รุ้จัก ไมโครพลาสติก คืออะไร? อันตรายหรือไม่?

รู้หรือไม่ว่า ไมโครพลาสติก มีหลายชนิดทั้งที่มีอันตรายน้อยไปถึงมาก มีต้นกำเนิดจากพลาสติกที่ผลิตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถุงพลาสติกใส่อาหารทั้งร้อน-เย็น ประกอบด้วยสารพอลิโพรพิลีน แม้แต่ในขวดน้ำดื่มประกอบด้วยสารพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต และฟิล์มห่ออาหาร ผลิตจากพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) แล้วมันคืออะไร? มีอันตรายไหม?

วันนี้ SGE CHEM จะพาไปทำความเข้าใจกับไมโครพลาสติกให้มากขึ้น ตามไปดูเลย

210211-Content-อันตรายของ-ไมโครพลาสติก-เป็นอย่างไร-edit02

ไมโครพลาสติกคือ อนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร มักเกิดจากการย่อยสลายหรือแตกหักของขยะพลาสติกขนาดใหญ่ หรือเกิดจากพลาสติกที่มีการสร้างให้มีขนาดเล็ก เพื่อให้เหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ส่วนใหญ่มีรูปร่างทรงกลม ทรงรี หรือบางครั้งมีรูปร่างไม่แน่นอน

ประเภทของไมโครพลาสติก

ไมโครพลาสติก สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. Primary microplastics

210211-Content-อันตรายของ-ไมโครพลาสติก-เป็นอย่างไร-edit03

เป็นพลาสติกที่ถูกผลิตให้มีขนาดเล็กมาตั้งแต่ต้น เพื่อการใช้ประโยชน์เฉพาะด้าน เช่น เม็ดพลาสติกที่นำมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นของการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก (Plastic Pellet) เม็ดพลาสติกที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า เครื่องสำอาง หรือยาสีฟัน Plastic Scrub ซึ่งมักเรียกกันว่า ไมโครบีดส์ (Microbeads) หรือเม็ดสครับ ไมโครพลาสติกประเภทนี้สามารถแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อมทางทะเลจากการทิ้งของเสียโดยตรงจากบ้านเรือนสู่แหล่งน้ำและไหลลงสู่ทะเล

2. Secondary Microplastics

210211-Content-อันตรายของ-ไมโครพลาสติก-เป็นอย่างไร-edit04

เป็นพลาสติกที่เกิดจากพลาสติกที่มีขนาดใหญ่ หรือ มาโครพลาสติก (Macroplastic) ซึ่งสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานเกิดการย่อยสลายหรือแตกหัก โดยกระบวนการย่อยสลายพลาสติกขนาดใหญ่ให้กลายเป็นพลาสติกขนาดเล็กนี้ สามารถเกิดได้ทั้งกระบวนการย่อยสลายทางกล (Mechanical Degradation) กระบวนการย่อยสลายทางเคมี (Chemical Degradation) กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ (Biological Degradation) และกระบวนการย่อยสลายด้วยแสงอาทิตย์ (UV degradation) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะทำให้สารแต่งเติมในพลาสติกหลุดออก ส่งผลให้โครงสร้างของพลาสติกเกิดการแตกตัวจนมีขนาดเล็ก กลายเป็นสารแขวนลอยปะปนอยู่ในแม่น้ำและทะเล


???? ไมโครพลาสติกมาจากไหนกัน?

จากที่เราทราบทั่วไปว่าไมโครพลาสติกนั้นมาจากขยะพลาสติกทั้งหลาย เช่น ขวดน้ำพลาสติก, ถุงร้อน, ฟิล์มห่ออาหาร เป็นต้น หากสิ่งเหล่านี้ถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าพลาสติกจะถูกแสงอาทิตย์และแตกสลายออกเป็นไมโครพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ นับพันชิ้น แต่รู้ไหมว่าพลาสติกแบบชีวภาพที่โฆษณาว่าสามารถย่อยสลายได้ก็ทำให้เกิดไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำเช่นกัน นอกจากนี้ไมโครพลาสติกยังสามารถมาจากแหล่งอื่น ๆ ได้แก่

???? บ้านเรือน เกิดจากการชำระล้างสิ่งต่าง ๆ ภายในบ้านเรือนด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากไมโครพลาสติก เช่น โพลิเอสเตอร์ (Polyester) คือ เส้นใยพลาสติกจากเสื้อผ้า หรือ ไมโครบีดส์ (Microbeads) ที่อยู่ในยาสีฟัน โฟมล้างหน้าบางชนิด   
???? การทำประมง มีการพบไมโครพลาสติกแตกต่างกันไปตามบริเวณที่ตรวจสอบสัตว์ทะเล ซึ่งในบริเวณที่มีการทำประมงเยอะมักพบโมโครพลาสติกไนลอนจากอวนชาวประมงเยอะกว่าบริเวณอื่น ๆ
???? ยางรถยนต์ ไมโครพลาสติกที่มีแหล่งที่มาจากบนบกส่วนใหญ่มาจากการเสียดสีของยางรถยนต์และพื้นถนน อาจทำให้ฟุ้งกระจายในอากาศได้


???? ไมโครพลาสติกที่มีผลกระทบต่อมนุษย์ 

แม้องค์การอนามัยโลก (WHO) จะประกาศว่าไมโครพลาสติกที่รับเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จะถูกขับออกผ่านการขับถ่ายได้ ปัจจุบันยังไม่พบอันตราย แต่ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม หากไมโครพลาสติกถูกขับออกไม่หมดและมีระดับที่เล็กลง ก็อาจจะมีการคาดการณ์ไว้ว่าไมโครพลาสติกอาจส่งผลต่อมนุษย์ได้หลายประการในระยะยาว เช่น

210211-Content-อันตรายของ-ไมโครพลาสติก-เป็นอย่างไร-edit05

 

???? รบกวนฮอร์โมนในร่างกาย ไมโครพลาสติกมีสารที่เรียกว่า Bisphenol A (ฺBPA) เป็นส่วนประกอบของพลาสติก BPA อาจเข้าไปรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ มีผลกระทบกับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่คอยควบคุมการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ และ BPA ยังอาจมีส่วนทำให้ฮอร์โมนเพศชายมีการเปลี่ยนแปลงได้ มีผลกระทบถึงการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชาย
???? เด็กมีพัฒนาการลดลง สาร BPA มีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ทำให้ความจำและระบบประสาทลดลง
???? ขัดขวางการทำงานของเส้นเลือด เนื่องจากหลายคนอาจรับเอาไมโครพลาสติกเข้าไปมากกว่า 1 หมื่นชิ้นต่อปี จากการกินอาหารทะเลและดื่มน้ำจากขวดพลาสติก ไมโครพลาสติกซึ่งมีขนาดเล็กเท่าแบคทีเรียอาจเข้าสู่กระแสเลือด และปิดกั้นทางเดินเลือดได้ในที่สุด 
???? อาจเกิดโรคมะเร็ง หากไมโครพลาสติกฝังเข้ากับเนื้อเยื่อในร่างกาย อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง เพราะไมโครพลาสติกอาจปล่อยพิษหรือโลหะหนักที่ติดจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เนื้อเยื่อ 
???? เป็นตัวกลางนำสารพิษ ซึ่งไมโครพลาสติกมีคุณสมบัติที่สามารถดูดซับ อุ้มน้ำได้ จึงสามารถเก็บเอาสารพิษบางประเภท เช่น สารพิษในยาฆ่าแมลง DDT ในน้ำ กล่าวคือเมื่อไมโครพลาสติกยิ่งอยู่ในทะเลนานก็จะยิ่งดูดซับความเป็นพิษเอาไว้ ส่วนสัตว์เล็กในทะเลที่กินไมโครพลาสติกเข้าไปก็จะรับสารพิษนั้นเอาไว้ด้วย เมื่อคนนำมากินก็จะได้รับสารพิษตกค้างจากสัตว์เหล่านั้นเช่นกัน 


การได้รับไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?

ส่วนใหญ่พบไมโครพลาสติกปนเปื้อนในอาหารทะเล ได้แก่ ปลา โดยเฉพาะในทางเดินอาหาร
หรือระบบทางเดินอาหารของปลา เช่น กระเพาะปลาทู สัตว์จำพวกหอย หรือหอยสองฝาที่บริโภคทั้งตัว เช่น หอยแมลงภู่ หอยนางรม

คำแนะนำในการบริโภค

วิธีลดการได้รับไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหารทะเล คือ การล้างทำความสะอาดปลาและอาหารทะเลให้สะอาดอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องล้างสิ่งต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในทางเดินอาหาร เช่น สำไส้ กระเพาะออกให้หมดก่อนนำมาปรุงอาหาร


ไมโครพลาสติกใกล้ตัวเรามากแค่ไหนกัน
?

ไมโครพลาสติกที่เรารู้จักกันนั้นก็เป็นเหมือนพลาสติกทั่วๆไปที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ยิ่งไปกว่านั้น ไมโครพลาสติกยังมีขนาดเล็กมากจนบางส่วนสามารถหลุดลอดออกไปจากขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียและแพร่กระจายอยู่ในแม่น้ำ แหล่งน้ำ ทะเล เป็นต้น ซึ่งมักจะเจอ Secondary Microplastics ซึ่งเกิดจากการแตกหักจากขยะพลาสติกที่กระจายอยู่ทั่วไปนั่นเอง


จะหลีกเลี่ยงไมโครพลาสติกได้อย่างไร
?

ไมโครพลาสติกเป็นสิ่งที่ปัจจุบันกระจายสู่สิ่งแวดล้อม ด้วยขนาดเล็กจิ๋วมันจึงสามารถแพร่ไปได้ทุกที่ พบทั้งในแผ่นดิน น้ำ อากาศ แม้จะเป็นที่ที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่เลย อย่างไรก็ตาม พอจะมีทางที่จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงไมโครพลาสติกได้มากที่สุด มีดังนี้

  • ลดใช้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เป็นอาหารสำเร็จรูปอุ่นร้อน สามารถทำให้ไมโครพลาสติกปกเปื้อนลงในอาหารได้ นอกจากนี้ยังมีการพบไมโครพลาสติกจากน้ำดื่มที่มีจำหน่ายในไทยบางชนิดอีกด้วย แม้จะไม่ใช่ปริมาณมากก็ตาม
  • ดื่มน้ำประปา การประปานครหลวงเปิดเผยว่ามีโอกาสน้อยมากที่ไมโครพลาสติกจะปนเปื้อนลงในน้ำประปา เพราะมีชั้นกรองอนุภาคขนาดเล็กที่จับไมโครพลาสติกได้ 
  • ไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การกระทำเหล่านี้ส่งผลกระทบทางอ้อมสู่ร่างกายของคนได้ ดังนั้นควรคัดแยกขยะพลาสติกเพื่อนำไปรีไซเคิลใหม่อย่างถูกวิธี 

ไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำอาจใช้เวลาถึง 400-500 ปีในการย่อยสลาย วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการแก้ที่ต้นเหตุ โดยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ช่วยกันรักษาความสะอาดตามแหล่งน้ำ สิ่งแวดล้อม รวมถึงแยกขยะให้เหมาะสมสำหรับนำกลับไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธีด้วย ?


❝ จะเห็นได้ว่าความเป็นไปได้มากที่สุดในการรับมือกับภัยเหล่านี้ จึงยังไม่มีอะไรดีไปกว่าการลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งปริมาณการผลิตและการใช้ ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันนั่นเอง ???? ❞

>>สามารถอ่านบทความต่าง ๆ จาก SGE CHEM ได้ตามนี้เลย<<