โพลีเมอร์ เพื่อนซี้ที่คุณอาจยังไม่รู้จัก!

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “โพลีเมอร์” จากคาบเรียนวิทยาศาสตร์ แต่ก็ยังคงสับสน เพราะเจ้าโพลีเมอร์สามารถกลายร่างได้สารพัดทั้ง พลาสติก ยาง โฟม และอีกมากมาย อีกทั้งยังอยู่ในเสื้อผ้าที่เราใส่ รถยนตร์ที่เราขับ ขนาดน้ำยาขจัดคราบต่างๆที่เราใช้ก็ยังมีโพลีเมอร์อยู่ในนั้น เรียกได้ว่าเจ้าโพลีเมอร์ได้แฝงตัวอยู่ในชีวิตประจำวันของเราอย่างแนบแน่นโดยที่เราอาจไม่รู้จักมันมาก่อน แล้วอย่างนี้ตกลงโพลีเมอร์คืออะไรกันแน่ ?

2

วันนี้ SGECHEM จะมาแนะนำเจ้าโพลีเมอร์ให้เพื่อน ๆได้รู้จักกันมากขึ้น!


โพลีเมอร์ (
Polymer) คือ สสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลเป็นสายโซ่ยาว หรือประกอบด้วยอะตอมนับหลายพันอะตอมมาเชื่อมต่อกัน ซึ่งคำว่า Poly หมายถึงมากหรือหลาย ๆ ส่วนคำว่า Mer คือหนึ่งหน่วย เมื่อรวมกันแล้วความหมายจึงเป็น หลาย ๆ หน่วยที่มาต่อเชื่อมกัน โดยทั่วไปหนึ่งหน่วยที่ซ้ำกันนั้นจะเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน แต่หน่วยซ้ำจะเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเคมีประเภทโควาเลนต์ ซึ่งโพลีเมอร์เป็นผลลัพธ์จากปฏิกิริยาโพลีเมอร์ไรเซชัน

210205-Content-โพลีเมอร์-เพื่อนซี้ที่คุณอาจไม่รู้จัก-edit02


โดยโพลีเมอร์ มีทั้งที่เกิดเองในธรรมชาติ (Natural polymer) และโพลีเมอร์แบบสังเคราะห์ (Synthetic polymer) ตัวอย่างของ โพลีเมอร์ธรรมชาติ ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส โปรตีน กรดนิวคลีอิก และยางธรรมชาติ ส่วนโพลีเมอร์สังเคราะห์ เช่น พลาสติก เส้นใย โฟม และกาว เป็นต้น

210205-Content-โพลีเมอร์-เพื่อนซี้ที่คุณอาจไม่รู้จัก-edit03


ประโยชน์ของโพลีเมอร์

เรามีการนำโพลีเมอร์มาใช้ในการอำนวยความสะดวกในชีวิตอย่างแพร่หลาย ทำให้โพลีเมอร์เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน โดยโพลีเมอร์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติต่างกัน จึงทำหน้าที่หรือนำไปใช้งานที่ต่างกัน เราสามารถเจอโพลีเมอร์เพื่อนซี้ของเราได้ในทุกมิติของการดำรงชีวิต ได้แก่

  1. ด้านการแพทย์ มีการใช้ยาง ในการทำลูกสูบกระบอกฉีดยา กระเปาะบีบหลอดหยด จุกยาง ใช้พลาสติก ในการทำข้อเทียม เป็นต้น
  2. ด้านการก่อสร้าง พบว่า มีการใช้ไม้ หรือ เซลลูโลส ในการก่อสร้างและทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ใช้โพลีเมอร์แบบ PMMA ( Polymethylmethacrylate ) ในการทำป้ายร้านค้า ป้ายโฆษณา โคมหลังคา กรอบแว่นตา เลนซ์ โคมไฟ เฟอร์นิเจอร์ ใช้โพลีเมอร์แบบพอลีเอทิลีน ( Polyethylene ) ทำสายเคเบิล แผ่นกันความชื้นในอาคาร  ใช้โพลีเมอร์แบบพอลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) ทำโคมไฟสาธารณะ พอลีโพรพิลีน (Polypropylene) ใช้ทำโต้ะ เก้าอี้ เชือก พรม ใช้พอลีไวนิล คลอไรด์  ( Polyvinylchloride ) กระดาษปิดผนัง กระเบื้องปูพื้น และฉนวนหุ้มสายไฟ
  3. ด้านผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุอาหาร ใช้โพลีเมอร์แบบพอลีเอทิลีน ( Polyethylene ) ทำถุงบรรจุอาหาร ถาดทำน้ำแข็งในตู้เย็น ขวดและภาชนะบรรจุของเหลว ใช้โพลีเมอร์แบบพอลี่ไวนิล คลอไรด์ ( Polyvinylchloride ) ทำถ้วยและถาดบรรจุอาหารชนิดแผ่นบาง ใช้ทำถุงและพลาสติกบรรจุของ ขวดน้ำมันพืชชนิดต่างๆ ใช้โพลีเมอร์แบบพอลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) ทำขวดนมชนิดดี เป็นต้น
  4. ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ใช้โพลีเมอร์แบบพอลีเอสเตอร์ ( Unsaturated Polyester ) ในการทำผลิตภัณฑ์ ไฟเบอร์กลาส เช่น เรือ รถยนต์ ชิ้นส่วนในเครื่องบิน ใช้โพลีเมอร์แบบพอลีเอไมด์ ( Polyamides ) ทำเกียร์
  5. ด้านเครื่องนุ่งห่ม ใช้โพลีเมอร์แบบพอลีเอไมด์ หรือไนล่อน( Polyamides or Nylon ) ในรูปเส้นใยทำร่มชูชีพ ถุงเท้า เสื้อฟ้า เอ็นตกปลา ผงกำมะหยี่ ใช้พอลี่ไวนิล คลอไรด์ ( Polyvinylchloride ) ทำถุงมือ รองเท้าเด็ก ใช้พอลีเอสเทอร์ ( Polyester) ในการทำเส้นใยทอเสื้อผ้า เส้นใยเซลลูโลสและเส้นใยโปรตีนจากสัตว์ นำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น ฝ้าย เส้นไหม เป็นต้น
  6. ด้านการเกษตร มีการนำโพลีเมอร์ไปใช้งานด้านเกษตรกรรมในหลายลักษณะ เช่น ฟิล์มคลุมโรงเรือน (greenhouse) ฟิล์มคลุมอุโมงค์ขนาดเล็ก (small tunnel covers) ฟิล์มคลุมดิน (mulching) รวมไปถึง ท่อสำหรับระบบน้ำหยด ถุงห่อพืชผล บรรจุภัณฑ์ เชือก เป็นต้น
210205-Content-โพลีเมอร์-เพื่อนซี้ที่คุณอาจไม่รู้จัก-edit04


ในปัจจุบันเทคโนโลยีของการผลิตโพลีเมอร์มีความก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ นับตั้งแต่การเตรียมโพลีเมอร์ การศึกษาสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของโพลีเมอร์ การปรับปรุงสมบัติของโพลีเมอร์ รวมทั้งการแปรรูปโพลีเมอร์เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีรูปร่างแพร่หลาย สามารถแปรรูปให้เป็นชิ้นงานได้หลายรูปแบบ นอกจากนี้ยังมีการเติมสารบางชนิดลงไปเพื่อให้พลาสติกมีสมบัติดีขึ้น เช่น เติมสีให้มีความสวยงาม เติมใยแก้วเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและทนต่อแรงกระแทก ซึ่งมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ไฟเบอร์กลาส เป็นต้น


เอาล่ะ รู้จักเจ้าโพลีเมอร์ไปพอสมควรแล้ว ถ้าอยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโพลีเมอร์หรือสารเคมีอื่นๆมากกว่านี้ สามารถตามอ่านได้ที่เว็บไซต์ของเราได้เลย