การสร้างแบรนด์สินค้าประเภทอาหารเสริมได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคปัจจุบัน เพราะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วกว่าเมื่อก่อนมาก เนื่องจากมีโรงงานรับผลิตอาหารเสริมครบวงจร พร้อมที่รองรับงานในเสร็จสรรพ จึงทำให้นักธุรกิจหน้าใหม่เป็นเจ้าของแบรนด์อาหารเสริมได้อย่างง่ายดาย ในส่วนของโรงงานรับผลิตอาหารเสริมครบวงจรเองนั้นก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากยิ่งขึ้นพร้อม ๆ กับสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจของตัวเองไปในตัว ในรูปแบบการทำงานในส่วนของโรงงานที่รับผลิตอาหารเสริมนั้น จะปรากฏคำ 2 คำที่แพร่หลาย ที่มีคำเรียกย่อ ๆ ว่า OEM และ ODM แล้วมันคืออะไร? และมีความต่างกันอย่างไร?

วันนี้ SGE CHEM จะพาไปทำความเข้าใจกัน ตามไปดูเลย ????


OEMคืออะไร?

210209-Content-OEM-และ-ODM-คืออะไร-แตกต่างกันอย่างไร-edit02


คำว่า
OEM ย่อมาจากคำว่า 
Original Equipment Manufacturer
 ลักษณะของโรงงานที่รับผลิตสินค้าประเภทนี้ คือ โรงงานมีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตอยู่แล้ว และรับผลิตสินค้าให้กับลูกค้าเพื่อนำไปติดแบรนด์ที่มีอยู่แล้วของลูกค้า เช่น ลูกค้ามีแบรนด์ที่แข็งแรงแล้วในตลาด ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อะไร หรือแม้แต่อะไหล่รถยี่ห้อดัง สมาร์ทโฟน ก็อาจจะพึ่งโรงงานประเภทนี้ และโรงงานประเภทนี้มักมีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล มีเครื่องหมายรับรอง เชื่อถือได้ในเรื่องของคุณภาพที่แบรนด์ดังไว้วางใจ

???? ข้อดีของโรงงานOEM

  1. ช่วยลดต้นทุนการผลิตต่ำ
  2. เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
  3. ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
  4. มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแล

???? ข้อเสียของโรงงานOEM

  1. มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าผลิตเอง
  2. หากใช้สูตรกลาง สินค้าและคุณภาพอาจจะไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ มากนัก


ODM คืออะไร?

210209-Content-OEM-และ-ODM-คืออะไร-แตกต่างกันอย่างไร-edit03


ODMย่อมากจาก
Original Design Manufacturer โรงงานแบบนี้มักจะมีพัฒนาขึ้นมาจากแบบOEM คือ เป็นโรงงานที่มีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หากเป็นการผลิตอาหารเสริม หรือเครื่องสำอาง จะมีการคิดค้น ทำวิจัย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและจุดเด่นที่แตกต่างจากสินค้าที่มีอยู่เดิมในท้องตลาด การคิดพัฒนานั้นมีการทดลอง ทดสอบประสิทธิภาพ และเป็นสูตรที่ลงตัวให้มีมาตรฐานของตัวเอง อีกทั้งมีความพร้อมในการให้บริการครบวงจร อย่างที่โรงงานรับผลิตอาหารเสริมครบวงจรนิยมทำกัน นั่นก็คือนอกจากผลิตแล้ว ยังรับออกแบบทั้งโลโก้ ฉลากสินค้า อีกทั้งจัดหาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะและสวยงาม ถูกใจตลาด รวมถึงจดทะเบียน อย.กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ครบวงจรเพื่อลูกค้าที่มาใช้บริการผลิตเพื่อสร้างแบรนด์จะได้สะดวก และได้สินค้ารวดเร็ว มีเอกลักษณ์เฉพาะนั่นเอง

???? ข้อดีของโรงงานODM

  1. ไม่ต้องออกแบบเอง สามารถขายได้เลย เหมาะกับผู้เริ่มต้นทำแบรนด์
  2. หากเลือกออกแบบที่เป็น Exclusive จะได้แบรนด์สินค้าที่ไม่ซ้ำใคร
  3. ช่วยลดต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด
  4. เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
  5. มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิต และการออกแบบคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

???? ข้อเสียของโรงงานODM

  1. มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายการผลิตที่สูงกว่า โรงงานประเภทอื่น เพราะมีเรื่องการออกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

การออกแบบเหล่านี้มีทั้งที่เป็น Exclusive คือออกแบบให้เฉพาะราย โดยมีการคิดค่าออกแบบที่แพง เพราะถือว่าลูกค้าเพียงรายเดียวจะได้ประโยชน์ไปอย่างเต็มที่หรือ non exclusive คือให้สิทธิได้กับหลายรายในราคาค่าออกแบบที่ถูกลงนั่นเอง


ข้อแตกต่างระหว่าง OEMและODM เป็นอย่างไร!

1.) OEMเป็นการทำงานผลิตของโรงงานที่รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ตามสูตรการผลิตของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้านำไปติดแบรนด์ที่ติดตลาดอยู่แล้วของตัวเอง ส่วนODM เป็นโรงงานที่มีรูปแบบการผลิตที่มีการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อนำเสนอแก่ลูกค้า

2.) OEMเป็นการทำงานผลิตแบบรับจ้าง ไม่ต้องมีความเสี่ยง เพราะเป็นการรับจ้างผลิต ส่วนODM แม้จะต้องรับความเสี่ยงและลงทุนเพิ่มขึ้นอยู่บ้าง เพราะต้องทดลองและทดสอบผลิตภัณฑ์ แต่ก็นับเป็นความก้าวหน้าของธุรกิจ

ตัวอย่างสินค้าของOEM เช่น สินค้าแฟชั่น, โปรแกรมซอฟต์แวร์, เครื่องสำอาง-อาหารเสริม เป็นต้น


ส่งท้ายสักนิด!

นอกจาก OEM, ODM ยังมีอีกหนึ่งอย่าง คือ OBM ที่หลายคนอาจจะเคยได้ยิน และหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าคืออะไร สามารถอธิบายได้ดังนี้

➧ OBM ย่อมาจาก Original Brand Manufacturer คือ การผลิตภายใต้รูปแบบและตราสินค้าของตนเอง เหมาะกับแบรนด์ที่มีความมั่นคง และเป็นโรงงานที่พัฒนาได้เต็มที่ เพื่อผลิตสินค้าและจำหน่ายในปริมาณที่มาก โดยมุ่งเน้นผลิตแต่สินค้าที่อยู่ภายใต้แบรนด์ของตัวเองแต่เพียงเท่านั้น ต้นทุนการผลิตสินค้าประเภทนี้อาจไม่เท่ากันในแต่ละล็อต เพราะทางบริษัทสามารถควบคุมราคาทุนของสินค้าได้อย่างอิสระ และสามารถผลิตตามกำลังที่ต้องการในแต่ละล็อตได้ อีกทั้งยังสามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าได้ในทุกขั้นตอนการผลิต เพราะสามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้ในทุกขั้นตอนและสินค้าจากโรงงานประเภทนี้ก็ยากต่อการเลียนแบบ เนื่องจากมีเพียงแค่ทางบริษัทเท่านั้นที่รู้ขั้นตอนการผลิตนั่นเอง

แต่โรงงานประเภทนี้จะมีทุนจัดตั้งที่สูงและทำให้ทางบริษัทต้องจ้างแรงงานจำนวนมากเพื่อดำเนินการผลิตสินค้า ซึ่งหากไม่ได้มีความต้องการสินค้าในปริมาณมาก หรือมีความจำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานการผลิตก็เสี่ยงต่อการขาดทุนสูงเลยทีเดียว

 ยกตัวอย่างสินค้าประเภท OBM เช่น เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อ S มีโรงงานผลิตเอง มีการซื้อเครื่องจักร จ้างคนงาน พนักงาน ทั้งหมด โดยออกค่าใช้จ่ายเอง และทั้งหมด ก็ทำตลาดภายใต้แบรนด์ S เป็นต้น


ตารางสรุปสินค้า
OEM, ODMและ OBM ต่างกันอย่างไร?

หัวข้อ สินค้า OEM สินค้าODM สินค้าOBM
ประเภทโรงงาน รับจ้างผลิตสินค้า รับจ้างผลิตและออกแบบสินค้า สินค้าโรงงานของบริษัทนั้น ๆ เป็นเจ้าของแบรนด์เอง
การพัฒนาและออกแบบสินค้า ผู้ว่าจ้าง โรงงาน, โรงงานและผู้ว่าจ้าง บริษัทพัฒนาและออกแบบด้วยตนเอง
การตรวจสอบคุณภาพสินค้า ไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ทุกขั้นตอน ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างละเอียด ตรวจสอบคุณภาพได้ทุกขั้นตอน
ต้นทุนสินค้า ปานกลาง สูง (โดยเฉพาะสินค้าผูกขาดแบรนด์) ต่ำ (ควบคุมราคาต้นทุนเองได้)
ทุนจัดตั้งโรงงาน / แรงงาน ไม่ต้องลงทุนจัดตั้งโรงงานและจ้างแรงงานด้วยตนเอง ไม่ต้องลงทุนจัดตั้งแรงงานและจ้างแรงงานด้วยตนเอง ทุนในการจัดตั้งแรงงานและจ้างแรงงานสูง

สำหรับผู้บริโภคแล้วนั้น สินค้าที่มาจากโรงงานทั้งแบบ OEM, ODM และ OBM อาจจะไม่ต่างกันมากนัก แต่สำหรับผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ต่าง ๆ นั้น การเลือกประเภทโรงงานที่ใช้ผลิตสินค้าก็มีความสำคัญค่อนข้างมากและส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจอย่างแน่นอน


ก่อนจะเลือกโรงงานผลิต ขอให้ตรวจสอบให้มั่นใจว่า โรงงานดังกล่าวนั้นได้มาตรฐาน และมีคุณภาพ เพราะผู้ซื้อจะตัดสินใจซื้อจากคุณภาพสินค้า ตราบใดที่ผู้ผลิตยังคงรักษา และพัฒนาความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้านั้น ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน การที่แบรนด์ของเราจะประสบความสำเร็จ ก็คงไม่ไกลเกินเอื้อมเลย ????