เรียบเรียงโดย ด็อกเตอร์อั้ม (Dr. Aum)

เรื่องต้องรู้ “สร้างแบรนด์อาหารเสริม” เงินลงทุนและการเตรียมตัวเป็นอย่างไร?

คำถามยอดฮิตตลอดกาล ที่มักจะได้ยินกันบ่อย ๆ นั่นคือ “สร้างแบรนด์อาหารเสริม” จะต้องมีอะไรบ้าง? ในฐานะ SGE CHEM เป็นโรงงานผลิตอาหารเสริม ได้พบปะผู้สนใจ อยาก ทำแบรนด์อาหารเสริม เป็นจำนวนมาก ซึ่งบอกได้เลยว่า ส่วนใหญ่ ไม่มีความพร้อม ที่จะทำแบรนด์อาหารเสริมเลย ตามไปดูกันดีกว่าว่า ก่อนการ ทำแบรนด์อาหารเสริม จะต้องมีความพร้อม และเตรียมตัวอย่างไร?

อย่างไรก็ตาม วันนี้คุณอาจจะไม่พร้อม ในอนาคตอาจจะพร้อม เพราะโอกาสมันมีเสมอ เพียงแค่ต้องปรับจุดอ่อน ให้เป็นจุดเเข็ง และประเมินสถานการณ์ก่อนว่า สิ่งที่กำลังจะทำ เกินความสามารถพอที่จะทำหรือเปล่า ไม่ใช่เพียงเห็นเขาทำเเล้วดี ทำเเล้วรวย ก็อยากจะทำตาม โดยที่เราไม่รู้รายละเอียดเลยว่าจะต้องผ่านอะไรมาบ้าง

สร้างแบรนด์อาหารเสริม ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

สำหรับการ ทำแบรนด์อาหารเสริม เรียกได้ว่า ขั้นตอนการเตรียมตัว และเงินลงทุน ถือเป็นปัจจัยหลัก ๆ ในการสร้างแบรนด์ อาหารเสริม จะต้องมีความพร้อม รวมถึงด้านอื่น ๆ ด้วย ดังนี้

สร้างแบรนด์อาหารเสริม-ทำแบรนด์อาหารเสริม-02
  • เงินทุนสำหรับผลิตอาหารเสริม

เงินทุน ถือเป็นสิ่งแรก เพราะเงินทุน จะส่งผลอย่างมากในการคำนวณราคาของอาหารเสริม ทั้งราคาตั้งต้น และกำไรที่จะได้รับ รวมถึงจำนวนผลิตด้วย เมื่อมีจำนวนเงินทุนในหัวคร่าว ๆ แล้ว เราก็สามารถรู้ได้ว่า ว่าเงินทุนที่มี สามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น ประเภทของอาหารเสริมแต่ละชนิด และขั้นต่ำการผลิต, ค่าผลิตอาหารเสริม และ บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเสริม เป็นต้น

  • เงินทุนสำหรับการตลาด

การทำตลาดเป็นเรื่องจำเป็น ทำให้แบรนด์ดูมีความน่าเชื่อถือ เป็นที่สนใจ และติดตลาดได้ง่าย เป็นการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนในระยะยาว สำหรับค่าใช้จ่ายด้านการตลาด เช่น การประชาสัมพันธ์, การส่งเสริมการตลาด, การออกแบบโฆษณา, การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อส่งเสริมการขาย และ การจัดทำสื่อออนไลน์

สร้างแบรนด์อาหารเสริม-ทำแบรนด์อาหารเสริม-03
  • เงินทุนสำหรับการดำเนินการ

เงินทุนด้านการดำเนินการนั้น เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เจ้าของแบรนด์อาหารเสริม จะต้องคำนึงถึง สามารถแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ

  • ค่าขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ เป็นการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ช่วยให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดูน่าเชื่อ และตรวจสอบได้ ซึ่งการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ จะมีการขึ้นทะเบียนกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และการจดทะเบียนขอเครื่องหมายฮาลาล สำหรับจำหน่ายให้กับชาวมุสลิม
  • ค่าขนส่ง เช่น ค่าขนส่งของจากโรงงานมาบริษัท หรือ ค่าส่งของไปยังตัวแทนจำหน่ายต่าง ๆ
  • เงินทุนสำรอง

เงินทุนสำรอง ทำหน้าที่เหมือนหลักประกันให้ธุรกิจ บางครั้งอาจมีปัจจัยภายนอก ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภาวะเงินฝืด เงินเฟ้อ, การผันผวนของเศรษฐกิจ, ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น, การขาดแคลนวัตถุดิบ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนไม่สามารถควบคุมได้ การมีเงินทุนสำรอง โดยอาจจะคำนวณจากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยการทำแบรนด์ในแต่ละเดือน สำรองไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน ก็จะพอช่วยแบ่งเบาปัญหาตรงนี้ไปได้บ้าง

  • ปัจจัยอื่น ๆ 

เงินทุนสำหรับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ค่าสถานที่, ค่าเช่า, ค่าใช้จ่ายในการตกแต่งสถานที่ หรือรีโนเวท, ค่าจดทะเบียนบริษัท, ค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น

ยกตัวอย่างการทำ แบรนด์อาหารเสริม Dr.Aum

เมื่อเราได้รู้ถึงการเตรียมตัว และเงินลงทุนในการ สร้างแบรนด์อาหารเสริม กันแล้ว ขอยกตัวอย่าง จากผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ผงคาเคา ด็อกเตอร์อั้ม” หรือ “Dr. Aum Organic Cacao Powder ที่การันตียอดขายใน Shopee และ Tiktok ไปแล้วกว่า 5,000 ชิ้น ในเวลาเพียงแค่ 2 เดือน โดยทางแบรนด์ได้มีการเตรียมความพร้อมก่อน สร้างแบรนด์อาหารเสริม ดังนี้

สร้างแบรนด์อาหารเสริมทำแบรนด์อาหารเสริม-04

1) สำรวจตลาด (Market Survey)

สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ “การสำรวจตลาด” ว่าสินค้าตัวที่เราจะทำนั้น การแข่งขันในตลาดเป็นอย่างไรบ้าง? เช่น

  • มีเจ้าตลาดแบรนด์ใหญ่อยู่บ้างหรือไม่? ถ้าสินค้านั้น มีเจ้าตลาดรายใหญ่ เราไม่ควรเข้าไปเล่น เพราะรายใหญ่ ระดับ 100-1000 ล้าน เขามีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเราอยู่เเล้ว ยิ่งถ้าเราเป็นธุรกิจ SMEs หรือเป็นบุคคลคนธรรมดา บอกเลยว่า สู้ยากมาก ๆ ดังนั้น ควรไปทำการบ้าน ศึกษาการตลาดให้ดีมาก่อน

สำหรับ ผงคาเคา ตอนนี้ยังไม่มีเจ้าตลาดยักษ์ใหญ่ ที่ยึดครองตลาด แต่เต็มไปด้วยแบรนด์เล็ก ๆ มากมาย จึงทำให้มีความน่าสนใจ และสู้กับแบรนด์อื่น ๆ ได้อยู่ไม่น้อยนั่นเอง

  • มีแต่แบรนด์เล็ก ๆ ยังไม่มีแบรนด์ใหญ่ ถ้ายังไม่มีรายใหญ่ลงมาเล่น อันนี้น่าสนใจมาก ๆ เพราะแบรนด์เล็ก ๆ เขาก็มีสถานะเหมือนเรา อาจจะเป็นบริษัทเล็กๆ เป็นธุรกิจครอบครัว ไม่ได้มีทุนมาก เพราะฉะนั้น ต้นทุนเขาไม่ต่ำ การตลาดเขาก็จะไม่เซียนมาก พนักงานที่ทำงานด้วย ก็อาจจะเป็นคนบ้านๆ ไม่ได้เป็นพวก หัวกะทิ จบเมืองนอก (Harvard, MIT, Stanford) ที่เทคนิค การทำงานจะรวดเร็ว ฉลาด และ มีเคล็ดลับเยอะ ซึ่งจะสู้ยาก

สำหรับคู่เเข่งของ ผงคาเคา ด็อกเตอร์อั้ม จะมีแบรนด์เล็ก ๆ ที่อยู่ในตลาด และสำรวจดูแล้วว่า แบรนด์เหล่านั้น ยังไม่ได้ เก่งมาก เราสามารถแข่งขันได้ และยังมีช่องให้ทำตลาดอยู่

  • ตลาดมีความต้องการสินค้าตัวนี้แค่ไหน? จากตัวอย่างข้างต้น ผงคาเคา ด็อกเตอร์อั้ม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนทานได้ ไม่มีข้อยกเว้น วิธีการทานก็ง่าย ๆ เพียงแค่ใส่น้ำร้อน จึงกล่าวได้ว่า ความต้องการทางตลาดของสินค้า ผงคาเคา ด็อกเตอร์อั้ม เป็นตลาดที่ใหญ่และกว้างนั่นเอง
สร้างแบรนด์อาหารเสริมทำแบรนด์อาหารเสริม-05

2) จุดเด่นของสินค้าคุณคืออะไร? (Product Market Fit)

การสร้างจุดเด่นองสินค้าให้กับแบรนด์ การตั้งคำถาม เช่น

  • ทำไมลูกค้าต้องมาซื้อสินค้าของคุณ?

ยิ่งสินค้าเป็นอาหาร อาหารเสริม ผู้บริโภค จะต้องเชื่อมั่นก่อน ว่าสิ่งที่คุณขาย “สามารถทานได้ สะอาด ปลอดภัย” ทานเเล้วไม่เจ็บปวด ไม่ได้รับอันตราย ทานเเล้วต้องดี ซึ่งคำ ดี ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น คือ สำหรับบางคน “ปลาร้า” เป็นอาหารที่มีกลิ่นเหม็น บางคนไม่ชอบ ไม่กิน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า “กลิ่นเหม็น” จะเหม็นสำหรับทุกคน ซึ่งความเป็นจริงนั้น ปลาร้า มีคนชอบเยอะด้วย ดังนั้น ลองย้อนกลับไปคำถามแรก ที่ว่า ทำไมคนต้องซื้อของเรา มีคนพร้อมซื้ออยู่ไหม และคนกลุ่มนั้นเป็นใคร??

โดยผลิตภัณฑ์ ผงคาเคา ด็อกเตอร์อั้ม สรุปง่าย ๆ ว่า ทำไมคนต้องซื้อ ดังนี้

  • ผงคาเคาด็อกเตอร์อั้ม มี อย. และ GMP ทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่น เพราะมีที่ตั้ง มีผู้ผลิตชัดเจน มีมาตรฐาน อย. และ GMP
  • ผงคาเคาด็อกเตอร์อั้ม อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ดูดี เก็บรักษาได้ง่าย ทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงสินค้าที่มีคุณภาพ
  • ผงคาเคาด็อกเตอร์อั้ม มีให้เลือกหลายแบบตามความชอบ
  • ผงคาเคาด็อกเตอร์อั้ม มีรสชาติดี ทานง่าย
  • ผงคาเคาด็อกเตอร์อั้ม หาซื้อง่าย ทั้งในหน้าเว็บไซต์ของแบรนด์, Shopee, Lazada, Tiktok การันตีได้ว่าผู้บริโภค จะได้รับของ ไม่โดนหลอกขาย อย่างแน่นอน

สนใจสินค้า ผงคาเคา ด็อกเตอร์อั้ม คลิกเลย >> https://shopee.co.th/<<

เห็นไหมว่า จากที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมด เราไม่ได้พูดถึงเรื่อง “ราคาถูก” เลย เพราะการตัดราคา ทำของถูก ๆ มาขาย ไม่ใช่แนวทางของแบรนด์ ซึ่งหลาย ๆ คนคิดว่า ขายของราคาถูก จะทำให้ขายง่าย และขายดี แท้จริงนั้น คนกลุ่มนี้ มักจะไม่ได้คิดถึงต้นทุนที่แท้จริง เพราะถ้าอนาคต ธุรกิจมีการเติบโตขึ้น อาจจะมีค่าใช้จ่าย ๆ อีกหลาย ๆ ปัจจัย เช่น

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
  • ค่าทำบัญชีรายเดือน-รายปี
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และ ค่าขนส่ง
  • ค่าแรงลูกน้อง-พนักงาน
  • ค่าเช่าโรงงาน เช่าโกดัง หรือเช่าตึก

เพราะการขายถูก อาจทำให้ไม่มีงบประมาณพอที่จะไปขยายธุรกิจ ขยายทีม ยิ่งถ้าหากมีการขึ้นราคาสินค้า เพื่อแก้ปัญหา อาจทำให้กลุ่มลูกค้าหลัก ๆ คือ กลุ่มคนชอบถูก ไม่ใช่ลูกค้าที่เข้ามาเพราะ คุณค่าของผลิตภัณฑ์ ลูกค้ากลุ่มนี้จะหายไปจากคุณทันที และบริษัทก็จะ เจ๊ง ในที่สุดนั่นเอง

ดังนั้น ก่อนจะ สร้างแบรนด์อาหารเสริม อย่าลืมถามตัวเองก่อนว่า สินค้าของคุณ ตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาอะไรให้คนอื่นจริงหรือไม่? และทำไมเขาต้องมาซื้อของชิ้นนี้กับคุณ ถ้ายังตอบไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งคิดลงมือทำ นั่นเอง

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

SGE CHEM ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรง พร้อมออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร การันตีคุณภาพสินค้า พร้อมส่งต่อสินค้าที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เข้าชมเว็บไซต์ sgechem.com