fish oil ช่วยอะไร ดีต่อสุขภาพยังไงบ้าง เมื่อมันมีกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ กรดโอเมก้า 3 ที่ช่วยบำรุงสุขภาพได้เป็นอย่างดี จนมีการนำมารับประทานเป็นอาหารเสริมและเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากมาย

หากใครอยากรู้ว่า น้ำมันปลา หรือ fish oil มีประโยชน์อย่างไรบ้างแล้วละก็ SGECHEM มีข้อมูลและความรู้มาฝาก รับรองว่าอ่านจบแล้ว คุณจะต้องรีบหา น้ำมันปลา มารับประทานโดยทันที ตามมาดูกันได้เลย

Fish oil คืออะไร

fish oil

fish oil หรือ น้ำมันปลา คือ น้ำมันที่สกัดเอามาจากส่วนต่าง ๆ ของปลา เช่น เนื้อปลา หนังปลา หางปลา หัวปลา อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากมีกรด EPA และ DHA ที่ดีต่อสุขภาพ โดยน้ำมันปลาที่มีคุณภาพดี จะต้องสกัดมาจากปลาทะเล ที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น เพราะเป็นแหล่งน้ำทะเลบริสุทธิ์ มีสิ่งแวดล้อมและอาหารที่เหมาะสม ทำให้คุณภาพปลามีปริมาณโอเมก้า 3 สูงกว่าปลาน้ำจืดทั่วไป โดยชนิดของปลาที่นำมาสกัดเป็นน้ำมันปลา เช่น ปลาแองโชวี่ ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า เป็นต้น

โอเมก้า 3 ในน้ำมันปลา มีประโยชน์อย่างไร

โอเมก้า3

โอเมก้า 3 คือ ส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ น้ำมันปลามีประโยชน์ เพราะประกอบด้วยกรดไขมันที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ EPA มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของเซลล์ และกรด DHA ที่เป็นส่วนประกอบหลักของเซลล์สมองและเซลล์อื่น ๆ ซึ่งถ้าได้รับโอเมก้า 3 จะได้รับประโยชน์คือ

1. ช่วยบำรุงสมองและจอประสาทตา

เนื่องจากในทางการแพทย์ พบว่า กรด DHA เป็นส่วนประกอบหลักของเซลล์สมองและจอประสาทตา การทานน้ำมันปลา จึงจะช่วยเสริมตัวกรด DHA เข้าสู่ร่างกาย เข้าไปซ่อมแซมและแทนที่เซลล์ที่เสียหาย บำรุงสมองและจอประสาทตาให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แสดงว่าการรับประทานอาหารเสริมที่มีโอเมก้า 3  ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรนั้น จะส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารกอย่างชัดเจน

2. ช่วยเสริมความจำ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์

นอกจากช่วยบำรุงสมอง กรด DHA ในโอเมก้า 3 ยังอาจช่วยเสริมความจำ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ด้วย เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุกว่า 1,000 คน เป็นเวลา 10 ปี พบว่าระดับกรดไขมัน DHA ที่ลดต่ำลง คือสาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อม หากทานโอเมก้า 3 เข้าไป กรดไขมัน DHA จะช่วยเพิ่มสาร LH11 ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นตัวช่วยลดการเกิดการสร้าง Plaques (เส้นใย หรือ ไฟบริล) ในสมอง ซึ่งเป็นตัวการที่ทำลายใยประสาทส่วนความจำ ดังนั้น หากผู้สูงอายุทานน้ำมันปลา ที่มีโอเมก้า 3 มาก ก็จะมีความจำดีขึ้น โอกาสที่จะสมองเสื่อมก็ลดลง

3. ป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือด

เมื่อเริ่มแก่ตัวลง เกล็ดเลือดจะเริ่มเกาะตัว และไขมันในหลอดเลือดก็จะสะสม ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและสมองขาดเลือด หากรับประทานน้ำมันปลา ที่มีโอเมก้า 3 จะสามารถยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและลดไขมันในเลือด ช่วยป้องกันความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจและสมองขาดเลือดได้ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ที่รับประทานน้ำมันปลา ที่มีกรดไขมัน Omega-3 วันละ 850 มิลลิกรัม / วัน (ปริมาณ EPA+DHA) ร่วมกับวิตามินอีธรรมชาติ 300 มิลลิกรัม / วัน สามารถลดอัตราการตายลงได้ถึง 15% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานอาหารน้ำมันปลา อย่างไรก็ตาม ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า อาหารเสริมที่มีโอเมก้า 3 จะช่วยป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพหัวใจได้

4. ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน

กรดไขมัน EPA มีคุณสมบัติช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในหลอดเลือด ในขณะเดียวกัน ก็เป็นสารตั้งต้นของสารกลุ่มไอโคซานอยด์ (Eicosanoids) ได้แก่ พรอสตาแกลนดิน-3 (Prostaglandins-3) และทรอมบอกแซน-3 (Thromboxan-3) ซึ่งสารกลุ่มนี้จะช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด  และช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน และทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น

5. ช่วยลดความดันโลหิต

เนื่องจาก โอเมก้า 3 ช่วยทำให้หลอดเลือดขยายตัว และป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น จึงมีผลให้ความดันโลหิตลดลงไปโดยปริยาย สอดคล้องกับผลการวิจัยของ John Hopkins Medical School ที่ได้สรุปรวบรวมผลการศึกษาจาก  17 รายงานการศึกษาทางคลีนิค พบว่าการรับประทานกรดไขมัน โอเมก้า 3 วันละ 3,000 มิลลิกรัม (ปริมาณ EPA+DHA) สามารถช่วยลดความดันล่าง (Diastolic Pressure) ได้ 3.5 มิลลิเมตรปรอท และความดันบน (Systolic pressure) ได้ถึง 5.5 มิลลิเมตรปรอท

6. ลดอาการข้อเสื่อม ข้อรูมาตอยด์

นอกจากช่วยบำรุงหลอดเลือด ระบบไหลเวียนโลหิต กรดโอเมก้า 3 ในน้ำมันปลา ยังสามารถบรรเทาอาการข้อเสื่อม (Osteoarthritis) และข้อรูมาตอย์ (Rheumatoid arthritis) เนื่องจากมีผลลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบของข้อ เช่น Interleukin-1, Tumor และยังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสาร PGE 3 ซึ่งช่วยลดอาการอักเสบของข้อ โดยจากการศึกษาในผู้ป่วยไขข้ออักเสบ 368 ราย ที่รับประทานน้ำมันปลา พบว่าช่วยลดอาการเจ็บและข้อติดตรึงในตอนเช้า ดังนั้น การรับประทานน้ำมันปลาจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อเสื่อม ข้ออักเสบเรื้อรัง  สามารถทานเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเสื่อม ข้ออักเสบได้

7. ช่วยบำรุงผิวให้สุขภาพดีขึ้น

นอกจากประโยชน์ทางด้านพัฒนาการสมอง การบำรุงร่างกายและรักษาโรค กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังช่วยบำรุงผิวให้เปล่งประกายและสุขภาพดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าไปสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ช่วยคงความชุ่มชื้นและแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนและเส้นใยอีลาสติน จึงส่งผลให้ผิวพรรณแลดูอ่อนเยาว์และสดใส ทั้งนี้ หากมีการรัปทานร่วมกับ วิตามินเอ ดี และอี จะยิ่งช่วยปกป้องการเกิดสิว ไม่ว่าจะเป็น สิวหัวขาวและหัวดำได้อีกด้วย

ทานน้ำมันปลาอย่างไร ถึงดีต่อสุขภาพ

fish

แม้ว่าน้ำมันปลา มีโอเมก้า 3 ที่ดีต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ควรบริโภคให้ได้รับปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 วันละ 300 – 500 มิลลิกรัม (ปริมาณ EPA + DHA) เพื่อการดูแลสุขภาพ อย่างไรก็ตาม หากเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงหรือต้องการเพื่อคาดหวังผลลัพธ์ทางสุขภาพแล้วละก็ อาจจะทานปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งการทานน้ำมันปลาให้ดีต่อสุขภาพ ควรปฏิบัติดังนี้

1. ทานตามปริมาณที่ผลิตภัณฑ์แนะนำ

ในข้างขวดของน้ำมันปลาแต่ละยี่ห้อ จะระบุปริมาณของ EPA และ DHA ที่ควรทาน เพื่อป้องกันโรค รักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ จึงควรทานตามปริมาณที่ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ แนะนำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

2. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคู่กันไปด้วย

ถึงแม้ว่า น้ำมันปลาจะมีโอเมก้า 3 ที่มีประโยชน์ ช่วยซ่อมแซมบำรุงร่างกาย ป้องกันรักษาโรค และบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถทานน้ำมันปลาได้เพียงอย่างเดียว แล้วสุขภาพจะแข็งแรง เพราะร่างกายยังคงต้องการสารอาหารอื่น ๆ เข้ามา ดังนั้น จึงควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคู่กับการทานน้ำมันปลาไปด้วย ถึงจะมีสุขภาพที่ดีได้

3. ไม่ควรทานน้ำมันปลาก่อนการผ่าตัด

หากเป็นผู้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เลือดหยุดไหลยาก และรับประทานยาแอสไพริน ถ้ามีเคสทำฟัน หรือ ผ่าตัด แนะนำว่าควรหยุดรับประทานน้ำมันปลาก่อนการผ่าตัด ทำฟัน อย่างน้อย 15 วัน เพื่อความปลอดภัย

4. หญิงตั้งครรภ์สามารถทานได้

ปัจจุบัน มีหลายงานวิจัยที่ระบุว่า การรับประทานน้ำมันปลาไม่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์แต่อย่างใด ซ้ำยังอาจส่งผลดีต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ด้วย โดยมีคำแนะนำว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 25-35 สัปดาห์ และหญิงให้นมบุตร ควรได้รับ DHA วันละ 1-2 แคปซูล เพื่อช่วยเสริมพัฒนาการทางสมองและสายตาของทารกและเด็ก

5. ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

หากเป็นผู้ป่วยที่ทานยากันเลือดแข็งตัวในโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองหรืออื่น ๆ รวมถึงผู้ป่วยตับและไต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน หรือ อยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด

6. ผู้ที่แพ้ปลา ไม่แนะนำ

หากใครแพ้เนื้อปลา หรือ สารใด ๆ ที่เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ไม่ควรซื้อมารับประทาน โดยสามารถสังเกตจากฉลากโภชนาการก่อนทำการเลือกซื้อได้

เลือกซื้อ น้ำมันปลา ที่มีคุณภาพอย่างไร

fish oil

น้ำมันปลา ถูกนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากมายหลายยี่ห้อ การเลือกซื้อมาทานเพื่อบำรุงสุขภาพในปัจจุบัน จึงไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากต้องการซื้อ น้ำมันปลาที่มีคุณภาพมารับประทาน ควรพิจารณาคุณสมบัติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. สกัดมาจากปลาทะเลน้ำลึก

ควรเลือกซื้อน้ำมันปลา ที่สกัดมาจากปลาทะเลน้ำลึก และมีแหล่งที่มาจากธรรมชาติ ที่ปราศจากการปนเปื้อนจากสารพิษ เพราะในบางน่านน้ำทะเล อาจมีสารพิษตกค้างอยู่ในปริมาณสูง จึงอาจมีการปนเปื้อนของสารพิษต่าง ๆ ได้ เช่น Dioxin, Methyl mercury และ Polychlorinated biphenyl

2. ผ่านการตรวจสอบที่มีมาตรฐาน

ควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐาน GMP และมีการตรวจสอบเชื้อโรคและโลหะหนัก ทั้งสารตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สารหนู

3. ตรวจสอบปริมาณ EPA และ DHA ก่อนเลือกซื้อ

น้ำมันปลาที่ดี ควรมีปริมาณของ EPA และ DHA ทั้งคู่มากกว่า 20% เพราะบางยี่ห้อแจ้งว่าเป็นฟิชออยล์ 1,000 มิลลิกรัม แต่มี EPA และ DHA ปริมาณน้อยมาก ที่เหลือเป็นแค่แป้งและส่วนผสมอื่นที่นำมาตอกเป็นเม็ด จึงควรตรวจสอบปริมาณให้ดีก่อนเลือกซื้อ

4. สัดส่วนของ EPA ควรมากกว่า DHA

สัดส่วนของปริมาณ EPA : DHA ควรเป็น 3 : 2 เช่น EPA 180 mg. และ DHA 120 mg. เพราะเป็นสัดส่วนที่เชื่อว่าน่าจะออกฤทธิ์ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

5. เม็ดแคปซูล ควรเป็นแบบเม็ดเจลนิ่ม ๆ

เลือกผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาแบบแคปซูล ที่เป็นแบบเม็ดเจลนิ่ม ๆ (Soft Gel) ปิดสนิท เพราะจะช่วยปกป้องไม่ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวข้างในเกิดการสลายตัวระหว่างการรอบริโภค ถ้าเม็ดยาถูกบรรจุในแคปซูลแข็ง ๆ อาจจะมีรอยรั่วตรงขอบเม็ดได้ ซึ่งจะทำให้มีอากาศเข้าไปเกิดการออกซิไดซ์จนกรดไขมันไม่อิ่มตัวสลายตัวแล้วมีปริมาณกรดไขมันสำคัญลดลง

6. มีวิตามินอี ผสมอยู่ในน้ำมันปลา

ผลิตภัณฑ์น้ำมันปลา ควรมีวิตามินอีผสมด้วย เพราะกรดไขมันไม่อิ่มตัวจะสลายตัวได้ง่ายมาก จึงจำเป็นต้องมีวิตามินอี ทำหน้าที่เป็น Antioxidant ช่วยคงสภาพและปริมาณสารสำคัญให้คงอยู่ ในระหว่างรอการบริโภค

7. ขวดบรรจุภัณฑ์ต้องทึบแสง

ขวดบรรจุภัณฑ์ควรเป็นขวดแบบทึบแสง ป้องกันแสง และอากาศได้ดี และถ้าเบาด้วยก็จะยิ่งดีเพื่อสะดวกต่อการพกพา (เพราะต้องกินหลังมื้ออาหารทุกมื้อ) สำหรับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นขวดพลาสติก ควรเป็นขวดพลาสติกเกรดยา เนื่องจากจะมีมาตรฐานดีกว่าขวดพลาสติกเกรดอาหารเสริมทั่วไป (พลาสติกอาจไปทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุไว้ โดยเฉพาะเมื่อต้องเก็บไว้เป็นเวลานาน) ในขณะที่ถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว จะมีข้อดีตรงที่มีความเป็นกลางไม่ทำปฏิกิริยาใด ๆ กับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ โดยควรเป็นขวดสีชาทึบแสง ที่ยิ่งทึบแสงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

น้ำมันปลา มีโอเมก้า 3 ที่มีประโยชน์ ทำให้นิยมนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งปัจจุบันก็มีหลากหลายยี่ห้อ หากเห็นว่าดีต่อสุขภาพ ผู้บริโภคก็สามารถซื้อรับประทานเองได้ โดยควรซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานการผลิตสูง มีความน่าเชื่อถือ ผ่านการตรวจสอบจาก อย. พร้อมทั้งทานตามปริมาณที่ผลิตภัณฑ์แนะนำ ก็จะทำให้การบริโภคปลอดภัย ช่วยบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง

หากสนใจทำผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มีน้ำมันปลาเป็นส่วนประกอบ แล้วอยากได้โรงงานการผลิตที่มีมาตรฐาน สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ SGECHEM เพราะเราเป็นโรงงาน OEM ที่ผลิตอาหารเสริมครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการออกแบบ สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ และมีบริการจดทะเบียน อย. ให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคุณถูกต้องตามกฏหมาย สามารถวางขายแข่งขันทางการตลาดได้อย่างสบายหายห่วง หากสนใจสามารถคลิกลิ้งก์เว็บไชต์ที่ https://sgechem.com/ หรือติดต่อทางโทรศัพท์ หรือ Line ของเราได้เลย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ