อย.คืออะไร?

อย. อักษรย่อของ “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration)” เป็นส่วนราชการในระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการดําเนินงาน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชน จากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่ คือ อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางค์ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ต้องมีคุณภาพมาตรฐาน และปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้ และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย และสมประโยชน์นั่นเอง

วันนี้ SGE CHEM จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจอย.ให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย ?


หน้าที่ของอย.

มีหน้าที่กำกับและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน และมีหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้

210211-Content-เรื่องใกล้ตัว-อย.-บนฉลากผลิตภัณฑ์-คืออะไร-edit02
  1. ดำเนินการตามกฎหมายด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  2. กำกับดูแล และตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาด รวมถึงคำโฆษณาผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
  3. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาด และการโฆษณาผลิตภัณฑ์
  4. ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรความรู้ผู้ประกอบการ
  5. เฝ้าระวังปัญหาหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้น
  6. ส่งเสริมผู้บริโภคให้มีความรู้และศักยภาพในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างคุ้มค่าและปลอดภัย
  7. ส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์ โดยมีภาครัฐและภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่ายให้ความร่วมมือมีส่วนร่วมในการดำเนินการ

อาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับอย.ส่วนใหญ่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต, เครื่องมือ, เครื่องจักร, อุปกรณ์ในการผลิต, การควบคุมกระบวนการผลิต, การสุขาภิบาลโรงงานการบำรุงรักษา, การทำความสะอาด และบุคลากรการผลิต ให้เป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร หรือ GMP (Good Manufacturing Practice) นั่นเอง นอกจากนั้น ต้องผ่านในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุและการแสดงข้อมูลบนฉลากว่าครบถ้วนไม่โอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด อาหารหรือผลิตภัณฑ์นั้นถึงจะได้รับเครื่องหมายอย.เป็นสัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่มีภาชนะบรรจุสนิท รับผิดชอบโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ?

210211-Content-เรื่องใกล้ตัว-อย.-บนฉลากผลิตภัณฑ์-คืออะไร-edit03


ความหมายของตัวเลขอย.ทั้ง
 13 หลัก

 กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยตัวเลข 2 หลัก หมายถึง จังหวัดที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารหรือนำเข้าอาหาร โดยใช้ตัวเลขแทนอักษรย่อของจังหวัด เช่น 12

 กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยเลข 1 หลัก หมายถึงสถานะของสถานที่ผลิตอาหารหรือนำเข้าอาหารและหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต

หมายเลข 1 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 2 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่ จังหวัดเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 3 หมายถึง สถานที่นำเข้าอาหาร ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 4 หมายถึง สถานที่นำเข้าอาหารที่จังหวัดเป็นผู้อนุญาต


 กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยเลข 5 หลัก หมายถึง เลขสถานที่ผลิตอาหารหรือเลขสถานที่นำเข้าอาหารที่ได้รับอนุญาต และปี พ.ศ. ที่อนุญาต โดยตัวเลข 3 หลักแรกคือ เลขสถานที่ผลิตหรือนำเข้าอาหารแล้วแต่กรณี ส่วนตัวเลข 2 หลักสุดท้าย คือ ตัวเลขสองหลักสุดท้ายของปี พ.ศ. ที่ได้

 กลุ่มที่ 4 ประกอบด้วยเลข หนึ่งหลัก หมายถึง หน่วยงานที่ออกเลขเอกสารระบบอาหาร ดังนี้

1 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารระบบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารระบบจากจังหวัด


 กลุ่มที่ 5 ประกอบด้วยเลข 4 หลัก หมายถึง ลำดับที่ของอาหารที่ผลิต หรือนำเข้า ของสถานที่แต่ละแห่ง แยกตามหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต

นอกจากนี้การแสดงเลขสารระบบ อาหารในเครื่องหมายอย.ยังกำหนดให้ใช้ตัวเลขที่มีสีตัดกับสีพื้นของกรอบ มีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร และสีของกรอบตัดกับสีพื้นฉลาก


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดูแลคุ้มครองผู้บริโภค
 ในส่วน 6 ผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีอะไรบ้าง?

210211-Content-เรื่องใกล้ตัว-อย.-บนฉลากผลิตภัณฑ์-คืออะไร-edit04

 

ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง
เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย วัตถุเสพติดทางการแพทย์


ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีเครื่องหมายอย.
VS ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมายอย.

เครื่องหมายอย.และเลขที่จดแจ้ง เป็นการบ่งยอกเพียงว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้รับอนุญาตจาก อย.ให้ผลิตหรือจำหน่าย แต่ไม่ได้หมายความว่าอย.เป็นผู้รับรองว่าโฆษณาของผลิตภัณฑ์ที่กล่าวถึงสรรพคุณและประโยชน์จะใช้แล้วเห็นผลจริง

???? ทั้งนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์สุขภาพแต่มีเครื่องหมายอย.กับไม่มีเครื่องหมายอย.ได้ด้วย เพราะว่าผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทแบ่งตามเครื่องหมายอย.เป็น 2 ประเภท คือ

  • ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมายอย.หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร, เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต, วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ยาฆ่าแมลง
  • ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมายอย.ได้แก่ ยา, เครื่องสำอาง, เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการอย่างละเอียด, เครื่องมือแพทย์ทั่วไป, วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน พื้น ครัวต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีเลขที่จดแจ้งหรือทะเบียนยากำกับบนผลิตภัณฑ์

เราสามารถเช็คเครื่องหมายอย.ได้จากเว็บไซต์อย.หรือ กระทรวงสาธารณสุข, ORYOR Smart Application หรือ สายด่วน 1556 ได้ตลอดเวลา


❝ สุดท้ายนี้ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จะมีเครื่องหมายอย.แล้วก็ตาม ผู้บริโภคเองยังต้องพิจารณาหลายปัจจัยเพิ่มด้วย ทั้งการแพ้ การโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ และการใช้งานให้ถูกวิธีด้วย เพื่อความปลอดภัยของเรา เราต้องรู้จักเช็คเลขที่ อย.หรือเลขที่จดแจ้ง ในสินค้าแต่ละชิ้นที่เราจะซื้อก่อนทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ใช้สินค้าปลอมแล้วเกิดปัญหาต่อสุขภาพของเรา หรือส่งเสริมทางอ้อมให้ผู้ผลิตสินค้าปลอมผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพออกมาได้ในภายหลัง ❞

>>สามารถอ่านบทความต่าง ๆ จาก SGE CHEM ได้ตามนี้เลย<<


แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์psasupply.com, cordylis.com