ในกลุ่มบรรดา อาหารเสริมแคลเซียม ที่มีอยู่มากมาย ในท้องตลาด ณ ปัจจุบัน เราจะเลือกได้อย่างไรว่า “แคลเซียมตัวไหนดี” ?

บทความนี้ เราจะมาอธิบายให้ฟัง เกี่ยวกับ ปัจจัย ที่เราควรทราบ ก่อนเลือกซื้อ หรือ ทาน แคลเซียม เป็นอาหารเสริม.

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ มีความเห็นตรงกันว่า การมีสุขภาพดีนั้น เริ่มต้นจากการทานอาหารที่ดี มีประโยชน์
แต่เมื่อพูดถึง ปริมาณแคลเซียม ที่ร่างกายของเรา ต้องการต่อวัน สำหรับผู้อ่านบางท่าน การได้รับแคลเซียมจากอาหารปกติ
อย่างเดียวนั้น อาจจะ ไม่เพียงพอ

สำหรับ ผู้ใหญ่ ปริมาณ แคลเซียม ที่ร่างกาย ควรได้รับต่อวัน คือ 1000 มิลลิกรัม (mg) ซึ่งปริมาณความต้องการแคลเซียมนี้
จะเพิ่มขึ้น เป็น 1200 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับ ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 และ ผู้ชายมากกว่า 70 ปี

ก่อนจะไปถึงการเลือกว่า แคลเซียมตัวไหนดี เพราะถ้า เรามองดูใน ซุปเปอร์ ห้าง หรือ ร้านขายยา
ที่มีมากมายให้เลือก ทั้งแบบ เม็ดยา เม็ดแคปซูล แบบน้ำ แบบเยลลี่ แบบเม็ดฟู่ ทาง Dr. Aum และ SGE Chem ได้สรุปบทความ หลักการ
เลือกอาหารเสริม แคลเซียม มาให้เเล้ว

1. ประเภทของแคลเซียม

แคลเซียม มักจะพบในรูปแบบ สารประกอบ เช่น แคลเซียม คาร์บอเนต(calcium carbonate), แคลเซียม ซิเทรต (calcium citrate) หรือ แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (calcium l-threonate)

แคลเซียม คาร์บอเนต(calcium carbonate) เป็น แคลเซียม พื้นฐาน มีราคาถูกที่สุด มีปริมาณแคลเซียมต่อน้ำหนักสูงถึง 41% แต่ ข้อเสีย คือ ต้องการ น้ำย่อย เพื่อกระตุ้นให้มันทำงาน หากเรารับประทาน ระหว่างวัน จะไม่ค่อยได้ผล
แต่ในบางคน อาจจะพบผลข้างเคียงเช่น ท้องอืด แน่นท้อง ซึ่งเป็นปกติ ของแคลเซียมชนิดนี้.

 

แคลเซียม ซิเทรต (calcium citrate) เป็นแคลเซียมที่ถูกพัฒนา ให้ดีขึ้นจาก แคลเซียม คาร์บอเนต ให้มีการดูดซึมที่ง่ายขึ้น สามารถทานตอนท้องว่างได้ แต่ข้อเสียคือ มีแคลเซียมเพียง 21% ของน้ำหนัก ทำให้ต้องทานมากขึ้น แต่การดูดซึมดีกว่า แคลเซียม คาร์บอเนต มาก มีราคาปานกลาง

 

แบบสุดท้ายคือ แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต(Calcium L-threonate) เป็นแคลเซียม ที่พัฒนา ให้ดีขึ้นมากจากเดิม ในแง่ของการดูดซึม เพราะมีการดูดซึมถึง 90% แม้ว่า ร้อยละแคลเซียมต่อน้ำหนักจะมีเพียง 10% มีราคาสูง สามารถทานตอนท้องว่างได้

 

2. ปริมาณ แคลเซียม ต่อหน่วย

ปริมาณ แคลเซียม ต่อหน่วยบริโภค จะถูกเขียนกำกับไว้บนฉลาก โดยอาจจะมีการเทียบเป็น เปอร์เซ็นต์ต่อวัน (%RDI)
หลายคน อาจจะคิดว่า ยิ่งแคลเซียมต่อหน่วยมาก จะยิ่งดี แต่ข้อเท็จจริงคือ ร่างกายของมนุษย์ มีการดูดซึม สารอาหารได้จำกัด
การทานอาหาร ทีเดียวครั้งละมากๆ ร่างกาย จะรับเข้ามาได้เพียงส่วนนึงเท่านั้น ส่วนที่เหลือ จะถูกขับออกจากร่างกาย

โดยตัวเลขงานวิจัยระบุว่า ร่างกายจะรับ แคลเซียม ได้ไม่เกิน 500 mg ต่อครั้งเท่านั้น
ดังนั้น การทานแคลเซียม ครั้งละ 1000 mg จึง สรุปได้ง่ายๆ ว่า เปลือง.

บทสรุป

  • อย่าทานอาหารแปลกๆ ที่มีโฆษณา ชวนเชื่อ ว่า เป็นอาหารเสริม แคลเซียม เช่น เปลือกหอยบางชนิด กระดูกสัตว์แปลกๆ ประการัง เพราะนอกจาก มันจะมีแคลเซียม ในรูปแบบที่ร่างกายดูดซึมไม่ได้เเล้ว มันยังอาจจะมี แร่ธาตุที่เป็นพิษต่อร่างกายอื่นๆ เช่น แมงกานีส ตะกั๋ว หรือ ปรอท อีกด้วย
  • อย่า ทาน แคลเซียม เสริม อาหาร เกินปริมาณ ที่ฉลาก หรือ อย. กำหนด การได้รับสารอาหารมากเกินไป ก็เป็นเรื่องไม่ดี เพราะ ร่างกายอาจจะได้รับโทษ แทน การได้รับประโยชน์จากสารอาหารนั้นๆ
  • ถ้าคุณ รับประทานอาหารเสริม สังกะสี (Zinc) หรือ ทานยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม tetracycline/ levothyroxine ให้ทิ้งระยะเวลา สัก 3-4 ชั่วโมง ก่อน รับประทานเเคลเซียม เนื่องจาก สารทั้งสอง อาจจะทำปฏิกิริยา ภายในร่างกาย ทำให้เกิดอาการไม่พึ่งประสงค์ได้
  • ควรรับประทาน วิตามินดี ร่วมด้วย หรือ ตากแดด (การตากแดด คือ วิธีธรรมชาติ ที่ทำให้ร่างกายได้รับ วิตามินดี).

อ้างอิง: Harvard Heart Letter
===================================================================================================================================

สนับสนุน บทความ ทรงคุณค่า จาก Dr. Aum & SGE Chem
ผลิตภัณฑ์ Calcium L-threonate ผสม วิตามินดี จำนวน 30 แคปซูล ในราคาประหยัด

Dr.Aum Calcium

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ จาก Dr. Aum & SGE Chem