เรียบเรียงโดย ด็อกเตอร์อั้ม (Dr. Aum)

ทำความรู้จัก สารให้ความหวานแทนน้ำตาล คืออะไร? มีอะไรบ้าง?

สารให้ความหวาน ที่กำลังนิยมมาก ๆ ในกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพ หรือแม้แต่กลุ่มผู้ที่เป็นเบาหวาน เพราะความหวานจากน้ำตาลนั้น เป็นเพชฆาตตัวดี ที่บั่นทอนอายุของเราได้ร้ายมากกว่าบุหรี่เสียอีก และน้ำตาล ยังเป็นศัตรูอันดับ 1 ของสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นตัวก่อโรคภัยมากมายให้คนในยุคนี้

SGE CHEM จะพาไปรู้จักการเลือก สารให้ความหวานแทนน้ำตาล แบบต่าง ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น ความหวานตามธรรมชาติ และแบบสังเคราะห์ จะมีอะไรบ้างนั้น ตามไปดูกันเลยดีกว่า

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล คือ?

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Non-nutritive sweeteners) เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมา ไม่ได้เกิดจากผลผลิตมาจากธรรมชาติ หรือบางส่วนอาจเกิดขึ้นเองจากพืช ซึ่งเป็นเครื่องปรุงรสชาติทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพในปัจจุบัน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล-Non-nutritive-sweeteners-02

กล่าวได้ว่า สารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้น เป็นสารที่มีรสชาติหวาน ส่วนมากจะหวานกว่าน้ำตาล ซึ่งเป็นสารที่ไม่ให้พลังงาน หรือให้พลังงานต่ำ มักพบได้ในอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ เช่น อาหารเสริมวิตามิน อาหารเสริมสารต่อต้านอนุมูลอิสระ อาหารเสริมเพื่อการลดน้ำหนัก หรือพบในเครื่องดื่ม เช่น เครื่องดื่มน้ำอัดลม ลูกอมบางชนิด เป็นต้น

ประเภทสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบธรรมชาติ เช่น Sorbitol, Xylitol, Erythritol, Stevia glycosides, Maple syrup, น้ำผึ้ง, น้ำตาลมะพร้าว, สารสกัด, หล่อฮังก๊วย และอินทผาลัม เป็นต้น โดยเฉพาะ น้ำผึ้ง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยต้านอนุมูลอิสระสูง และมีดัชนีน้ำตาลต่ำ
  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบสังเคราะห์ หรือสารให้ความหวานเทียม เช่น Aspatam, Saccharin, Acesulfame potassium และ Sucralose เป็นต้น สารให้ความหวานเทียมโดยทั่วไปถือว่าปลอดภัยในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ประโยชน์ที่ได้รับอาจไม่เทียบเท่ากับสารแทนความหวานตามธรรมชาติ

สารให้ความหวาน แทนน้ำตาล มีอะไรบ้าง?

สารให้ความหวาน แทนน้ำตาลแต่ละชนิด มีคุณสมบัติ ดังนี้

สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล แบบไม่ให้พลังงาน

  • หล่อฮังก๊วย สมุนไพรจีนที่ขึ้นชื่อเรื่องสรรพคุณทางยา มีรสหวาน ช่วยทำให้ชุ่มคอ และช่วยรักษาอาการอักเสบได้ มีความหวานกว่าน้ำตาลทั่วไป ประมาณ 100-250 เท่า เป็นสารให้ความหวาน ที่ไม่กระตุ้นการหลั่งสารอินซูลิน และไม่มีแคลอรีอีกด้วย
  • หญ้าหวาน (Stevia) สกัดจากใบของพืชหญ้าหวาน มีแคลอรีต่ำ มีรสชาติหวานปนขม หวานกว่าน้ำตาลทั่วไปประมาณ 250-300 เท่า แต่ให้พลังงาน 0 แคลอรี่ นิยมในการประกอบอาหาร หรือมักใช้กับผู้ที่ควบคุมน้ำตาล เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีอีกด้วย
  • ชะเอมเทศ (Albizia myriophylla Benth) มีสรรพคุณโดดเด่น เช่น แก้คอแห้ง ช่วยทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการไอและเจ็บคอ มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 50-100 เท่า โดยถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร แต่งรสหวานในลูกอม และขนมต่าง ๆ แต่มีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรทานติดต่อกันนาน ๆ เพราะอาจส่งผลต่อความดันโลหิตได้
  • อิริทริทอล (Erythritol) เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ มีแคลอรี่ต่ำ ความหวานคล้ายน้ำตาลทรายขาว ให้พลังงานประมาณ 0.24 แคลอรี่ต่อกรัม ผู้ที่ทานคีโต และเป็นโรคเบาหวาน สามารถทานได้ มักใช้ในการประกอบอาหาร และเบเกอรี่ต่าง ๆ หรือใช้ในหมากฝรั่ง
  • ซูคราโรส (Sucralose) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบไม่ให้พลังงาน ให้ความหวานใกล้เคียงกับน้ำตาล มีความหวานกว่าน้ำตา ประมาณ 600 เท่า  นิยมใช้ในการทำเบเกอรี่ สามารถใช้ปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงได้ แต่อาจส่งผลข้างเคียงกับบางคน ทำให้ปวดศีรษะได้
สารให้ความหวานแทนน้ำตาล-Non-nutritive-sweeteners-03

กลุ่มสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล แบบให้พลังงาน

  • น้ำผึ้ง (Honey) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจากธรรมชาติ ที่ให้พลังงาน และมีแคลรอรีค่อนข้างสูง เพราะน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ให้พลังงานประมาณ 20 กิโลแคลอรี่ มีรสชาติหอม หวาน อร่อย ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย ช่วยบำรุงสมองและความงาม อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เหมาะกับการทานคู่กับเครื่องดื่ม และอาหารว่าง ข้อควรระวัง คือ ควรระวังปริมาณในการทานด้วย โดยเฉพาะผู้เป็นโรคเบาหวาน และกลุ่มคนที่ต้องการลดน้ำหนัก
  • น้ำตาลมะพร้าว (Coconut sugar) มีกลิ่น และรสชาติหอมมัน กลมกล่อม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นสารให้ความหวานที่สามารถทดแทนน้ำตาลจากธรรมชาติ ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ คือ 35 และยังมีโพแทสเซียม ในการควบคุมความดัน และน้ำตาลในเลือด ช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน ให้ความหวานแบบสดชื่น ช่วยลดอาการอ่อนเพลียให้ร่างกายได้อีกด้วย ข้อควรระวัง คือ ควรระวังปริมาณในการทานด้วย โดยเฉพาะผู้เป็นโรคเบาหวาน และกลุ่มคนที่ต้องการลดน้ำหนัก
  • แซคคารีน (Saccharin) เป็นสารให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200-700 เท่า มีรสชาติหวาน ให้พลังงานต่ำ มีรสขมปลายลิ้น นิยมใช้ในเครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ ในปริมาณสูง อาจจะมีผลเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้
  • แอสพาร์แตม (Aspartame) มีความหวานกว่าน้ำตาล ประมาณ 200 เท่า หากใช้ในปริมาณมาก มีรสชาติขม และเป็นสารที่ให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทราย 4 กิโลแคลอรีต่อกรัม แต่จะใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า จึงทำให้ได้รับพลังงานที่น้อย ข้อเสียของสาร Aspartame คือ เมื่อโดนความร้อน โครงสร้างของสารจะเปลี่ยน ไม่ควรใช้ในการปรุงอาหาร และเก็บไว้นาน ๆ

ประโยชน์ของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

  • ไม่เพิ่มพลังงาน ไม่เพิ่มความอยากอาหาร ช่วยลดพลังงานที่ได้รับ เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารที่มีพลังงานสูง
  • ช่วยลดน้ำหนักได้เล็กน้อย รวมทั้งช่วยลดมวลไขมัน และเส้นรอบวงเอวได้
  • ส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารและอินซูลิน ทั้งในผู้ที่มีสุขภาพดี และผู้ที่เป็นเบาหวาน
  • ไม่ทำให้ฟันผุ เพราะสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนี้ จะไม่ถูกหมักในช่องปาก โดยเชื้อแบคทีเรีย และลดอัตราการสูญเสียแร่ธาตุของฟัน
สารให้ความหวานแทนน้ำตาล-Non-nutritive-sweeteners-04

ข้อควรระวังในการทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

  • ในกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ซอร์บิทอล แมนนิทอล เป็นชนิดน้ำตาลที่ไม่สามารถย่อยได้หมด อาจเกิดอาการมวลท้อง ท้องอืด และท้องเสียได้
  • การบริโภคสารให้ความหวานเป็นประจำ อาจจะทำให้รู้สึกติดรสหวาน และไม่สามารถควบคุมอาหารการกินได้อย่างเต็มที่
  • ควรใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยไมเกรน ผู้ป่วยโรคลมชัก และเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี
  • ในงานวิจัยของสมาคมหัวใจอเมริกัน พบว่า การทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบสังเคราะห์ เพิ่มความเสี่ยงกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และความจำเสื่อมได้
  • น้ำตาลเทียมบางชนิด หากบริโภคมากเกินไป ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ วิงเวียน บางชนิดกระตุ้นการเกิดกรดในกระเพาะ เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะได้
  • ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน
  • น้ำผึ้ง มีส่วนประกอบ ของน้ำตาลกลูโคสและฟรักโทส แม้จะเป็นน้ำตาลที่พบในธรรมชาติ แต่หากบริโภคมากเกินไป จะทำให้ค่าไขมันไตรกลีซอไรด์สูงได้
  • หญ้าหวาน เป็นสารให้ความหวานที่ปลอดภัย ต่อผู้บริโภค ควรบริโภคไม่เกิน 4 มิลลิกรัมตือน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

อย่างไรก็ตาม สารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้น มีประโยชน์เพื่อลดพลังงาน และผู้ป่วยที่ต้องจำกัดการบริโภคน้ำตาล แต่การทานในปริมาณที่มากเกิน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน เพราะสารให้ความหวานแทนน้ำตาลบางชนิด ไม่มีคุณค่าทางด้านโภชนาการ อาจมีสารเคมีที่ทำให้ตกค้างในร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่ได้รับพลังงาน ซึ่งอาจะทำให้หวนกลับมากินอาหารชนิดอื่น ๆ ที่ให้พลังงานมากกว่าเดิมได้ และควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีด้วย

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

SGE CHEM ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรง พร้อมออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร การันตีคุณภาพสินค้า พร้อมส่งต่อสินค้าที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เข้าชมเว็บไซต์ sgechem.com