกว่า เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพในอนาคต

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

SGECHEM ของเรายังมี สินค้ามากมายหลากหลายแบบ ทั้งหมวดหมู่ เครื่องสำอาง อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด นอกจากนี้ ยังรับผลิตสินค้าเครื่องสำอาดต่าง ๆ บริการวิจัยและพัฒนาสูตร และอีกมากมาย สามารถเลือกชมสินค้า และเยี่ยมชมบริการของเราได้ที่ https://sgechem.com