เรียบเรียงโดย ด็อกเตอร์อั้ม (Dr. Aum)

“ฮอร์โมน (Hormones)” ชาย-หญิง สำคัญอย่างไรกับร่างกาย

เมื่อพูดถึง ฮอร์โมน หลายคนจะต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี เป็นสารเคมีในร่างกายที่มีอยู่ในร่างกายของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย เพื่อสร้างความสมดุลในร่างกาย หากเกิดความผิดปกติในร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะผิดปกติต่าง ๆ ได้

บทความนี้ SGE CHEM จะพาไปรู้จักกับ ฮอร์โมน (Hormones) คืออะไร? เพศหญิงและเพศชาย มีฮอร์โมนที่ต่างชนิดกันอย่างไรบ้าง? ไปดูกัน

รู้จัก ฮอร์โมน

ฮอร์โมน (Hormones) คือ สารเคมีที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจากต่อมไร้ท่อ หรือเนื้อเยื่อ ลำเลียงไปตามกระแสเลือดไปยังเซลล์ อวัยวะต่าง ๆ ช่วยในการสื่อสารระหว่างเซลล์ และควบคุมระบบของร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติ และปริมาณฮอร์โมน ก็จะทำหน้าที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัยด้วย

What is Hormones-02

นอกจากนี้ ฮอร์โมนจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน และกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกายในแต่ละช่วงเวลา อายุ และควบคุมกระบวนการ Metabolism ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ประมาณน้ำในร่างกาย ความดัน อุณหภูมิ ระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมระบบสืบพันธุ์ต่าง ๆ ด้วย

รู้ไหมว่า? ฮอร์โมงผลิตจากต่อมไร้ท่อ (Endocrine Gland) โดยแบ่งเป็น

  • ต่อมไร้ท่อที่จำเป็น เช่น ตับอ่อน ถ้าขาดฮอร์โมนจากอวัยวะเหล่านี้ อาจทำให้เกิดอันตรายกับร่างกาย
  • ต่อมไร้ท่อที่ไม่จำเป็น เช่น รังไข่ ถ้าขาดฮอร์โมนจากอวัยวะเหล่านี้ไป ร่างกายก็ยังคงทำงานได้
  • เนื้อเยื่อ (Tissue) ผลิตฮอร์โมนที่กระตุ้นระบบย่อยอาหาร เช่น กะเพาะอาหาร สำไส้เล็ก
  • เซลล์ประสาท (Neuron) ผลิตจากต่อมใต้สมอง เช่น ไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่ส่งคำสั่งไปยังอวัยวะเป้าหมายให้ทำงาน

ชนิดของฮอร์โมน มีอะไรบ้าง?

ฮอร์โมนมีหลายกลุ่ม หลายชนิด และในเพศหญิง เพศชาย จะมีฮอร์โมนที่ต่างชนิดกัน มีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ปริมาณและหน้าที่ของฮอร์โมนในแต่ละะช่วงวัยก็แตกต่างกันด้วย เรียกได้ว่าฮอร์โมน มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก เพราะหากไม่มีฮอร์โมน ร่างกายของก็อาจจะมีภาวะความผิดปกติบางอย่างได้ โดยชนิดของฮอร์โมนที่สำคัญในร่างกาย มีดังนี้

ชนิดของฮอร์โมน-03
  • เอ็นโดรฟิน (Endorphin) เป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับความสุข ที่หลั่งออกที่จากใต้สมอง ทำให้มีความสุข รู้สึกผ่อนคลาย มีความพอใจ และจะหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมา เพื่อกระตุ้นความรู้สึกในแง่บวก แต่ถ้าอยู่ในภาวะเครียด วิตกกังวล ฮอร์โมนชนิดนี้จะลดลง
  • โดพามีน (Dopamine) เป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับความพึงพอใจ ความรู้สึกยินดี และรักใคร่ จะหลั่งออกจากสมองกับเซลล์ประสาทในร่างกาย โดพามีนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบประสาทหลาย ๆ ส่วน เช่น การทำงานของระบบประสาท การเคลื่อนไหว และการเรียนรู้ เป็นต้น หากโดพามีนในร่างกายต่ำเกินไป จะทำให้เกิดความรู้สึกซึมเศร้า หดหู่ หรือทำให้เป็นโรคพาร์กินสันได้ เพราะระบบการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทไม่สัมพันธ์กัน
  • เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยต้านความเครียด ที่หลั่งออกมาจากสมอง และทางเดินอาหาร มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ พฤติกรรม การนอนกลับ และอารมณ์ ถ้าระดับฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำเกินไป จะส่งผลทำให้รู้สึกหงุดหงิด นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ มีภาวะปวดศีรษะ ไมเกรน และอาจมีอาการเป็นภาวะซึมเศร้าได้
  • คอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด สร้างมาจากต่อมหมวกไต เมื่อมีความเครียด วิตกกังวล หรือป่วยไข้ โดยฮอร์โมนชนิดนี้ จะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้น เพื่อให้พร้อมในการฟื้นฟูร่างกาย กระตุ้นการตอบสนองของเซลล์ต่อความเจ็บปวด ภาวะการอักเสบ และการติดเชื้อ เป็นต้น จึงทำให้หิวบ่อย และน้ำหนักขึ้นได้เร็วกว่าปกติ
  • อะดรีนาลีน (Adrenaline) หรือ อิพิเนฟริน (Epinephrine) เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความโกรธ หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไต ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนนี้ เพื่อให้มีการเตรียมพร้อมให้ร่างกายเข้าสู่การตอบสนองต่อการใช้พลังงาน และภาวะการฉุกเฉิน ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานได้ดี หัวใจบีบตัวได้มากขึ้น โดยฮอร์โมนชนิดนี้ จะหลั่งช่วงที่มีอาการตื่นเต้น
  • เทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชาย ที่หลั่งมาจากอัณฑะ ใช้คอเลสเตอรอลในการสังเคราะห์ โดยฮอร์โมนชนิดนี้ จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เด็กจนโต พัฒนาตามวัย มีหนวด เครา ขนขึ้น เสียงแตก มีกล้าม และมีอวัยวะเพศใหญ่ขึ้น เป็นต้น
  • เอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ถูกสร้างจากรังไข่ โดยฮอร์โมนชนิดนี้ ทำให้ร่างกายของผู้หญิงมีการเจริญเติบโต พัฒนาตามวัย มีความเป็นผู้หญิงมากขึ้น มีเต้านม สะโพกผาย มีผิวที่ดีขึ้น มีประจำเดือน เป็นต้น
  • โปรเจสเตอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ เป็นสารธรรมชาติที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้ และฮอร์โมนชนิดนี้จะสูงขึ้น ในช่วงที่กำลังจะตั้งครรภ์ หรือมีรอบเดือน

รู้จัก ฮอร์โมนเพศหญิง

ฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญ คือ

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง มีผลต่อการเจริญเติบของเพศหญิง เช่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการหมดประจำเดือน หากมีฮอร์โมนชนิดนี้มากเกินไป อาจส่งผลให้มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวนได้
  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ทำหน้าที่ในการควบคุมภาวะไข่ตก และการมีประจำเดือน ช่วยดูแลการตั้งครรภ์ และควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐานของร่างกาย
  • ฮอร์โมน Follicular stimulating hormone (FSH) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้ไข่มีการเจริญเติบโต และพร้อมต่อการผสมกับอสุจิ มีผลต่อการเจริญเติบโตทางเพศในช่วงวัยเจริญพันธุ์
  • ฮอร์โมน Luteinizing hormone (LH) ทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ไข่เจริญเต็มที่ แล้วตกจากรังไข่ เพื่อพร้อมต่อการผสมกับอสุจิ
Women-Hormones-04

สาเหตุที่ฮอร์โมนเพศหญิงลดลง

  • เกิดจากช่วงอายุที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงวัย
  • เกิดจากความเครียด ทำให้ฮอร์โมนมีความผิดปกติได้
  • การทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารไขมันสูง ของหวาน หรือดื่มแอลกอฮอล์ จนส่งผลให้ฮอร์โมนผิดปกติ
  • เกิดจากยาบางชนิด อาจส่งผลต่อความผิดปกติของฮอร์โมนได้
  • มีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ มีความผิดปกติเกิดขึ้น

สำหรับในช่วงวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน โดยอายุเฉลี่ยอายุ ประมาณ 48-52 ปี และนอกจากจะเกิดจากอายุที่มากขึ้นแล้ว ทำให้ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้ หรืออาจเกิดจากโรคบางชนิด หรือการใช้ยาเคมีบำบัด ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

Women-Hormones-05

วิธีการปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง

  • พักผ่อนให้เพียงพอ ช่วยในการปรับสมดุลฮอร์โมนให้เป็นปกติได้
  • ดูแลสุขภาพทางจิตให้ดี ควรหลีกเลี่ยงภาวะความเครียด เพื่อรักษาสมดุลของฮอร์โมนให้มีสุขภาพที่ดี
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อสร้างความสมดุลของฮอร์โมน ควรเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน น้ำตาลสูง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์
  • ควรเสริมอาหารจำพวกโปรตีนจากพืช เช่น อัลมอนด์ ถั่วเหลือง ควินัว เมล็ดฟักทอง ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน
  • ควรควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม พอดีเกณฑ์

รู้จัก ฮอร์โมนเพศชาย

ฮอร์โมนเพศชาย เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากอัณฑะ จะช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศ และส่งผลต่อการทำงานของส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ลดไขมันสะสมในร่างกาย ช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้

men-Hormones-06

สาเหตุที่ฮอร์โมนเพศชายลดลง

  • ติดเชื้อบริเวณลูกอัณฑะ
  • มีความผิดปกติทางด้านฮอร์โมนจากโรคเลือดกับสมอง
  • มีโรคที่เกี่ยวกับระบบต่าง ๆ เช่น โรคตับ ไตเรื้อรัง และโรค HIV
  • เกิดจากการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
  • เกิดอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บบริเวณลูกอัณฑะ
men-Hormones-07

วิธีการปรับสมดุลฮอร์โมนเพศชาย

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • หลีกเลี่ยงการของทอด และของหวาน
  • ควบคุมอาหารประเภทแป้ง และไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

ฮอร์โมนกับผิวพรรณ และร่างกาย

ปัญหาระดับฮอร์โมน ที่มีผลข้างเคียงกับสุขภาพ และผิวพรรณโดยตรง อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ได้ เช่น

  • เกิดสิวฮอร์โมน หน้ามัน ผิวแห้งกร้าน และเกิดริ้วรอย
  • ระดับการเผาผลาญพลังงานในร่างกายลดลง
  • มวลกล้ามเนื้อในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง
  • มีปริมาณน้ำตาล และไขมันในเลือดสะสมมากขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือมีภาวะซึมเศร้า
Hormonal Acne-08

คลายสงสัย สิวฮอร์โมน เกิดจากอะไร? เป็นช่วงเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย อาการที่ส่งผลออกมาทางผิวหนังเป็นอย่างแรก คือ สิวชนิดต่าง ๆ เช่น สิวอุดตัน สิวอักเสบ สิวหัวหนอง เป็นต้น เกิดจากฮอร์โมนแอนโดรเจนที่ไม่สมดุล และมีปริมาณมากเกิน ไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมัน และ Sebum ออกมามากจนเกินความจำเป็นจนหน้ามัน และเมื่อหน้ามันผสมเข้ากับเซลล์ผิวที่ตาย หรือเชื้อแบคทีเรียที่อยู่บนผิวหน้า จะเกิดการอุดตัน กลายเป็น สิว นั่นเอง

จบไปแล้ว ฮอร์โมนคืออะไร คงทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจกันแล้ว อย่างไรก็ตาม เพศหญิง เพศชาย ต่างก็มีฮอร์โมนที่แตกต่างกันไป การดูแลตัวเอง ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อรักษาสมดุลฮอร์โมนให้มีความปกติอยู่เสมอเป็นสิ่งที่ควรทำ

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

SGE CHEM ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรง พร้อมออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร การันตีคุณภาพสินค้า พร้อมส่งต่อสินค้าที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เข้าชมเว็บไซต์ sgechem.com