ผลิตอาหารเสริม อย่างไร ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถวางขายในท้องตลาดได้ ตั้งแต่คิดสูตร ยันวางขาย SGECHEM จะมาเล่าให้ฟัง เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ผลิตหรือผู้ประกอบที่สนใจ และต้องการประสบความสำเร็จในธุรกิจอาหารเสริม

กำหนดกลุ่มอาหารเสริมที่ต้องการผลิต

อาหารเสริม

เพราะอาหารเสริม มีหลากหลายกลุ่มมาก ๆ ตั้งแต่เพื่อลดน้ำหนัก บำรุงร่างกาย เสริมกล้ามเนื้อ ไปจนถึงเสริมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการจึงควรกำหนดให้ได้ก่อนว่า ต้องการ ผลิตอาหารเสริม ในกลุ่มไหน โดยอาจพิจารณาจากยอดขายของอาหารเสริมกลุ่มต่าง ๆ ว่า ประเภทไหนขายดีสุด มีความต้องการทางตลาด คู่แข่ง เยอะหรือไม่ และ มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากพอ ที่จะเข้าไปแข่งขันเพื่อสร้างยอดขายหรือเปล่า เพื่อให้เมื่อผลิตออกมาแล้ว จะสามารถขายได้ และมีโอกาสสูงที่จะประสบความสำเร็จ

คิดสูตรและพัฒนาสูตรอาหารเสริม

เมื่อรู้ว่าจะ ผลิตอาหารเสริม อะไรแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการคิดสูตรและพัฒนาสูตรอาหารเสริม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีคุณภาพ โดยอาจค้นหาสูตรผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีอยู่แล้ว ในโรงงานรับผลิตอาหารเสริมแบบ OEM ต่าง ๆ ที่ถูกใจก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้ได้สูตรพื้นฐานมาก่อน จากนั้น จึงลองปรึกษากับทีมงานของทางโรงงานว่า ต้องการพัฒนาหรือเพิ่มส่วนผสมอะไรบ้าง เพื่อให้อาหารเสริมของคุณมีจุดเด่น แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีอยู่ทั่วไปในท้องตลาด

เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามิน C หากทั่วไปเป็นแบบละลายน้ำ ก็อาจปรับเปลี่ยนเป็น วิตามิน C ที่สามารถละลายได้ในไขมันเช่น Vitamin C Ester, L-Ascorbyl Palmitate, Ascorbyl Palmitate แทน เพื่อให้ผู้บริโภคทานแล้ว สามารถได้รับวิตามิน C มากกว่าเดิม หรือ หากเป็นอาหารเสริมแคลเซียม ก็อาจเพิ่มส่วนผสมของวิตามิน D เข้าไป เพื่อช่วยปรับสภาพความกรด-ด่างในกระเพาะอาหาร ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดีมากขึ้น เป็นต้น

ทดสอบผลิตภัณฑ์ก่อนวางจำหน่าย

ผลิตอาหารเสริม

เมื่อคิดค้นสูตร จนได้ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างมาแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องทดสอบกับกลุ่มทดลองก่อน เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพ ความพึงพอใจ และความปลอดภัยในการบริโภค ซึ่งถ้าจะให้ดีแล้ว ควรมีผลงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับด้วย เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้เป็นเอกสารประกอบยื่นจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ได้รับการอนุมัติง่ายขึ้น

ตั้งชื่อแบรนด์ของอาหารเสริมให้เหมาะสม

เพื่อให้อาหารเสริมของคุณ สามารถยื่นจดทะเบียน ผ่าน อย. ได้ ควรตั้งชื่อแบรนด์ของอาหารเสริม ให้ถูกต้องตามหลักการที่ อย. กำหนดด้วย คือ ต้องไม่มีคำใด ที่สื่อถึงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นคำภาษาต่างประเทศที่แปลให้มีความหมายได้ คำพ้องเสียง หรือ คำที่ถูกลดเสียง ทอนเสียง ซึ่งอาจทำให้เข้าใจได้ว่าพูดถึงสรรพคุณของอาหารเสริม ตัวอย่างเช่น Bianco ภาษาอิตาลี แปลเป็นไทยไม่มีความหาย แต่ในภาษาอังกฤษแปลว่า White (คำภาษาต่างประเทศ)  Slin พ้องเสียงกับคำว่า Slim (คำพ้องเสียง) Vac C คล้องกับ Vaccine (ลดเสียง-ทอนเสียง)

การตั้งชื่อแบรนด์ให้ถูกใจ อย. จึงควรตั้งชื่อแบรนด์ที่แปลโดย Dictionary แล้วไม่มีความหมาย หรือถ้ามีความหมายได้ ก็ต้องไม่สื่อถึงสรรพคุณของอาหารเสริมนั้น ๆ โดยอาจจะใช้ชื่อบุคคล หรือ ชื่อ บริษัทของตนเอง มาใช้ก็ได้ ตัวอย่างเช่น TATINA , Mokonia , Valensia หรือ Jessie Mum

ในส่วนของสรรพคุณของอาหารเสริมก็เช่นกัน ต้องระมัดระวังในการใช้คำให้ดี เพราะอาจเข้าข่ายอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ผิดกฎหมายตามที่ อย. กำหนดได้ นอกจากนี้ ก็ควรใส่รายละเอียดต่าง ๆ  ที่อย. กำหนดด้วย เช่น วิธีใช้ ส่วนประกอบ ขนาดบรรจุ เลขที่ใบรับแจ้ง วันหมดอายุ คำเตือน เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ไม่ทำการทำลองกับสัตว์ เป็นต้น

ออกแบบบรรจุภัณฑ์

อาหารเสริม

เมื่อคิดสูตร ทดสอบ จนได้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพร้อมวางจำหน่ายแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ  โดยอาจดูจากผลิตภัณฑ์เดิมที่มีในท้องตลาดว่า เขานิยมใช้บรรจุภัณฑ์แบบไหน ก็อาจใช้ตามนั้นไปเลย เช่น อาหารเสริมชนิดแคปซูล นิยมใส่ในขวด อาหารเสริมแบบเม็ดฟู่ ใส่ในกระบอกขนาดเล็ก ฯลฯ

ที่สำคัญคือ การออกแบบแบนเนอร์ ฉลาก หรือกล่องของผลิตภัณฑ์นั้น อาร์ตเวิร์ก ฟ้อนท์ หรือโลโก้ ที่ใช้จะต้องมีความสวยงาม น่าดึงดูดและน่าสนใจ ถึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของเรานั้น มีมูลค่า โดยในส่วนของอาร์ตเวิร์ก อาจนำภาพของวัตถุดิบ ที่มีส่วนผสมอยู่ในอาหารเสริมนั้น ๆ มาเป็นองค์ประกอบ เช่น วิตามิน C ก็อาจใส่ส้ม ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มาประกอบ ถ้าเป็นอาหารเสริมแคลเซียม ก็อาจใส่ภาพของอาหารที่ให้แคลเซียมสูงอย่าง นมสด หรือ ถั่ว ลงไป

ส่วนฟ้อนท์ที่ใช้นั้น ในส่วนของชื่อแบรนด์ โลโก้ผลิตภัณฑ์ ควรจะออกแบบโดยคำนึงถึงอัตลักษณ์ของแบรนด์ ว่ามีตัวตน ภาพลักษณ์และมูลค่าในระดับไหน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของกลุ่มลูกค้าที่แบรนด์ต้องการ รวมถึงสะท้อนนิสัยและบุคลิกภาพของเจ้าของแบรนด์เองด้วย ซึ่งหากอยากให้สวยแบบมืออาชีพ ควรจ้างผู้เชี่ยวชาญเช่น Product Design มาช่วยในการออกแบบ ก็จะทำให้ได้บรรจุภัณฑ์โดยรวมที่สวยงามมากยิ่งขึ้น

ยื่นจดทะเบียนกับ อย.

เมื่อได้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เสร็จสมบูรณ์ ก็ถึงเวลายื่นจดทะเบียนกับ อย. เพื่อให้สามารถจัดจำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยการเตรียมเอกสารตามที่อย. กำหนด ไม่ว่าจะเป็นสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนร้าน แผนที่ตั้งร้านบริษัท ฯลฯ พร้อมผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง 2 ชุด ที่มีฉลากเรียบร้อย ยื่นให้กับทาง อย. ตรวจสอบ หากอาหารเสริมของคุณผ่านเกณฑ์ ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถวางขายอาหารเสริมได้อย่างสบายหายห่วงแล้ว

เป็นยังไงกันบ้างกับขั้นตอนการ ผลิตอาหารเสริม ตั้งแต่เริ่มคิดสูตร ยันวางขาย ดูไม่ง่ายเลยใช่มั้ยล่ะ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะขอเพียงคุณรู้ว่า ต้องการผลิตอาหารเสริมกลุ่มไหน และมีโรงงาน OEM ที่มีบริการ one stop service พร้อมดูแลคุณตั้งแต่การคิดค้นสูตร พัฒนาสูตร ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงพาไปจดทะเบียนกับ ทาง อย. เพียงเท่านี้ คุณก็จะสามารถเป็นเจ้าของอาหารเสริมได้แบบง่าย ๆ พร้อมประสบความสำเร็จในธุรกิจอาหารเสริมได้เพียงแค่ปลายนิ้วแล้ว

หากใครสนใจอยากมีแบรนด์อาหารเสริมเป็นของตัวเอง พร้อมกับสามารถจดทะเบียนกับ อย. ได้ผ่านฉลุยแล้วละก็ สามารถปรึกษา SGECHEM เพราะเราเป็นโรงงาน OEM รับผลิตอาหารเสริม ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการออกแบบ สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ และมีบริการจดทะเบียน อย. ให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคุณถูกต้องตามกฏหมาย สามารถวางขายแข่งขันทางการตลาดได้อย่างสบายหายห่วง หากสนใจสามารถติดต่อทางโทรศัพท์ หรือ Line ของเราได้เลย