หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า แอสตาแซนทิน (Astaxanthin) ขึ้นชื่อว่าเป็นราชินีแห่งสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยดูแลสุขภาพผิวพรรณ เป็นหนึ่งในสารประเภทแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ในธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดสีแดงหรือสีชมพูในพืชหรือสัตว์ ซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยป้องกันการทำลายเซลล์และกระบวนการออกซิเดชั่นที่มีผลทำให้เกิดริ้วรอยและการเสื่อมของเซลล์ก่อนวัยอันควร จึงเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายที่นำมาใช้เป็นอาหารเสริมในการดูแลสุขภาพของดวงตาและหัวใจ ลดการอักเสบทั่วร่างกาย และช่วยในเรื่องของผิวพรรณในปัจจุบันนั่นเอง SGE CHEM ขอพาทุกคนไปรู้จักกับแอสตาแซนทินกันให้มากขึ้น ตามไปดูเลย . . .
แอสตาแซนทินคืออะไร?
จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ได้จากแหล่งอาหารที่มีสีแดง เช่น เนื้อปลาแซลมอน, กุ้ง, เปลือกปู, เปลือกกุ้งมังกร พบมากสุด ในสาหร่ายสีแดง สายพันธุ์ ฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส (Heamatococcus Pluvialis) แอสตาแซนทินมีลักษณะเป็นสารสีแดงที่ละลายได้ดีในไขมัน และด้วยสูตรโครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษ จึงมีความสามารถในการปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ทั้งภายในและภายนอกได้ทุกส่วนทั่วร่างกาย จึงมีคุณลักษณะที่เหนือกว่าสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่น ๆ
ตัวอย่างปริมาณแอสตาแซนทินในอาหารบางชนิด
ประเภท | ปริมาณ (part per million) |
---|---|
เคย | 20 PPM |
กุ้ง | 1,200 PPM |
ยีสต์ (Phaffia Yeast) | 10,000 PPM |
สาหร่าย ฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิส | 40,000 PPM |
รู้ไหม? หลายคนเรียก แอสตาแซนทินเป็น “Nature’s Most Powerful Antioxidant” ที่สุดของสารต้านอนุมูลอิสระนั่นเอง
สารอนุมูลอิสระ คืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร?
อนุมูลอิสระ จะถูกสร้างขึ้นโดยร่างกายของเรา ซึ่งเกิดจากกระบวนการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานให้กับร่างกายของเรา การหายใจเข้าในร่างกาย ออกซิเจนก็จะถูกเปลี่ยนเป็นอนุมูลอิสระเช่นกัน แต่ถ้าหากร่างกายมีการสร้างสารอนุมูลอิสระที่มากเกินไป จนขาดความสมดุล อนุมูลอิสระเหล่านั้นจะกลับมาทำร้ายเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายเราได้ จนนำไปสู่โรคต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้นจากสภาพแวดล้อมที่พบเจอ เช่น มลพิษในอากาศ, ฝุ่นละออง, ควันบุหรี่, ไอเสียรถยนต์, โรงงานอุตสาหกรรม, รังสียูวีในแสงแดด ตลอดจนอาหารปิ้งย่างรวมถึงความเครียดจากการทำงาน สิ่งเหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น และส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพได้
ดังนั้น สาเหตุของริ้วรอยก่อนวัย จึงหนีไม่พ้นจากผลของอนุมูลอิสระที่มีมากเกินไป ปัจจุบันศาตร์ ทางการแพทย์ จึงให้ความสำคัญกับการชะลอวัย (Anti-Aging ) ด้วยสารต้านอนุมุลอิสระ (Anti-oxidant) ที่มีคุณสมบัติคือจับอนุมูลอิสระทำให้อนุมูลอิสระคงตัว ไม่ไปทำลายเซลล์ในร่างกาย ระดับการถูกทำลายจะช้าลง ซึ่งก็เป็นการชะลอความชราอีกวิธีหนึ่ง โดยร่างกายสามารถผลิตสารต้านอนุมูลอิสระได้หลายชนิด แต่เพราะความเสื่อมซึ่งเกิดขึ้นตามวัย การผลิตสารต้านอนุมูลอิสระดังกล่าวจะลดน้อยลง ประกอบกับเผชิญอนุมูลอิสระจากภายนอกอีกหลายทิศทางนั้น เราจึงควรทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อปกป้องความเสื่อมต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง
► การทำงานของแอสตาแซนทิน
- ต่อต้านริ้วรอยที่จะสร้างคอลลาเจนและอีลาสติ เพื่อต่อต้านริ้วรอยและความขรุขระ
- โรคมะเร็ง สารต้านอนุมูลอิสระซึ่งคุณสมบัติในการป้องกันการเสื่อม โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือด
► ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้แอสตาแซนทิน
- สำหรับผิว : ลดเลือนริ้วรอย สร้างความชุ่มชื้นให้กับผิว ช่วยให้สุขภาพผิวที่ดีขึ้น
- สำหรับสุขภาพ : มีต่อสุขภาพที่ดี
► ใครที่เหมาะสมกับการใช้แอสตาแซนทิน
- คนที่ริ้วรอยความกังวลหรือความงามของผิว
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพดี
แอสตาแซนทินและประโยชน์ในด้านอื่น ๆ
1. ด้านสายตา
มีการศึกษาอย่างมากมายพบว่า การรับประทานแอสตาแซนทินเป็นระยะเวลานาน 4 สัปดาห์ ช่วยป้องกันตาแห้ง ตาอ่อนล้า ลดอาการเจ็บตา ช่วยปัญหาด้านการมองเห็น เช่น อาการมองไม่ชัด นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังดวงตาอีกด้วย ทำให้ดวงตามีสุขภาพที่ดี
2. ด้านความจำ
ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้นมักมาคู่กับการเกิดปัญหาด้านความจำ เกิดอาการหลงลืมได้ ดังนั้นในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก ได้มีการศึกษาประโยชน์ในด้านความจำ หลังจากการรับประทานแอสตาแซนทินโดยผลการศึกษาพบว่า การรับประทานแอสตาแซนทินขนาด 6-12 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลานาน 3 เดือน ช่วยเพิ่มการจดจำ และอาการหลงลืมของผู้ป่วยได้
3. ด้านความเจ็บปวด บริเวณข้อและกล้ามเนื้อ
การประทานแอสตาแซนทินขนาด 4-12 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลานาน 2-3 สัปดาห์ สามารถลดความเจ็บปวดบริเวณข้อเข่าและกล้ามเนื้อได้ นอกจากนี้มีการใช้แอสตาแซนทินขนาด 12 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์มีอาการที่ดีขึ้น ลดอาการปวดต่าง ๆ ได้ รวมทั้งไม่เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เมื่อต้องรับประทานร่วมกับยาแก้ปวดที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำ
4. ด้านหัวใจ
แอสตาแซนทินช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ไตรกลีเซอไรด์และคลอเรสเตอรอล ซึ่งเป็นไขมันที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจตามมาในกรณีที่มีปริมาณสูง และนอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทานแอสตาแซนทินขนาด 6-18 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลานาน 12 สัปดาห์ ยังสามารถช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันได้อีกด้วย
วิธีการใช้แอสตาแซนทิน
ไม่มีคำแนะนำสำหรับปริมาณของแอสตาแซนธินที่ควรได้รับในแต่ละวัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามค่าเฉลี่ยที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้แอสตาแซนทินคือ 2 ถึง 4 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อที่จะได้ประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อาจเกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป ควรพิจารณาก่อนรับประทาน
แอสตาแซนธินสามารถละลายได้ในไขมัน เพื่อเพิ่มการดูดซึมที่ดีที่สุด คือการรับประทานอาหารที่มีไขมันดีต่อสุขภาพ เช่น อาโวคาโด ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง และมะพร้าว
ความปลอดภัย ไม่มีรายงานผลข้างเคียงที่สำคัญของแอสตาแซนทินในการศึกษาทางการแพทย์ของมนุษย์จนถึงปัจจุบันนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้แอสตาแซนทินในปริมาณที่สูงถึง 50 มิลลิกรัมหรือมากกว่านี้ อาจเป็นสาเหตุของการทำให้สีผิวของเราออกสีส้มได้
แอสตาแซนทินไม่ได้มีประโยชน์แค่เรื่องผิวพรรณเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์กับร่างกายเราทั้งภายนอกและภายในแทบจะทุกส่วนเลยทีเดียว ภายได้ชื่อราชินีแห่งสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประโยชน์มากมายมหาศาล เมื่อรู้ถึงคุณประโยชน์แล้ว อย่าลืมเลือกซื้อมารับประทานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับตัวเองและคนรอบข้างที่เรารักกันด้วยนะจ๊ะ
Leave A Comment