เรียบเรียงโดย ด็อกเตอร์อั้ม (Dr. Aum)

“พาราเบน (Parabens)” ในเครื่องสำอาง อันตรายจริงหรือ?

❝ หลาย ๆ คนเคยรู้ไหมว่า สารเคมีใดบ้าง ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมความงามทั้งหลาย ซึ่งหนึ่งในสารอันตรายเหล่านั้น คือ พาราเบน (Paraben) หรือที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า สารกันเสีย นั่นเอง มักนำมาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ เช่น ครีม แชมพู สบู่ เป็นต้น และสารตัวนี้เป็นอันตรายต่อผิวหรือไม่อย่างไร? ❞

วันนี้ SGE CHEM จะพาไปไขข้อข้องใจ และทำความรู้จักกับ สารพาราเบน ว่าจะเป็นอันตรายต่อผิวพรรณของเราหรือไม่นะ! ตามไปหาคำตอบกันเลย

รู้จัก พาราเบน

พาราเบน(Paraben) คือ สารที่รู้จักกันในชื่อ สารกันเสีย หรือ สารกันบูด เป็นส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เครื่องสำอาง หรือของใช้ต่าง ๆ เช่น ครีมทาผิว, สบู่, แชมพู, โรออน เป็นต้น เพื่อให้สินค้าเครื่องสำอาง อยู่ได้นานหลายเดือน หรือหลายปี และมีราคาถูกด้วย จึงทำให้นิยมใช้ในเครื่องสำอางอย่างแพร่หลายนั่นเอง

What-is-Paraben-02

นอกจากนี้ Paraben มีส่วนช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย และเชื้อราได้ดี ได้รับการยอมรับว่า ปลอดภัยที่จะผสมในผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเครื่องดื่มอีกด้วย

พาราเบนที่ใช้ในเครื่องสำอาง มีอะไรบ้าง?

ปัจจุบันพาราเบนที่ถูกนำมาใช้ในเครื่องสำอางที่นิยมมากที่สุด คือ เมทิลพาราเบน (Methylparaben), เอทิลพาราเบน (Ethylparaben), บูทิลพาราเบน (Butylparaben) และ โพรพิลพาราเบน (Propylparaben) โดยจะนำมาใช้ร่วมกันหลายชนิดใน 1 ผลิตภัณฑ์ เพื่อยับยั้งจุลินทรีย์ได้หลายหลากกลุ่ม เเละสารกันเสียเหล่านี้ สามารถนำมาใส่ในเครื่องสำอางได้ในอัตราส่วนที่กำหนดไว้ เช่น

  • ในสหภาพยุโรป อนุญาตให้ใช้สารพาราเบนในเครื่องสําอางได้ โดยมีเงื่อนไขให้เลือกสาร 1 ชนิด ใส่เป็นสารกันเสียได้ ในอัตราส่วนไม่เกินเกิน 0.4%
  • หากใช้หลาย ๆ ชนิดร่วมกัน ให้ใช้ในอัตราส่วนสูงสุดไม่เกิน 0.8% เป็นต้น
  • ในประเทศไทยต้องใช้พาราเบนในปริมาณที่กำหนดเท่านั้น คือ ไม่เกิน 0.25%
What-is-Paraben-03

ชนิดของพาราเบนอื่น ๆ เช่น

  • ไอโซโพรพิลพาราเบน (Isopropylparaben)
  • ไอโซบิวทิลพาราเบน (Isobutylparaben)
  • เบนซิล พาราไฮดรอกซีเบนโซเอท (Benzyl-parahydroxybenzoate)
  • เมทิล พาราไฮดรอกซีเบนโซเอท (Methyl-parahydroxybenzoate)
  • เอทิล พาราไฮดรอกซีเบนโซเอท (Ethyl-parahydroxybenzoate)
  • โพรพิล พาราไฮดรอกซีเบนโซเอท (Propyl-parahydroxybenzoate)
  • บิวทิล พาราไฮดรอกซีเบนโซเอท (Butyl-parahydroxybenzoate)
  • พาราไฮดรอกซีเบนโซเอท (Parahydroxybenzoate)

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีพาราเบนเป็นส่วนผสม

โดยพาราเบน มักใช้เป็น สารกันเสีย ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นสารเคมีราคาถูก ถูกใช้ในเครื่องสำอางต่าง ๆ เพื่อลดต้นทุนในการผลิตจากการยืดอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพาราเบน สามารถเก็บได้มากกว่า 2 ปี และยังถูกใช้ในอาหารแปรรูปต่าง ๆ ดังนี้

  • เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เช่น รองพื้น บีบีครีม ลิปสติก ครีมกันแดด โลชั่นทาผิว สบู่ แชมพู ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม และระงับกลิ่นกาย ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก
  • อาหาร เช่น เนื้อสัตว์ นม ผักผลไม้ และแป้ง รวมทั้งเนื้อแปรรูป ผักดอง แยม และซอสปรุงอาหารต่าง ๆ
  • เครื่องดื่ม เช่น กาแฟกระป๋อง น้ำผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ยาและเวชภัณฑ์ เช่น ยาแก้ปวด ยารักษาสิว ยาเหน็บ น้ำยาล้างตา และถุงยางอนามัย
พาราเบนParaben-04

สารพาราเบน อันตรายต่อผิวหนังจริงหรือ?

หลาย ๆ คนเกิดความกังวล และสงสัยว่า ถ้าใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพาราเบนอยู่เป็นประจำ จะเกิดอะไรขึ้นกับสุขภาพผิว และร่างกายของเราบ้าง ต้องบอกก่อนว่า สารพาราเบนที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอาง หรือแชมพูทั้งหลายนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ Methylparaben, Propylparaben และ Butyparaben ในปริมาณที่เล็กน้อยเท่านั้น และยังผสมกับสารเคมีอื่น ๆ เพื่อช่วยกันยับยั้งจุลินทรีย์หลาย ๆ กลุ่มพร้อมกันนั่นเอง

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมความงามในประเทศไทยผสมพาราเบนในเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำมาก คือ ไม่เกิน 0.25% จึงไม่มีก่อให้เกิดผลข้างเคียง หรือเป็นอันตรายต่อผิวพรรณอย่างแน่นอน ซึ่งตามกฎหมายไทยแล้วอนุญาติให้ใช้สารตัวนี้ให้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้

นอกจากนี้ สำนักงาน อย. ทั่วโลก ยังคุ้มครองและอนุญาตให้ใช้สารพาราเบนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่ อย. อนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนเท่านั้น

อันตรายที่เกิดจากพาราเบน

ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายที่เกิดจากพาราเบน ส่วนใหญ่ คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับระบบต่อมไร้ท่อในร่างกาย หากระบบต่อมไร้ท่อถูกขัดขวางการทำงาน การเผาผลาญอาหารจะถูกรบกวน และอาจก่อให้เกิดอันตราย ดังนี้

  • สร้างความไม่สมดุลของฮอร์โมน สามารถทำลายประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
  • รบกวนระบบสืบพันธุ์ อาจมีภาวะมีบุตรยาก
  • โรคมะเร็งผิวหนัง
  • โรคมะเร็งเต้านม
  • โรคภูมิแพ้
  • ระบบการเผาผลาญอาหารผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานว่า พาราเบนก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมในสตรี และมีบางการศึกษารายงานว่า การใช้เครื่องสำอางประเภทที่ใช้บริเวณผิวหนัง เช่น สเปรย์ฉีดร่างกาย หรือยาระงับกลิ่นกายที่มีพาราเบน พบว่าพาราเบน ดูดซึมผ่านผิวหนังต่ำมาก และถูกเมแทบอไลส์ด้วยเซลล์ที่ผิวหนัง ได้สารที่ไม่มีฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน แม้ว่ายังมีรายงานที่ขัดแย้งกัน การใช้เครื่องสำอางที่มีพาราเบน ควรใช้อย่างระมัดระวัง เมื่อผู้ใช้เกิดผื่นแพ้ ควรหยุดการใช้เครื่องสำอางนั้น ๆ ทันที และสังเกตว่าผื่นค่อย ๆ หายไปหรือไม่ด้วย

พาราเบน-Paraben-05

ข้อควรระวังในการใช้พาราเบน

  • สารกลุ่มพาราเบน เป็นสารที่ค่อนข้างปลอดภัย และไม่พบการก่อให้เกิดพิษอันตราย หากใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพาราเบนไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
  • สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรือผู้ที่กำลังให้นมบุตร และผู้ที่มีอาการแพ้พาราเบน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีพาราเบน
  • สำหรับผู้ที่แพ้สารพาราเบน สามารถสังเกตฉลากของผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีพาราเบน จะระบุคำว่า “ไม่มีส่วนผสมของพาราเบน (Paraben Free)” หรือ “พาราเบน 0%” ไว้บนฉลาก
  • หากใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ แล้วเกิดอาการระคายเคือง ที่สงสัยว่าอาจเป็นอาการแพ้พาราเบน ควรไปพบแพทย์

เคล็ดลับเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวอย่างปลอดภัย

  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่เปิดเผยข้อมูลส่วนประกอบอย่างครบถ้วน และเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารพาราเบน ตรวจสอบว่าเครื่องสำอางแบบไหนที่คนท้อง และแม่ให้นมต้องหลีกเลี่ยง
  • เลือกให้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมมาจากธรรมชาติ เพื่อลดปริมาณสารเคมีที่อาจเข้ามาทำอันตรายต่อร่างกาย
  • ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ว่า ไม่มีสารเคมีอันตรายอื่น ๆ เช่น สารปรอท สารออกซิเบนโซน (Oxybenzone) ที่ใช้ในครีมกันแดด เรตินอล (Retinol) พทาเบท (Phthalates) ไตรคลอซาน (Triclosan) และอื่น ๆ
  • หากไม่แน่ใจเรื่องส่วนประกอบ ให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจสอบแต่ละผลิตภัณฑ์ก่อนใช้

เป็นอย่างไรกันบ้าง คงทำให้หลาย ๆ คนรู้จักกับพาราเบนกันมากขึ้นแล้ว สารพาราเบนนั้น ไม่ได้ทำลายผิวอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน เแต่ถ้าต้องการให้แน่ใจว่าปลอดภัยจริง ๆ แนะนำให้ลองหลีกเลี่ยงพาราเบน ดังนั้น เวลาเลือกเครื่องสำอางครั้งต่อไป จะได้พิจารณาได้ถูกว่าเครื่องสำอางนั้นปลอดภัยขนาดไหน และพาราเบนก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าหากได้รับการผลิตจากโรงงานที่มีมาตรฐานนั่นเอง หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงามโดยการสังเกตจากฉลากแล้วมองหาคำว่า “Paraben Free”  ก็มั่นใจและสบายใจกว่าแน่นอน

สำหรับใครที่ ต้องการปรึกษาเรื่องการผลิต การสร้างแบรนด์ทาง SGE CHEM ยินดีให้บริการ รับรองอุ่นใจและได้สินค้าที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามมาตรฐานแน่นอน

บทความดี ๆ น่าอ่าน: