อาหารเสริมลดน้ำหนัก มักโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้บริโภค รู้สึกว่า กินแล้วสามารถผอมได้ทันที พร้อมกับอธิบายถึงส่วนประกอบจากธรรมชาติต่าง ๆ นา ๆ แต่มันช่วยได้จริงหรือไม่ และมีส่วนประกอบใดอีกมั้ย ที่อาจส่งผลร้ายต่อเรา เมื่อรับประทานเข้าไป

หากไม่อยากตกเป็นผู้เสียหาย ที่ได้รับผลเสียต่อร่างกาย จากการทานอาหารเสริมลดน้ำหนักเข้าไปแล้วละก็ ควรพิจารณาส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทุกครั้งก่อน ว่าปลอดภัยและเห็นผลลัพธ์ได้จริงหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงสารอันตรายที่อาจปะปนมา และช่วยให้สามารถลดน้ำหนักได้จริง ซึ่งหากใครยังไม่รู้ว่า มีสารชนิดใดที่ช่วยให้ลดน้ำหนักได้บ้าง และสารใดที่เป็นอันตรายต่อร่างกายถึงชีวิต SGECHEM มีมาบอก พร้อมกับวิธีการเลือกซื้อเพื่อหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ส่วนจะมีวิธีการดูอย่างไร บ้างนั้น ตามมาดูกันเลย

อาหารเสริมลดน้ำหนัก คือ

อาหารเสริม

อาหารเสริมลดน้ำหนัก อาจจะต้องเรียกว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักมากกว่า เพราะอาหารเสริมนั้น  ในบัญญัติของเภสัชกรรมคือ อาหารจากธรรมชาติ ที่ต้องทานเสริมเป็นพิเศษจากมื้ออาหารหลัก 3 มื้อ เพื่อดูแลสุขภาพในภาวะต่าง ๆ โดยรูปแบบของอาหารนั้นก็คือ อาหารทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ธัญพืช ฯลฯ

ในขณะที่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ให้ความหมายไว้ว่า คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ ซึ่งมีสารอาหารหรือสารอื่นเป็นองค์ประกอบ อยู่ในรูปแบบเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลวหรือลักษณะอื่น ซึ่งมิใช่รูปแบบอาหารตามปกติ สำหรับผู้บริโภคที่คาดหวังประโยชน์ทางด้านสุขภาพ

ด้วยเหตุนี้ อาหารเสริมลดน้ำหนัก จึงควรเรียกว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักมากกว่า ถึงแม้จะพูดกันติดปากตามแบบแรกไปแล้วก็ตาม โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานเพื่อจุดประสงค์ในการลดน้ำหนัก มักอยู่ในรูปแบบของเม็ดและแคปซูล ทำมาจากส่วนผสมที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ที่มีฤทธิ์ช่วยในการเผาผลาญไขมัน ทำให้ลดน้ำหนักได้จริง แต่ในขณะเดียวกัน บางผลิตภัณฑ์ก็อาจมีการเจือปนของสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย  ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียรุนแรงต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น สารไซบูทรามีน ยาขับปัสสาวะ  ยาไทยรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น จึงควรตรวจสอบให้ดีทุกครั้ง ก่อนเลือกซื้อมารับประทาน

ส่วนผสมในอาหารเสริมลดน้ำหนักที่เห็นผลจริง

อาหารเสริม

ส่วนผสมที่อยู่ในอาหารเสริมลดน้ำหนักแต่ละผลิตภัณฑ์นั้น มีมากมายแตกต่างกันไป ซึ่งในหนึ่งผลิตภัณฑ์นั้น ก็มีสารต่าง ๆ จำนวนมาก หากนำมาอธิบายในที่นี้คงไม่ได้ทั้งหมด ดังนั้น จะขอยกตัวอย่างสารสกัดที่นิยมใช้ มาให้ได้รู้กัน โดยมีสารต่าง ๆ ดังนี้

1. ไคโตซาน

ไคโตซาน คือ สารธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่มีในสัตว์กระดองแข็งและขาเป็นปล้อง เช่น เปลือกกุ้ง กั้ง และกระดองปู ซึ่งเมื่อนำมาสกัดแยกเอาแคลเซียม โปรตีน และแร่ธาตุที่ไม่ต้องการออกไป จะได้สารสำคัญที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายเซลลูโลส เรียกว่า “ไคติน” ถูกนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารเสริมลดน้ำหนัก เพราะเมื่อทานเข้าไปแล้ว จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกอิ่มเร็ว ช่วยดักจับไขมันจากอาหาร แล้วขับถ่ายออกผ่านทางอุจจาระ ทำให้ร่างกายได้รับไขมันลดลง ไม่อ้วนง่าย ซึ่งมันสามารถดักจับไขมันได้สูง ประมาณ 8 – 10 เท่าของน้ำหนักตัวมันเองเลยทีเดียว จึงมักเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารเสริมชื่อดังหลายผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม หากเป็นผู้ที่มีอาการแพ้ กุ้ง หอย และปู ไม่ควรทานอาหารเสริมที่มีไคโตซานเป็นส่วนผสม เพราะอาจะมีอาการแพ้ได้ พร้อมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่าง ท้องอืด คลื่นไส้ ท้องผูก อาหารไม่ย่อย และจุกเสียดแสบร้อนลิ้นปี่ได้

2. โครเมียม ( Chromium )

โครเมียม เป็นสารชนิดหนึ่งที่พบได้ในอาหาร เช่น มันฝรั่ง บรอกโคลี ถั่วเปลือกเขียว กล้วย องุ่น ขนมปังโฮลเกรนหรือขนมปังที่ทำมาจากธัญพืชเต็มเมล็ด เนื้อสัตว์ และนม  ด้วยมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายให้มีความสมดุล จึงถูกสกัดนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารเสริมลดน้ำหนัก โดยปริมาณโครเมียมที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน สำหรับผู้ใหญ่นั้นจะอยู่ที่ 20 – 35 ไมโครกรัม/วัน ซึ่งหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น ปวดหัว ถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก และเป็นผื่นหรือลมพิษได้

3. กรดคอนจูเกตเต็ดไลไนเลอิก ( Conjugated Linoleic Acid หรือ CLA )

คือ กรดไขมันจำเป็นที่ร่างกาย ไม่สามารถผลิตได้เอง พบได้มากในผลิตภัณฑ์นมและเนื้อวัวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่าการใช้ CLA ในระยะเวลา 1 ปี สามารถช่วยลดน้ำหนักได้เพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น แม้ว่า CLA จะมีความปลอดภัยต่อร่างกาย แต่ก็ต้องระวังกับอาการที่จะตามมาได้ เช่น  อาจทำให้ไม่สบายท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย และอุจจาระเหลว นอกจากนี้ ยังอาจไปลดระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือด และเพิ่มความดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้

4. สารสกัดจากชาเขียว

ชาเขียว เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมชนิดหนึ่ง มีสรรคุณที่เชื่อว่า หากทานเข้าไปจะช่วยทำให้เพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ช่วยสลายเซลล์ไขมัน ลดการดูดซึมและการสร้างเซลล์ไขมันในร่างกาย เนื่องจากมีสารสารคาเทซิน ( Catachin ) และไทอามีน ( Thiamine ) เป็นส่วนผสมอยู่ จึงมีการทำสารสกัดจากชาเขียว ใส่เป็นส่วนผสมในอาหารเสริมลดน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการวิจัยพบว่า ชาเขียวอาจช่วยลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และการทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสารสกัดชาเขียว อาจไม่ปลอดภัยเท่ากับการดื่มชาโดยตรง เนื่องจากอาจได้รับผลข้างเคียงคือ มีอาการคลื่นไส้ ท้องผูก ไม่สบายท้อง และเพิ่มความดันโลหิตได้ มีรายงานว่า และยังเป็นอันตรายต่อตับได้อีกด้วย

5. แอลคาร์นิทีน (L-Carnitine)

แอลคาร์นิทีน เป็นสารที่ร่างกายสามารถสร้างได้เองที่ตับและไต โดยสังเคราะห์ขึ้นมาจากกรดอะมิโน 2 ตัวที่มีชื่อว่า ไลซีน (Lysine) และ เมไทโอนีน (Methionine) มีหน้าที่ช่วยเปลี่ยนกรดไขมันให้เป็นพลังงานในร่างกาย แล้วส่งพลังงานนั้นไปยังส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อ หัวใจ สมอง หรือ สเปิร์ม ฯลฯ ซึ่งด้วยคุณสมบัติที่ทำให้ลดการสะสมไขมันและเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย จึงมีการนำแอลคาร์นิทีนมาใช้เพื่อจุดประสงค์เรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะการลดน้ำหนัก ปกติแล้ว คนเราจะได้รับแอลคาร์นิทีนโดยธรรมชาติอยู่แล้ว จากการรับประทานเนื้อสัตว์ ไข่ไก่ ผลิตภัณฑ์จากนม พืชผัก และธัญพืชบางชนิด

ส่วนผสมในอาหารเสริมลดน้ำหนักที่เป็นอันตราย

อาหารเสริมลดน้ำหนัก

การรู้ว่า ส่วนผสมใดสามารถช่วยให้ลดน้ำหนักได้จริง อาจไม่สำคัญเท่าการรู้ว่า ส่วนผสมไหนที่เป้นอันตรายต่อร่างกาย เพราะนอกจากก่อให้เกิดผลข้างที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ยังอาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรท่องชื่อสารเหล่านี้ให้ขึ้นใจ หากคิดจะซื้ออาหารเสริมลดน้ำหนัก

1. Sibutramine หรือ ไซบูทรามีน

ไซบูทรามีน เป็นสารเคมีอินทรีย์ที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ไม่รู้สึกหิวและอิ่มเร็ว จึงเป็นที่นิยมในการลักลอบใส่ในอาหารเสริมลดน้ำหนัก ซึ่งถึงแม้ว่าอาจจะมีคุณสมบัติคล้ายกับสารอื่น ๆ ที่ช่วยลดน้ำหนักได้จริง แต่เนื่องจากหากได้รับในปริมาณมาก ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, รู้สึกสับสน, วิตกกังวล มีอาการใจสั่น, หัวใจเต้นเร็ว, ความดันโลหิตสูง บางรายอาจถึงขั้นหัวใจวาย และทำให้เสียชีวิตได้ จึงมีการเพิกถอน ไม่ให้ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเสริมลดน้ำหนักอีก และกลายเป็นสารต้องห้ามที่ห้ามใช้เด็ดขาด

2. Ephedra หรือ อีเฟรดา

เป็นสารที่สกัดมาจากพืช มีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและไขมัน ลดความอยากอาหาร  กินได้น้อยลง จึงช่วยลดน้ำหนักได้ไว ทำให้มักถูกนำมาผสมในอาหารเสริมลดน้ำหนัก สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักระยะสั้น ในช่วง 6 เดือนหรือน้อยกว่านั้น โดยถึงแม้จะเป็นส่วนผสมยอดนิยมในอาหารเสริมลดน้ำหนักทั่วไป แต่เมื่อถึงปี 2547 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ก็ได้มีการสั่งห้ามนำอีเฟดรา มาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีก เนื่องจากพบว่า ไม่ปลอดภัย หากทานในปริมาณมาก อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง คือ คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความดันโลหิตสูง การเต้นของหัวใจผิดปกติ อาการชัก หัวใจวายและถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด

3. Diuretics หรือ ยาขับปัสสาวะ

ยาขับปัสสาวะ ส่วนใหญ่จะใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว, โรคตับแข็ง, ความดันโลหิตสูง, โรคไข้หวัดใหญ่, พิษน้ำและบางโรคที่เกี่ยวกับไต แต่บางครั้ง ก็พบว่ามีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเสริมหรือยาลดน้ำหนักแทน ซึ่งหากได้รับในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง และทำให้เสียชีวิตได้

4. Fluoxetine หรือ ยาฟลูออกซิทีน

Fluoxetine หรือ ยาฟลูออกซิทีน จัดเป็นยาอันตรายต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์ ใช้สำหรับการรักษาความผิดปกติที่สำคัญซึมเศร้า หรือโรคความผิดทางจิต โรคตื่นตระหนก เป็นต้น ทานมาก ๆ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง คือ อาหารไม่ย่อย, ปัญหาการนอนหลับ, ความเสื่อมของสมรรถภาพทางเพศ, ปากแห้ง และไม่อยากทานอาหาร จึงทำให้มีผู้ผลิตอาหารเสริมลดน้ำหนักบางคน นำเอาฟลูออกซิทีน มาเป็นส่วนผสมในอาหารเสริมลดน้ำหนัก ซึ่งหากทานเข้าไปจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและร่างกายได้

วิธีรับประทานและเลือกซื้อ อาหารเสริมลดน้ำหนัก

อาหารเสริม

เมื่อรู้ว่า มีสารใดบ้างที่ช่วยให้ลดน้ำหนักได้จริงและสารใดที่ก่อให้เกิดอันตรายแล้ว จนสามารถเลือกซื้ออาหารเสริมลดน้ำหนักที่ปลอดภัยมารับประทานได้ ก็ใช่ว่าควรจะรับประทานปริมาณมากและติดต่อกันโดยทันที เพื่อหวังผลให้ลดน้ำหนักได้รวดเร็ว เพราะหากทานปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น มีการสะสมของสารเคมีในร่างกาย หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง จึงควรรับประทานตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์นั้น ในขณะเดียวกันก็ควรออกกำลังกาย เพื่อให้สามารถลดน้ำหนักได้รวดเร็วขึ้น แทนที่จะหวังผลจากการรับประทานอาหารเสริมเพียงอย่างเดียว พร้อมกันนี้ หากยาลดน้ำหนักบางชนิดมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ควรใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากหากใช้ผิดวิธีอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้  ในขณะที่การเลือกซื้ออาหารเสริมลดน้ำหนัก ควรพิจารณาจาก

  • เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการขออนุญาตจาก อย. โดยมีเลขสารบบอาหาร จำนวน 13 หลัก แสดงบนฉลาก ให้เรียบร้อย
  • ไม่มีการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง โดยใช้คำ เช่น กินแล้วผอม ทำให้หน้าเรียวเล็ก ลดน้ำหนัก เห็นผลเร็ว 6 เท่า ควบคุมน้ำหนัก หรือไม่กลับมาอ้วนอีก ฯลฯ โดยหากมีคำพูดเหล่านี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็น อาหารเสริมลดน้ำหนักที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมายกำหนด ซึ่งแสดงว่ายังไม่ได้รับการตรวจสอบจาก อย. ว่ามีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่
ปัจจุบัน อาหารเสริมลดน้ำหนัก มีวางขายกันมากมาย ซึ่งก็มีทั้งแบบคุณภาพดี มีมาตรฐาน และแบบที่ผลิตโดยที่ไม่ได้มีการตรวจสอบคุณภาพใด ๆ ผู้บริโภคจึงควรรู้เท่าทันและศึกษาข้อมูลก่อนเลือกซื้อให้ดี เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและช่วยลดน้ำหนักได้จริง

หากใครสนใจผลิตอาหารเสริมลดน้ำหนัก สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ SGECHEM เพราะเราเป็นโรงงาน OEM ที่ผลิตอาหารเสริมครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการออกแบบ สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ และมีบริการจดทะเบียน อย. ให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคุณถูกต้องตามกฏหมาย สามารถวางขายแข่งขันทางการตลาดได้อย่างสบายหายห่วง หากสนใจสามารถคลิกลิ้งก์เว็บไชต์ที่ https://sgechem.com/ หรือติดต่อทางโทรศัพท์ หรือ Line ของเราได้เลย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ