เรียบเรียงโดย ด็อกเตอร์อั้ม (Dr. Aum)

คลายข้อสงสัย! เวชสำอาง และ เครื่องสำอาง แตกต่างกันอย่างไร?

เมื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์ดูแลผิวต่าง ๆ ก็คงหนีไม่พ้น ผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง และเวชสำอางดูแลผิวต่าง ๆ แต่ก็ยังมีหลาย ๆ คนสงสัยว่า เวชสำอาง มีความแตกต่างกับ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์บำรุงผิวทั่วไปอย่างไรบ้าง ตาม SGE CHEM ไปทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้มากยิ่งขึ้นกัน

เวชสำอาง คือ?

เวชสำอาง(Cosmeceutical) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รวบรวมเอาคุณสมบัติของ เครื่องสำอาง และยาไว้ด้วยกัน เรียกได้ว่า เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ในวงการอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และมีผู้บริโภคหันมานิยมผลิตภัณฑ์เวชสำอางมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์เวชสำอางธรรมชาติ (Natural Cosmeceuticals) ที่ไม่ มีกลิ่น สี สารปรุงแต่ง สารที่ทำให้คงสภาพ ตัวทำละลาย ไม่มีสารสังเคราะห์ ไม่มีการฉายรังสี ไม่ใช้วัตถุดิบที่ปนเปื้อน หรือตัดแต่งพันธุกรรมอีกด้วย

เวชสำอาง-Cosmeceutical-02

โดยเวชสำอาง จะมีคุณสมบัติเดียวกับเครื่องสำอาง มีสรรพคุณรักษาอาการผิดปกติของผิวต่าง ๆ เช่น ริ้วรอย สิว ฝ้ากระ จุดด่างดำ ได้อย่างตรงจุด และให้ผลลัพธ์คล้ายผลิตภัณฑ์ยา แต่เวชสำอางไม่ใช่เป็นยา แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลในการรักษาอาการผิดปกติทางผิวหนังที่เกิดจากโรคได้ ใช้แล้วมีผลการเปลี่ยนแปลงทางลักษณะภายนอก เช่น สิวลดลง ผิวดูตื้นขึ้น รอยสิวดูจางลง เป็นต้น

เครื่องสำอาง คือ?

เครื่องสำอาง (Cosmetics) เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิว มีคุณสมบัติในการทำความสะอาด ขัด ถู นวด ทา พอก เพื่อให้เกิดความสวยงาม โดยคุณสมบัติของเครื่องสำอางนั้น ไม่สามารถรักษา บำบัด บรรเทา หรือมีฤทธิ์ในการรักษา และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังได้ แต่สามารถใช้ปกปิดจุดด่างดำต่าง ๆ บนผิวของได้ สามารถแบ่งเครื่องสำอางออกเป็น 3 ประเภท คือ

เครื่องสำอาง-Cosmetic-03

1) เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มีส่วนผสม ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอันตรายกับผู้บริโภค จากพิษภัย หรือจากเคมีภัณฑ์ การกำกับดูแลจึงเข้มงวดที่สุด ด้วยการให้มาขึ้นทะเบียนตำรับ เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับเครื่องสำอางควบคุมพิเศษแล้ว จึงสามารถผลิต หรือนำเข้ามาจำหน่ายได้ สังเกตเลขทะเบียนในกรอบ อย.

2) เครื่องสำอางควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่มีผลกระทบ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย การกำกับดูแลจะไม่เข้มงวดเท่าเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ผู้ประกอบธุรกิจเพียงแค่แจ้งรายละเอียดต่อหน่วยงานของรัฐ ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนผลิต หรือนำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร ดังนั้น เครื่องสำอางควบคุม จะไม่มีเลขทะเบียนในกรอบ อย.

โดยได้มีกำหนดเครื่องสำอางควบคุม ไว้ 2 ลักษณะ คือ

  • กำหนดประเภทของเครื่องสำอาง แบ่งออกได้ 4 ประเภท เป็นเครื่องสำอางควบคุม ได้แก่
  • ผ้าอนามัย ทั้งชนิดแผ่น และชนิดสอด
  • ผ้าเย็นหรือกระดาษในภาชนะบรรจุที่ปิด
  • แป้งฝุ่นโรยตัว แป้งน้ำ
  • กำหนดสารควบคุม ดังนั้น เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารควบคุม จะจัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ได้แก่

3) เครื่องสำอางทั่วไป คือ เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม ดังนั้น เครื่องสำอางทั่วไป จะไม่มีเลขทะเบียนในกรอบ อย. แต่มีข้อกำหนดในการผลิต หรือนำเข้า ดังนี้

  • เครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ สามารถผลิตได้โดยไม่ต้องมาแจ้งกับ อย. แต่ต้องจัดทำฉลากภาษาไทย ให้มีข้อความอันจำเป็น ครบถ้วน ชัดเจน และส่วนข้อความอื่น ๆ บนฉลาก ต้องเป็นความจริง และมีเอกสารหลักฐานที่พิสูจน์ได้
  • เครื่องสำอางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ต้องส่งมอบหลักฐานประกอบการนำเข้า และจัดทำฉลากภาษาไทย ให้มีข้อความอันจำเป็นให้ ครบถ้วนภายใน 30 วัน หลังจากได้รับการตรวจปล่อยให้นำเข้า ส่วนข้อความอื่น ๆ บนฉลาก ต้องเป็นความจริง และมีเอกสารหลักฐานที่พิสูจน์ได้

ความแตกต่างของ เวชสำอางและเครื่องสำอาง

อย่างที่รู้กันว่า เวชสำอางนั้น ไม่เน้นเรื่องการเสริมความงาม แต่จะให้ความสำคัญของการรักษา ปัญหาผิวเฉพาะจุดเป็นหลักแต่ไม่จัดเป็นยา เน้นผลลัพธ์ในการดูแลผิวอย่างล้ำลึก  ทำให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน และให้ผลลัพธ์ระยะยาว เช่น ความชุ่มชื้น ลดริ้วรอย และทำให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น เป็นต้น

difference of Cosmeceutical-and-Cosmetic-04

ในส่วนของ เครื่องสำอาง จะมีความสามารถใช้ เพื่อให้เกิดความสวยงามเท่านั้น กลไกการทำงาน การบำรุงจะเห็นผลได้ช้ากว่าเวชสำอาง ไม่สามารถซึมผ่านผิวหนังชั้นนอก เพื่อบำรุงลึกถึงผิวชั้นในได้ และไม่สามารถให้ผลลัพธ์ใด ๆ แก่ผิวในระยะยาวได้

  • เวชสำอางที่จัดเป็นเครื่องสำอาง เช่น
  • ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ป้องกันฟันผุ
  • ผลิตภัณฑ์ป้องกันอันตรายจากแสงแดด
  • ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย (Antiperspirant)
  • ผลิตภัณฑ์ขจัดรังแค
  • เวชสำอางที่จัดเป็นยา เช่น
  • ผลิตภัณฑ์แก้คัน แก้ผื่นแพ้ และแก้ผิวหนังอักเสบ
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Corticosteroid และ Antibiotics
  • ผลิตภัณฑ์สำหรับสิว ที่มีส่วนผสมของ Antibiotics, Retinoic Acid, Benzoyl Peroxide
  • ผลิตภัณฑ์สำหรับฝ้า ที่มีส่วนผสมของ Hydroquinone, Azelaic Acid
  • ผลิตภัณฑ์ มีส่วนผสมของ Antibacterial Agent แก้เหงือกบวม เลือดออกตามไรฟัน
  • ผลิตภัณฑ์ปลูกผม มีส่วนผสมของ Minoxidil แก้ผมร่วง สร้างเส้นผมใหม่
  • ผลิตภัณฑ์เสริมทรวงอก
  • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ฉีดเข้าสู่ร่างกาย (Injectable Form) แม้ไม่ได้แสดงสรรพคุณทางยา แต่จะต้องจัดเป็นยา เช่น Botox Cosmetic เป็นต้น

วิธีเลือกซื้อเวชสำอางและเครื่องสำอางให้เหมาะกับผิว

การเลือกซื้อเครื่องสำอาง และเวชสำอาง สามารถหาซื้อได้ไม่ยากตามท้องตลาด อต่จำเป็นต้องตรวจสอบ พิจารณาให้ถี่ถ้วนทุกครั้งก่อนการซื้อ เพื่อความปลอดภัยหลังใช้ สามารถทำได้ ดังนี้

  • เลือกเครื่องสำอางหรือเวชสำอาง ที่มีความปลอดภัย ได้รับการรับรองคุณภาพ และมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.
  • พิจารณาส่วนผสมสำคัญ หากพบว่ามีส่วนผสมที่เป็นอันตราย ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะในเวชสำอาง เครื่องสำอางควบคุม และเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ
Cosmeceutical-and-Cosmetic-05

เวชสำอางใช้แล้วเกิดอาการแพ้น้อยกว่าเครื่องสำอางจริงหรือ?

เป็นคำถามที่เป็นข้อข้องใจของใครหลายคนแน่นอนว่า ใช้เวชสำอางจะแพ้น้อยกว่าใช้เครื่องสำอาง บอกเลยว่า ไม่จริง อาการแพ้ขึ้นอยู่กับผิวตามส่วนบุคคล เพราะเวชสำอางและเครื่องสำอาง สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้เหมือนกันต่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นจะผ่านการทดสอบในคนที่ผิวแพ้ง่าย ก็ไม่ได้การันตีได้ว่า ใช้แล้วจะไม่แพ้

วิธีทดสอบว่า ผิวมีอาการแพ้ไหม ทำได้โดยทาผลิตภัณฑ์นั้น ลงที่ท้องแขน หรือหลังหู อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนใช้ ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ผื่นแดง สิวผดขึ้น ถือว่าเป็นอาการแพ้นั่นเอง

ดังนั้น ควรเลือกใช้เวชสำอางอย่างระมัดระวัง เช่น ดูส่วนผสม และมาตรฐานรับรอง (อย.) เน้นเลือกใช้สารสกัดจากธรรมชาติ อย่าหงเชื่อคำชักชวนที่เกินจริง เพราะอาจเกิดผลเสียตามมาในระยะยาวได้ ก่อนเลือกซื้อเวชสำอาง ควรตรวจสอบให้ดีก่อนใช้ด้วยทุกครั้ง

จะเห็นได้ว่าเวชสำอางและเครื่องสำอางนั้น ก็มีหลากหลายแบรนด์ให้เลือกและมีสรรพคุณเด่น ๆ ไม่แพ้กัน สิ่งสำคัญคือ ต้องเลือกให้ถูกกับสภาพผิวตัวเอง รู้จักว่าผิวตัวเองเป็นอย่างไรไง ต้องดูแลแบบไหนถึงจะดี เพราะไม่อย่างงั้นถึงจะใช้เครื่องสำอางดี ๆ เวชสำอางแพง ๆ ไปก็ไม่ได้ช่วยให้ผิวหน้าของเราดีขึ้นแน่นอน หวังว่าบทความนี้จะทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจคำว่า เวชสำอาง กันมากขึ้น หลังจากนี้คงง่ายต่อการตัดสินใจเลือกซื้อกันได้อย่างง่ายดาย

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

SGE CHEM ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรง พร้อมออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร การันตีคุณภาพสินค้า พร้อมส่งต่อสินค้าที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เข้าชมเว็บไซต์ sgechem.com