เรียบเรียงโดย ด็อกเตอร์อั้ม (Dr. Aum)

วิธีเลือก แคลเซียม อาหารเสริมแคลเซียม เลือกตัวไหนดี?

อีกหนึ่งอาหารเสริมที่นิยมทานกันในปัจจุบัน นั่นคือ แคลเซียม (Calcium) ซึ่งในกลุ่มบรรดา อาหารเสริมแคลเซียม ตามท้องตลาดก็มีอยู่มากมายหลากหลายแบรนด์ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรเลือก แคลเซียมตัวไหนดี ? บทความนี้ SGE CHEM จะมาอธิบายให้ฟัง เกี่ยวกับปัจจัยที่ควรู้ ก่อนเลือกซื้อ อาหารเสริมแคลเซียม หรือทานแคลเซียม เป็นอาหารเสริมกัน จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดู

เลือก-แคลเซียมตัวไหนดี-02

แคลเซียม(calcium) เป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับร่างกาย ประมาณร้อยละ 99% ของแคลเซียมในร่างกาย ใช้สร้างกระดูกและฟัน เพิ่มความหนาแน่นให้มวลกระดูก ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การหดตัวของกล้ามเนื้อ การแข็งตัวของเลือดเมื่อมีบาดแผล และช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลาย ๆ ชนิด เป็นต้น หากร่างกายขาดแคลเซียม จะทำให้เกิดปัญหาโรคกระดูกในเด็ก และโรคกระดูกพรุนในผู้ใหญ่ได้

ประเภทของแคลเซียม

แคลเซียมมักจะพบในรูปแบบ สารประกอบ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate), แคลเซียมซิเทรต (calcium citrate) หรือ แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต (calcium l-threonate) แต่ละแบบมีความแตกต่างกัน ดังนี้

  • แคลเซียม คาร์บอเนต (Calcium Carbonate)

เป็นแคลเซียมพื้นฐาน มีราคาถูกที่สุด มีแคลเซียมประมาณ 40% ของน้ำหนัก ดูดซึมได้ 10% ข้อเสีย คือ ต้องการน้ำย่อย เพื่อกระตุ้นให้ตัวแคลเซียมทำงาน เมื่อทานระหว่างวัน จะไม่ค่อยเห็นผล และอาจจะพบผลข้างเคียง เช่น ท้องอืด แน่นท้อง ซึ่งถือเป็นปกติของแคลเซียมชนิดนี้

  • แคลเซียม ซิเทรต (Calcium Citrate)

เป็นแคลเซียมที่ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นจากแคลเซียม คาร์บอเนต ให้มีการดูดซึมที่ง่ายขึ้น สามารถทานตอนท้องว่างได้ ข้อเสีย คือ มีแคลเซียมเพียง 21% ของน้ำหนัก ดูดซึมได้ 50% และดูดซึมได้ดีตอนท้องว่าง มีราคาปานกลาง

  • แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (Calcium L-threonate)

เป็นแคลเซียม ที่พัฒนาให้ดีขึ้นมาก ๆ จากเดิมในเรื่องของการดูดซึม มีแคลเซียมประมาณ 13% ของน้ำหนัก ดูดซึมได้ 95% มีราคาสูง และสามารถทานตอนท้องว่างได้

เลือก-แคลเซียมตัวไหนดี-03

แคลเซียมทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์

แคลเซียมเสริมในปัจจุบัน มีหลากหลายแบบมาก ๆ สิ่งสำคัญที่สุด ก่อนเลือกซื้อแคลเซียมเสริม คือ ปริมาณแคลเซียม ที่เป็นองค์ประกอบในอาหารเสริม ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ปริมาณ แคลเซียม ต่อหน่วยบริโภค จะถูกเขียนกำกับไว้บนฉลาก โดยอาจจะมีการเทียบเป็น เปอร์เซ็นต์ต่อวัน (%RDI) หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า ยิ่งแคลเซียมต่อหน่วยมาก จะยิ่งดี แต่ความจริงแล้ว ร่างกายของมนุษย์ มีการดูดซึม สารอาหารได้จำกัด การทานอาหารทีเดียวครั้งละมาก ๆ ร่างกายจะรับเข้ามาได้เพียงส่วนนึงเท่านั้น ส่วนที่เหลือ จะถูกขับออกจากร่างกาย โดยตัวเลขงานวิจัยระบุว่า ร่างกายจะรับแคลเซียม ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/ครั้ง เท่านั้น ดังนั้น การทานแคลเซียม ครั้งละ 1000 มิลลิกรัม สรุปได้ง่าย ๆ ว่า สิ้นเปลือง!!

โดยร่างกายของเรา ควรได้รับปริมาณแคลเซียมต่อวัน อยู่ที่ปริมาณ 800 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการขาดแคลเซียม

แคลเซียมเสริมทานตอนไหนถึงจะดี

ก่อนจะไปถึงการเลือกว่า แคลเซียมตัวไหนดี ซึ่งในปัจจุบันตามซุปเปอร์มาเก็ต ห้าง หรือร้านขายยา มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมให้เลือกมากมาย ทั้งแบบ เม็ดยา เม็ดแคปซูล แบบน้ำ แบบเยลลี่ แบบเม็ดฟู่

อย่างที่รู้กันว่า การได้รับแคลเซียมจากอาหารเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผู้ที่แพ้แลคโตส ไม่กินเนื้อสัตว์ หรือทานผลิตภัณฑ์จากนม การเสริมแคลเซียม สามารถช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมมากขึ้น ควรเลือกสูตรที่มีส่วนผสมของแคลเซียมชิเตรท และแคลเซียมแลคเตทกลูโคเนท เพื่อให้ละลายน้ำได้ดี และเลือกแคลเซียมที่มีส่วนผสมของวิตามินดี เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และเป็นประโยชน์ต่อกระดูก

เลือก-แคลเซียมตัวไหนดี-04

อย่างไรก็ตาม การเสริมแคลเซียม อาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น ท้องผูก ท้องอืด มีแก๊สเยอะ หรือทำให้ร่างกายขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร หรือยาอื่น ๆ ดังนั้น หากทานยาอื่น ๆ อยู่เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทานแคลเซียม

ข้อควรระวังในการทานแคลเซียม

การทานแคลเซียมนั้น นอกจากการ เลือกทานแบบไหนดี แต่ก็มีข้อควรระวังในการทานด้วย แคลเซียมไม่ควรทานคู่กับอะไร ดังนี้

  • ไม่ควรทานคู่กับ ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน เตตร้าไซคลิน เพราะทำให้ยาเหล่านี้ถูกดูดซึมน้อยลง ควรกินยาเม็ดแคลเซียมให้ห่างจากยาอื่น ๆ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • ไม่ควรทานคู่กับยา ลดความดันโลหิตบางกลุ่ม เช่น Calcium channel blockers
  • ไม่ควรทานคู่กับ ฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์
  • ไม่ควรทานคู่กับ ยาในกลุ่มบิสฟอสโฟเนต
  • ห้ามทานอาหารแปลก ๆ ที่มีโฆษณา ชวนเชื่อว่า เป็นอาหารเสริมแคลเซียม เช่น เปลือกหอยบางชนิด กระดูกสัตว์แปลก ๆ ประการัง เพราะนอกจากจะมีแคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมไม่ได้เเล้ว อาจจะมีแร่ธาตุที่เป็นพิษต่อร่างกายอื่น ๆ เช่น แมงกานีส ตะกั๋ว หรือปรอท อีกด้วย
  • ไม่ควรทาน แคลเซียมเสริมอาหาร เกินปริมาณที่ฉลาก หรือ อย. กำหนด การได้รับสารอาหารมากเกินไปเป็นเรื่องไม่ดี เพราะร่างกายอาจจะได้รับโทษ แทนการได้รับประโยชน์จากสารอาหารนั้น ๆ
  • สำหรับคนที่ ทานอาหารเสริม สังกะสี (Zinc) อยู่ ให้ทิ้งระยะเวลา สัก 3-4 ชั่วโมง ก่อนทานเเคลเซียม เพื่อลดการเกิดอาการไม่พึ่งประสงค์ได้
  • ควรรับประทาน วิตามินดี ร่วมด้วย หรือตากแดด (การตากแดด คือ วิธีธรรมชาติ ที่ทำให้ร่างกายได้รับ วิตามินดี)

Dr. Aum Calcium L-threonate Plus Vitamin D 500 mg

แคลเซียมดูดซึม 90% บำรุงกระดูกและฟัน

ผลิตภัณฑ์จาก Dr.Aum Calcium L-threonate 500 mg , Vitamin D3 2.5 mg. แคลเซียมดูดซึม 90% บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยเสริมแคลเซียมให้กับร่างกาย ช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง และช่วยในการดูดซึมตามปกติของแคลเซียมและฟอสฟอรัส

สนใจสินค้า คลิกเลย

จบไปแล้ว การเลือกทานแคลเซียมแบบไหนดี เรียกได้ว่า แคลเซียมนั้น เป็นสิ่งที่ที่ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาโรคกระดูกในเด็ก และโรคกระดูกพรุนในผู้ใหญ่ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อทานอาหารเสริมแคลเซียม ก็อย่าลืมทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ด้วย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร แร่ธาตุอื่น ๆ อย่างเหมาะสมนั่นเอง

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

SGE CHEM ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรง พร้อมออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร การันตีคุณภาพสินค้า พร้อมส่งต่อสินค้าที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เข้าชมเว็บไซต์ sgechem.com