เมื่อพูดถึงเรื่องการดูแลสุขภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร รวมถึงการรับประทาน อาหารเสริม (Complementary foods) ซึ่งอาหารเสริมในปัจจุบันนั้นก็มีให้เลือกมากมาย หลากหลายยี่ห้อ โดยการให้อาหารเสริมมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น เพื่อช่วยให้สุขภาพแข็งแรง เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย หรือเพื่อช่วยให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตที่ดี เป็นต้น แล้วอาหารเสริมที่มีขายในปัจจุบันนั้นดีต่อร่างกายของเราอย่างไรบ้าง?

วันนี้ SGE CHEM จะพาไปทำความรู้จักกับอาหารเสริมให้มากขึ้นกัน


อาหารเสริม คืออะไร?

คือ สารอาหารที่ใช้รับประทานเพิ่มเติมจากมื้ออาหารหลัก อาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ หรือเพื่อบำรุงสุขภาพตามความต้องการของแต่ละคน ส่วนสารอาหารที่มักถูกนำมาทำเป็นอาหารเสริม ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน พืช ผัก สมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น

210304-Content-อาหารเสริม-คืออะไร-ดีต่อร่างกายจริงหรือไม่-edit02


อาหารเสริมถูกผลิตออกมาให้สามารถรับประทานได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบเม็ด แบบแคปซูล แบบผง หรือแบบน้ำ โดยอาหารเสริมอาจเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการรักษาทางการแพทย์ ที่ผู้ป่วยต้องรับประทานภายใต้การดูแลจากแพทย์เท่านั้น หรืออาจถูกวางจำหน่ายตามร้านขายยา ซึ่งผู้บริโภคควรรับประทานตามคำแนะนำของเภสัชกรและข้อบ่งชี้ที่ระบุบนฉลากอย่างเคร่งครัด


ประโยชน์ของอาหารเสริม มีอะไรบ้าง
?

อาหารเสริมนั้นเป็นอาหารที่เพิ่มเติม หรือเสริมจากอาหารหลักที่เรากินกันในแต่ละมื้อ เป็นสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย เพิ่มเติมจากการกินอาหารมื้อปกติ หรืออาจจะเป็นสารอาหารทดแทนเพื่อตอบสนองต่อร่างกาย ซึ่งไม่สามารถผลิตเองได้ตามปกติ  อันเนื่องมาจากความผิดปกติของร่างกาย หรืออาจจะเกิดขึ้นจากความบกพร่องของระบบการทำงานของร่างกายบางอย่าง ที่จำเป็นต้องได้รับจากการกินสารอาหารเสริม หรือเหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ ที่ต้องการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์

210304-Content-อาหารเสริม-คืออะไร-ดีต่อร่างกายจริงหรือไม่-edit04


ข้อดีของอาหารเสริม

  • สามารถทดแทนสารอาหาร ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ
  • ทำให้เรามีสุขภาพดีได้ เมื่อเรามีสุขภาพดี การเกิดโรคเสื่อมต่างๆ ของเราก็จะเกิดขึ้นได้ช้าลง อายุยืนมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการ ของกลุ่มอาการโรคบางอย่างได้ เช่น วิตามินบี 12 ช่วยบำรุงสมอง ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม
  • สามารถป้องกันการเกิดโรคบางอย่างให้เกิดขึ้นได้ช้าลง เช่น เลซิตินกับการลดไขมัน น้ำมันปลากับการเกิดเบาหวานเป็นต้น
  • มีผลดีต่อความสวยงามของร่างกาย ดีจากภายในสู่ภายนอก เช่น การกินวิตามิน ชี ช่วยลดการเกิดเม็ดสีของผิว ทำให้การเกิด กระ ฝ้า ได้ช้าลง ผิวหนังมีคอลลาเจน ผิวขาวกระจ่างสดใสมากยิ่งขึ้น

▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾

วิธีการเลือกอาหารเสริม

อาหารเสริมพื้นฐานที่ควรเลือกบริโภค มีดังนี้

  • วิตามินบีคอมเพล็กซ์ (Vitamin B-comples)
    คือ อาหารเสริมที่รวมตั้งแต่ บี1-บี12 ที่ประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสำคัญต่อระบบประสาทและสมอง ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดพลังงานแก่ร่างกาย ผู้ใหญ่ควรบริโภคประมาณ 50-100 มิลลิกรัมต่อวันในทุกเช้า
  • วิตามินซี (Vitamin C)
    เป็นวิตามินที่ตับของมนุษย์ไม่สามารถผลิตออกมาได้เอง จึงจำเป็นที่จะต้องเติมเต็มเข้าสู่ร่างกาย และเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำจึงไม่สะสมอยู่ในร่างกาย สามารถแบ่งกินระหว่างวันได้ทุก ๆ 6 ชั่วโมง ปริมาณบริโภคที่แนะนำคือ 60-90 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยป้องกันการขาดสารอาหาร และปริมาณ 3,000-6,000 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยบำรุงร่างกาย วิตามินซีช่วยบำรุงระบบการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น ช่วยลดปัญหาในช่องปากและฟัน เช่น เลือดออกตามไรฟันบำรุงเหงือก
  • ซิงก์ (ZINC)
    เป็นแร่ธาตุที่ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศ และช่วยชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปกับเหงื่อ มีสารประกอบเมทัลโปรตีน ซึ่งเป็นโปรตีนสังเคราะห์ที่ช่วยในกระบวนการเจริญเติบโตของเซลล์ และเนื้อเยื่อ ปริมาณบริโภคที่แนะนำต่อวันคือ 5.5-9.5 มิลลิกรัมในผู้ชาย และ 4-7 มิลลิกรัมในผู้หญิง ควรกินพร้อมอาหาร หากกินเพียงอย่างเดียวขณะท้องว่างอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้
  • โอเมก้าทรี (Omega-3)
    เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่สกัดจากปลาทะเล และพืชจำพวกถั่ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็นดีเอชเอ (DHA) โดยอวัยวะตับ แต่จากผลการวิจัยขององค์การความปลอดภัยของอาหารแห่งยุโรป (EFSA) ไม่พบหลักฐานชัดเจนว่าช่วยบำรุงสมองในเด็ก แต่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกและไขข้อต่างๆ ช่วยลดสภาวะจิตใจหดหู่ ลดคอเลสตอรอลในเลือด และลดอัตราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจปริมารบริโภคที่แนะนำคือไม่ควรเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เวย์โปรตีน (Whey protein)
    เป็นอาหารเสริมที่สกัดได้จากหางนม และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เช่น ชีส เนื้อแดง จึงเหมาะกับผู้กินชีวจิต และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะมีโปรตีนสูงช่วยเผาผลาญไขมัน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยังช่วยกรองระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด โดยการควบคุมการดูดซึมอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือด ปริมาณที่ควรบริโภคต่อวันคือ ไม่เกิน 1-2 กรัม


? อาหารเสริม ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่?

ไม่ใช่อาหารเสริมทุกตัวที่ได้รับการรับรองประสิทธิภาพและความปลอดภัย แม้อาหารเสริมบางชนิดจะผ่านการทดลองในห้องปฏิบัติการมาแล้วก็ตาม แต่อาหารเสริมและส่วนประกอบในอาหารเสริมเหล่านั้น อาจยังไม่ได้รับการพิสูจน์ถึงประสิทธิผลและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นอย่างชัดเจนเสมอไป ยิ่งไปกว่านั้น การบริโภคอาหารเสริมอย่างผิดวิธี หรือเกินปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้บริโภคได้

ดังนั้น การรับประทานอาหารเสริมแต่ละชนิด จะปลอดภัยก็ต่อเมื่อผู้บริโภคใช้อาหารเสริมตัวนั้นอย่างถูกวิธีในปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสม ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรเสมอ

กินอาหารเสริมเมื่อไหร่ดีนะ?

  • เมื่อมีความจำเป็น เพราะร่างกายขาดสารอาหารบางอย่าง
  • เมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างสารอาหารเองได้อย่างเพียงพอ เช่น อยู่ในภาวะป่วยเป็นโรค ความแก่ชรา
  • เมื่อต้องการมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์สูงสุด เพราะการบริโภคอาหารมื้อปกติได้ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน หรือถ้าได้สารอาหารบางอย่างครบถ้วน แต่อาจทำให้เราได้รับสารอาหารบางอย่างมากเกินความจำเป็นของร่างกาย เช่น กินเนื้อหมูได้โปรตีนที่เพียงพอ แต่ก็จะได้รับไขมันที่มากเกินความจำเป็น เกิดการสะสมไขมันในเส้นเลือด ทำให้เกิดโรคจากภาวะเสื่อมของร่างกาย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดในสมองตีบ เป็นต้น
  • เมื่อไม่มีเวลาดูแลร่างกาย ขาดการออกกำลังกายในการขจัดไขมัน การรับประทานอาหารเสริมบางอย่างสามารถช่วยได้ เช่น การใช้สารสกัดจากชาเขียว เพื่อเผาพลาญไขมันในร่างกาย การกินโปรตีนเสริมเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ เป็นการเพิ่มสัดส่วนการเผาผลาญสารอาหารได้สูงขึ้น การกินไขมันดี เพื่อไปขจัดไขมันชนิดอิ่มตัวหรือไขมันเลว
  • อาหารเสริมสามารถหาซื้อกินได้ตลอดเวลา และสะดวกในการกิน
  • อาหารเสริมควรใช้ให้เป็น ศึกษาข้อมูลก่อนการบริโภคทุกครั้ง
210304-Content-อาหารเสริม-คืออะไร-ดีต่อร่างกายจริงหรือไม่-edit03


? ผลข้างเคียงและความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารเสริม
นอกจากประสิทธิภาพทางการบำบัดรักษาผู้ป่วยในบางกรณีแล้ว การรับประทานอาหารเสริมอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย หรืออาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการรักษาทางการแพทย์บางประการได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่เพิ่งเริ่มบริโภคอาหารเสริมเป็นครั้งแรก ผู้ที่บริโภคอาหารเสริมผิดวิธี ผู้ที่บริโภคอาหารเสริมแทนการรับประทานยารักษา ผู้ที่บริโภคอาหารเสริมร่วมกันหลาย ๆ ชนิด หรือบริโภคร่วมกับการใช้ยาชนิดอื่น ๆ ด้วย บุคคลเหล่านี้ คือ ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลข้างเคียงจากการบริโภคอาหารเสริมมากกว่าคนทั่วไป


อย่างไรก็ตาม ผู้ที่กำลังบริโภคอาหารเสริมจึงควรระมัดระวัง และเฝ้าสังเกตอาการที่อาจเป็นผลข้างเคียงของการใช้อาหารเสริมชนิดนั้น ๆ ด้วย เพื่อให้สามารถไปพบแพทย์และรับการรักษาได้ทันเวลา และหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงที่อาจก่ออันตรายแก่ชีวิตได้ ?

>>สามารถอ่านบทความต่าง ๆ จาก SGE CHEM ได้ตามนี้เลย<<